ชื่อหาด “ท้องศาลา” นี้มีกำาเนิดมาจากครั้งอดีตเมื่อราว พ.ศ. 2427เคยมีศาลาอยู่หลังหนึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณสะพานท่าเรือ ซึ่งเจ้าเมืองไชยา เคยใช้นั่งว่าราชการงานเมือง และใช้เป็นที่พักผ่อนปัจจุบันเรียกว่าศาลาที่ว่าการหรือทำเนียบ จึงเรียกขานหาดแถบนี้ว่า หาดท้องศาลา ซึ่งต่อมากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะพะงัน มีทั้งท่าเรือเฟอร์รี่ เรือด่วน รถรับส่งนักท่องเที่ยว ร้านอาหารนานาชาติ ร้านขายของที่ระลึก ร้านอินเทอร์เน็ต ร้านกาแฟน่ารักๆ ตลอดจนโรงแรมที่พัก ธนาคาร บริษัทท่องเที่ยว รถเช่า ฯลฯ ถือว่าเป็นแหล่งที่มีสิ่งอำานวยความสะดวกที่สุดบนเกาะพะงัน บริเวณหาดท้องศาลาแห่งนี้หากเป็นเทศกาลงานประเพณีสงกรานต์ ก็จะเป็นศูนย์รวมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มารวมตัวเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ก็ยังมีประเพณีชักพระในวันออกพรรษาเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สำาคัญซึ่งกำเนิดขึ้นที่เกาะพะงัน เป็นประเพณีพื้นบ้านที่ชาวเกาะพะงันยังคงยึดถือและปฏิบัติกันสืบมา
หาดท้องศาลา
หาดท้องศาลา ถือว่าเป็นชายหาดแห่งหนึ่งที่สามารถเฝ้าชมพระอาทิตย์ตกได้สวยงาม และสามารถมองเห็นเกาะแตในที่อยู่ไม่ไกลได้อย่างดี เป็นจุดที่บริษัทนำเที่ยวมักจะพานักท่องเที่ยว พายเรือคายัคไปยังเกาะแตในซึ่งอยู่ไม่ไกลเพื่อไปท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจอยู่เสมอ บริเวณด้านหน้าของหาดเป็นสถานที่ตั้งของเรือหลวงพงันซึ่งปลดประจำการและนำมาตั้งไว้เป็นอนุสรณ์สถาน ในความทรงจำครั้งอดีต เรือหลวงพงันนี้เป็นเรือในกลุ่มเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการเดิมชื่อยูเอสเอสสตาร์ค เคาน์ตี แอลเอสที 1134 ซึ่งกองทัพเรือได้จัดหาตามโครงการช่วยเหลือทางทหารจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยขึ้นระวางประจำการ เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2509 และปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551 อายุการใช้งานในกองทัพเรือประมาณ 40 ปี มีประวัติการร่วมรบในสงครามเวียดนามในหน้าที่เรือลำเลียงยกพลขึ้นบก และเฝ้าตรวจการณ์บริเวณชายฝั่งเพื่อป้องกันการแทรกซึมทางทะเล ตลอดจนการลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์และอาหารไปยังเมืองต่างๆในเวียดนาม เคยถูกซุ่มโจมตีอยู่หลายครั้งแต่ได้รับความเสียหายไม่มากนัก ปัจจุบันกองทัพเรือได้อนุมัติสนับสนุนเรือหลวงพงัน พร้อมพัสดุอุปกรณ์ประจำเรือให้จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2553 เพื่อนำไปจัดสร้างเป็น “พิพิธภัณฑ์เรือหลวงพงัน” ณ บริเวณท่าเทียบเรือท้องศาลา ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สาหรับคนรุ่นหลัง และเป็นเกียรติประวัติของกองทัพเรือและเป็นความภาคภูมิใจของชาวสุราษฎร์ธานีต่อไป