อำเภออุ้มผาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๒๕๙ กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับสหภาพพม่า เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เดิมมีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้มีคนไทยภาคเหนืออพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ อุ้มผางเดิมเป็นเมืองหน้าด่านชายแดนตะวันตกขึ้นอยู่กับจังหวัดอุทัยธานี และเป็นจุดตรวจหนังสือเดินทางของชาวพม่าที่เข้ามาค้าขายในเขตแดนไทย โดยชาวพม่าที่เดินทางรอนแรมในป่าสมัยนั้นจะนำเอกสารเป็นหนังสือเดินทางใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่
มีฝาปิด เพื่อป้องกันฝนและการฉีกขาดระหว่างเดินทาง เมื่อถึงจุดตรวจที่อุ้มผาง ก็จะเปิดกระบอกไม้ไผ่นำเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและประทับตรา ซึ่งหนังสือเดินทางนี้เรียกเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า “อุ้มผะ” ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็น “อุ้มผาง” ซึ่งเป็นชื่อของอำเภออุ้มผางในปัจจุบัน
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ถึงตาก ระยะทางประมาณ ๔๒๕ กิโลเมตร ก่อนถึงตัวจังหวัดตาก ๗ กิโลเมตร จะพบทางแยกซ้ายมือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ สายตาก-แม่สอด ถึงอำเภอแม่สอดระยะทาง ๘๖ กิโลเมตร และจากอำเภอแม่สอดแยกซ้ายมือ เข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๐ แม่สอด-อุ้มผาง ระยะทาง ๑๖๔ กิโลเมตร ลัดเลาะไปตามเทือกเขาถนนธงชัย เส้นทางที่คดเคี้ยวสลับซับซ้อนจำนวน ๑,๒๑๙ โค้ง เป็นที่รู้จักกันในนามของ ถนนลอยฟ้า จากอำเภอแม่สอดถึง จากกรุงเทพฯ ๖๘๙ กิโลเมตร
หมายเหตุ เส้นทางช่วงแม่สอด-อุ้มผาง นักเดินทางควรขับรถด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ และรถที่ใช้ควรมีสภาพดี หรือรถที่มีสมรรถนะสูง เพราะเป็นเส้นทางตัดผ่านเทือกเขา ถนนมีความคดโค้งมาก มีจุดแวะพักบริเวณกิโลเมตรที่ ๘๔ มีร้านขายอาหาร และเครื่องดื่ม ผู้ที่เมารถควรรับประทานยาแก้เมารถไว้ล่วงหน้า
บ้านโบราณ อุ้มผางเป็นชุมชนเล็กๆ มีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ลักษณะการสร้างบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวหลังคามุงด้วยวัสดุท้องถิ่น เช่น ใบตองตึง แป้นเกล็ดไม้ และกระเบื้องดินเผา ตัวบ้านยกสูงใต้ถุนเปิดโล่ง มีบันไดขึ้นด้านหน้า ชานบ้านมีม้านั่งขนานกับขอบระเบียง รั้วบ้านทำด้วยปีกไม้ ปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่ นอกจากนั้น ทางชมรมบ้านโบราณได้มีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าของบ้าน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบ้านโบราณให้เป็นจุดเยี่ยมเยือนทางวัฒนธรรม
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร (ฝั่งตะวันออก) มีกิจกรรมเดินป่าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติกว่า ๑๐ เส้นทาง กิจกรรมแคมปิง ดูนก ส่องสัตว์ซึ่งจัดในรูปแบบโครงการ ห้องรับแขกทุ่งใหญ่นเรศวร (ฝั่งตะวันออก)
การเดินทาง จากอุ้มผางใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๐ สายอุ้มผาง-บ้านปะละทะ ประมาณ ๔๒ กิโลเมตร ถึงที่ทำการฯ สอบถามรายละเอียดได้ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ตู้ ปณ. ๒ ปท.อุ้มผาง อำเภออุ้มผาง ๖๓๑๗๐ โทร. ๐ ๕๕๕๐ ๐๑๔๒
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง มีพื้นที่ ๑,๖๑๙,๒๘๐ ไร่ เป็นเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อการสงวนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผืนป่าตะวันตกต้นกำเนิดของแหล่งมรดกโลก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นมาก สภาพทั่วไปเป็นป่าดงดิบป่าผลัดใบ สัตว์ป่าที่พบ ได้แก่ เสือลายเมฆ สมเสร็จ เลียงผา เก้ง กวาง เหยี่ยว นกกระทุง ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒
สถานที่น่าสนใจในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ได้แก่
นํ้าตกทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า นํ้าตกดำ แต่เดิมชาวกะเหรี่ยง เรียกนํ้าตกนี้ว่า นํ้าตกทีลอชู ที่แปลว่านํ้าตกที่ยิ่งใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ห่างจากที่ทำการเขตฯ ๑.๕ กิโลเมตร มีลักษณะเป็นน้ำตกเขาหินปูนขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับทะเลปานกลาง ๙๐๐ เมตร เกิดจากลำนํ้าห้วยกล้อท้อทั้งสายที่ไหลแผ่ปกคลุมพื้นที่หน้าผากว้างกว่า ๕๐๐ เมตร ก่อนที่จะทะยานลงสู่หน้าผาสูงชันลดหลั่นเป็นชั้นๆ สูงกว่า ๓๐๐ เมตร เสียงดังกึกก้องบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่จนชาวกะเหรี่ยง ให้สมญานามว่า นํ้าตกทีลอชู (นํ้าตกใหญ่) รายล้อมไปด้วยป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์เป็นนํ้าตกที่มีความยิ่งใหญ่และสวยที่สุดในเมืองไทย นํ้าใสสะอาด ฤดูฝนเป็นช่วงที่นํ้าตกสวยที่สุด การเดินเที่ยวชมนํ้าตกแต่ละชั้นต้องเดินผ่านสายนํ้าขึ้นไป จึงควรใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ
การเดินทาง รถยนต์ จากอำเภออุ้มผาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๐ อุ้มผาง-แม่สอด ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๑๖๑ บ้านแม่กลองใหม่ เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๒๘๘ บ้านแม่กลองใหม่-เบิ้งเคลิ้ง ถึงด่านตรวจเดลอ เลี้ยวซ้ายเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ถนนช่วงนี้เป็นเส้นทางลำลองที่นักท่องเที่ยวต้องใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อน ๔ ล้อที่มีสมรรถนะสูงเท่านั้น รวมระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร
การเดินทางท่องเที่ยวในฤดูฝน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางปิดเส้นทางเดินรถยนต์เนื่องจากการสัญจรลำบาก และยังเปน็ การพักฟื้นผืนป่าให้สัตย์ออกหากินและขยายพันธุ์โดยไม่ถูกรบกวน หากนักท่อเที่ยวมีความประสงค์จะไปนํ้าตกทีลอซูในช่วงนี้ ควรติดต่อบริษัทนำเที่ยวในพื้นที่ เนื่องจากการเดินทางเข้าได้ ๒ เส้นทาง คือ ล่องเรือยางจากท่าทราย อำเภออุ้มผาง ไปตามลำนํ้าแม่กลองใช้เวลาเดินทาง ๓ ชั่วโมง และเดินเท้าต่อไปยังนํ้าตกทีลอซู ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง หรือเดินเท้าตามเส้นทางรถจากหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยหนองหลวงถึงนํ้าตกทีลอซู ระยะทางประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ใช้ เวลา ๔-๕ ชั่วโมง นักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์เดินทางเข้าในช่วงเวลาดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางก่อนทุกครั้ง
การล่องแพ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อผ่านบริษัททัวร์ที่จัดล่องแพในอำเภออุ้มผาง ได้โดยติดต่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที้่ ททท. สำนักงานตากโทร. ๐ ๕๕๕๑ ๔๓๔๑-๓
นํ้าตกทีลอจ่อ หรือ นํ้าตกสายฝน ห่างจากอำเภออุ้มผางประมาณ ๓ กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าชมนํ้าตกได้โดยการล่องแพยางไปตามลำนํ้าแม่กลองใช้เวลาเดินทาง ๔๐ นาที จะพบนํ้าตกทีลอจ่อในระดับความสูงประมาณ ๘๐ เมตร สายนํ้าจากลำห้วยที่ไหลทิ้งตัวจากหน้าผาสูงชันลงสู่ลำนํ้าแม่กลอง สายนํ้าแตกกระจายเป็นฝอยดูเหมือนสายฝนที่ตกลงมาจากท้องฟ้า จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ คือรุ้งกินนํ้า ถ้าท่านมีความประสงคจ์ ะชมรุง้ กินน้ำจะตอ้ งเดินทางถึงน้ำตกในเวลา ๐๙.๐๐ น. จะพบเห็นรุ้งกินนํ้าที่มีสีสรรงดงามยิ่ง หากอยากทราบว่ารุ้งกินนํ้ามีกี่สี ท่านสามารถถ่ายรูปสัมผัสกับสายรุ้งได้อย่างใกล้ชิด จากสายนํ้าที่ตกลงกระทบโขดหินจึงทำให้เกิดละอองนํ้าฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งบริเวณ ความชุ่มชื้นจึงมีพืชประเภทมอส และตะไคร่นํ้าขึ้นปกคลุมเขียวชอุ่มตลอดทั้งปีเป็นสิ่งที่ธรรมชาติ ได้เพิ่มเสน่ห์ให้กับนํ้าตกทีลอจ่อแห่งนี้มีความสวยงามยิ่งนัก
นํ้าตกเซปละ อยู่ในเขตบ้านเซปละ ตำบลแม่ละมุ้ง ห่างจากบ้านปะละทะ ๓ กิโลเมตร เป็นนํ้าตกเขาหินปูนที่ไหลลดหลั่นเป็นชั้นๆ ความกว้างประมาณ ๑๐ เมตร สูง ๕๐ เมตร กระแสนํ้าที่ตกลงกระทบโขดหินทำให้ดูคล้ายกับก้อนเมฆสีขาวที่มีความสวยงามยิ่งนัก
นํ้าตกทีลอเร อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออกเป็นนํ้าตกที่อยู่บนโตรกผา มีลักษณะเป็นเพิงผาคล้ายถํ้าริมลำนํ้าแม่กลองโดยมีลำธารนํ้าสายใหญ่ไหลผ่านหน้าผาสูงชันตกลงสู่ลำนํ้าแม่กลองสูงประมาณ ๘๐ เมตร ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม นํ้าตกทีลอเรเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการเดินทางผจญภัย และศึกษาธรรมชาติ
การเดินทาง ใช้เส้นทางสายอุ้มผาง-บ้านปะละทะ เริ่มต้นจากหมู่บ้านกระเหรี่ยงปะละทะ ด้วยการล่องเรือยางไปตามลำนํ้าแม่กลองใช้เวลาเดินทาง ๓ วันหมายเหตุ นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอุปกรณ์ในการพักค้างแรมระหว่างทาง ๒ คืน และต้องเตรียมอาหารไปเอง
นํ้าตกโคทะ ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติของผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ในเขตบ้านกะเหรี่ยงโคทะ เป็นนํ้าตกขนาดใหญ่กว้างกว่า ๑๐๐ เมตรไหลลดหลั่นเป็นชั้นๆ ลงสู่เบื้องล่างสูงประมาณ ๑๒๐ เมตร เสียงดังกึกก้องได้ยินแต่ไกล นับเป็นนํ้าตกที่มีความสวยงามไม่แพ้นํ้าตกทีลอซูที่เดียว
การเดินทาง จากสบแม่ละมุ้ง เดินเท้าหรือนั่งช้าง ถึงหมู่บ้านกะเหรี่ยงโคทะใช้เวลาเดินทางไปประมาณ ๓ ชั่วโมง ตั้งแคมป์พักแรมบริเวณหมู่บ้าน จะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตชาวเขากลางป่าลึกอย่างแท้จริง รุ่งขึ้นเดินเท้าจากหมู่บ้านลัดเลาะไปตามทุ่งนาสู่ผืนป่าอีกประมาณ ๓๐ นาที ถึงนํ้าตก
นํ้าตกปิตุ๊โกลอซู ตั้งอยู่บนเทือกเขาดอยสามหมื่น เป็นนํ้าตกขนาดใหญ่สูงประมาณ ๕๐๐ เมตร (วัดด้วยเครื่อง GPS) น่าจะเป็นนํ้าตกที่มีความสูงที่สุดในเมืองไทย การเดินทางจากอำเภออุ้มผางโดยรถยนต์ใช้เส้นทางสางอุ้มผาง-บ้านเบิ้งเคิ่ลง ระยะทาง ๖๐ กิโลเมตรใช้เวลา ๑.๕ ชั่วโมง ถึงหมู่บ้านกะเหรี่ยงกุยเลอตอ จากหมู่บ้านเดินเท้าลัดเลาะตามเทือกเขา และลำธารประมาณ ๓-๔ ชั่วโมงถึงน้ำตกปิอตุ๊โกลอซู หลังจากชมน้ำตกแล้ว ตั้งแคมป์พักแรมบริเวณเชิงเขาด้านล่างใกล้นํ้าตก รุ่งขึ้นเดินเท้าสู่ดอยมะม่วงสามหมื่นผ่านทุ่งหญ้าเขียวขจี และสายหมอก เพื่อชมวิวและชมทัศนียภาพของนํ้าตกจากมุมสูงสวยงามมาก จากนั้นเดินทางสู่หมู่บ้านกะเหรี่ยงกุยเลอตอ รถรับกลับสู่ตัวอำเภออุ้มผาง (หมายเหตุการเดินทาง: นักท่องเที่ยวควรติดต่อบริษัทนำเที่ยวในพื้นที่)
ดอยหัวหมด บ้านอุ้มผาง เป็นเขาหินปูนที่ทอดแนวยาวติดต่อกันประมาณ ๓๐ กิโลเมตร กว้าง ๒ กิโลเมตร บนภูเขานี้ไม่มีต้นใหญ่ขึ้นมีแต่ต้นหญ้า และไม้ดอกเตี้ยๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป เช่น ปรง ดอกเทียน และดอกไม้ป่า โดยเฉพาะดอกเทียนจะออกดอกบานสะพรั่งในช่วงฤดูฝน สลับกับโขดหินเป็นระยะๆ หากมองขึ้นไปบนเขาจะเห็นภูเขาทั้งลูกเหมือนถูกปูด้วยพรม สีเขียว โดยมีโขดหิน ต้นปรง ดอกเที่ยนป่า และไม้ดอกนานาชนิดขึ้นแซม เพิ่มสีสันดูสวยงามยิ่งนัก หากขึ้นไปบนยอดเขาจะมองเห็นหมู่บ้านอุ้มผาง และทิวเขาสลับซับซ้อน ทัศนียภาพโดยรอบสวยงาม มีจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตก และดูทะเลหมอกยามเช้า ช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีทะเลหมอกที่สวยงาม
การเดินทาง ใช้เส้นทางอุ้มผาง-บ้านปะละทะ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ถึงดอยหัวหมด จุดที่สามารถชมทิวทัศน์ได้สวยงามมี ๒ จุด
จุดแรก บริเวณกิโลเมตรที่ ๙ โดยต้องเดินขึ้นภูเขาไปประมาณ ๒๐ นาที
จุดที่ ๒ บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๐ มีทางแยกซ้ายจอดรถ และเดิน
เท้าไปอีก ๕ นาที ควรไปถึงดอยหัวหมดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเวลา ๐๕.๐๐-๐๖.๐๐ น. อากาศบนดอยค่อนข้างเย็นมีลมพัดตลอดเวลา
ถํ้าตะโค๊ะบิ บ้านแม่กลอง เป็นถํ้ามืดมีทางเดินลงไปเป็นชั้นๆ ด้านในมีทางแยกหลายทางเป็นถํ้าขนาดใหญ่ เพดานถํ้าสูง มีหินงอก หินย้อยสวยงามและสามารถเดินทะลุมาออกที่บ้านแม่กลองใหม่ได้ ความลึกของถํ้า ประมาณ ๓ กิโลเมตร
การเดินทาง จากอำเภออุ้มผางใช้เส้นทางสายแม่กลองใหม่-นํ้าตกทีลอซู ไปประมาณ ๓ กิโลเมตร
สถานที่พัก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางไดจั้ดสถานที่ตั้งเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยวซึ่งนำเต็นท์ไปเอง เสียค่าสถานที่กางเต็นท์ ๓๐ บาท/คน/คืน หรือติดต่อขอเช่าเต็นท์ได้ที่เขตฯ และเตรียมอาหารมาเอง โดยทางเขตฯ มีอุปกรณ์ทำอาหาร ติดต่อรายละเอียดได้ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ๖๓๑๗๐ โทร. ๐ ๕๕๕๗ ๗๓๑๘, ๐๘ ๕๔๕๐ ๘๙๘๓
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ สายตาก-แม่สอด ไปประมาณ ๙๖ กิโลเมตร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๐ สายแม่สอด-อุ้มผาง เข้าสู่อำเภออุ้มผางระยะทางประมาณ ๑๖๔ กิโลเมตร
เนินพิศวง เป็นเนินพิศวงแห่งที่ ๒ ของจังหวัดตาก อยู่บนถนนสายอุ้มผาง-บ้านปะละทะ เลยหลักกิโลเมตรที่ ๑๖ ไปประมาณ ๕๐๐ เมตร พื้นที่มีลักษณะเป็นเนินเขา เมื่อนำรถไปจอดโดยไม่ติดเครื่องยนต์ ที่จุดทดสอบซึ่งเป็นทางขึ้นเนิน รถจะวิ่งขึ้นเนินไปเอง และเป็นจุดที่สามารถดูทะเลหมอกได้ด้วย
กิจกรรมในอำเภออุ้มผาง เส้นทางศึกษาวิถีชีวิตชาวเขา
บ้านกะเหรี่ยงปะละทะ เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ริมลำนํ้าแม่กลอง ในเขตอำเภออุ้มผาง เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนา มีไฟฟ้า สถานีอนามัย และโรงเรียน ชาวกะเหรี่ยงที่นี่ยังนิยมการแต่งกายแบบวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง แต่ละบ้านจะมีหูกทอผ้า (เครื่องทอผ้า) ใช้กันเองในหมู่บ้านนิยมเลี้ยงหมู ไก่ เพื่อใช้เป็นอาหาร เลี้ยงช้างไว้เป็นพาหนะในการเดินทางและขนส่ง ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม การเดินทางจากอุ้มผางสามารถใช้เส้นทางสายอุ้มผาง-บ้านปะละทะ ประมาณ ๒๗ กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านกะเหรี่ยงปะละทะจากบ้านปะละทะสามารถเดินป่าไปบ้านกระเหรี่ยงโคทะและนํ้าตกทีลอซูได้ ทั้งยังเป็นจุดล่องเรือยางตามลำนํ้าแม่กลองไปนํ้าตกทีลอเร
บ้านกะเหรี่ยง ทิโพจิ เป็นหมู่บ้านที่มีวัฒนธรรม และการดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมด้วยการสร้างบ้านหลังคามุงด้วยวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น เช่นใบไม้ และเปลือกไม้ หมู่บ้านกะเหรี่ยงอยู่ในป่าลึก ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา การทอผ้า และการเลี้ยงช้างไว้เป็นพาหนะการเดินทาง ต้องเดินเท้า หรือนั่งช้างเข้าไปเท่านั้น
บ้านกะเหรี่ยงฤาษีเลตองคุ เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่นับถือฤาษี มีประเพณีที่แตกต่างจากกะเหรี่ยงทั่วๆ ไป ประเพณีที่สำคัญคือ การจุดไฟบูชาอาจารย์ฤาษี ในราวเดือนธันวาคมของทุกปี ฤาษีจะพำนักในวัด และมีของสำคัญคือ งาช้างโบราณอายุกว่า ๔๐๐ ปี แกะสลักเป็นรูปพระพุทธเจ้านั่งสมาธิโดยรอบจากโคนถึงปลายงา การเดินทาง ใช้ทางหลวงชนบทสายอุ้มผาง-แม่กลองใหม่ ถึงบ้านกะเหรี่ยงเปิ่งเคลิ่นจากจุดนี้
การเดินทาง ใช้เส้นทางลำลอง ต้องเดินเท้าเข้าไปเป็นระยะทางประมาณ ๑๖ กิโลเมตร จนถึงบ้านกระเหรี่ยงฤาษีเลตองคุ นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และทำหนังสือขออนุญาตก่อนล่วงหน้า ๑ เดือน ได้ที่ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ที่ ๓๔๗ โทร. ๐ ๕๕๕๖ ๑๐๐๘ (ไม่แนะนำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเอง)
ล่องแก่งและเดินป่าฤดูฝน
อุ้มผาง–ท่าทราย–นํ้าตกทีลอซู นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือยางไปตามลำนํ้าแม่กลองเริ่มจากอุ้มผางไปขึ้นที่ท่าทราย ใช้เวลา ๔ ชั่วโมง แล้วเดินเท้าจากท่าทรายถึงที่ทำการเขตรักษาพันธ์ป่าอุ้มผางใช้เวลาประมาณ ๔ชั่วโมง หลังจากนั้นเดินเท้าเข้าชมนํ้าตกอีก ๑.๕ กิโลเมตร หรือเดินเท้าจากบ้านเดลอถึงนํ้าตกทีลอซู ระยะทาง ๒๕ กิโลเมตร ใช้เวลา ๗ ชั่วโมง
ปะละทะ–โคทะ–ทีลอซู เริ่มต้นเดินทางจากบ้านปะละทะเข้านํ้าตกทีลอซูระยะทาง ๒๕ กิโลเมตร ใช้เวลา ๗ ชั่วโมง ระหว่างทางแวะพักค้างแรมที่บ้านโคทะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงกลางป่าที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงช้าง
นํ้าตกทีลอเร–บ้านปะละทะ เป็นเส้นทางเดินกลับจากนํ้าตกทีลอเรผ่านนํ้าตกนิรนาม ห้วยดินแดง นํ้าตกเซปละ บ้านเซปละ ถึงบ้านปะละทะเป็นเส้นทางเดินป่าในเขตผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออก ผ่านป่าทึบสลับกับการขึ้นเขาลงเขา อาจพบเห็นสัตว์ป่าได้ ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตรใช้เวลา ๘-๑๐ ชั่วโมง นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอุปกรณ์ในการพักค้างแรมในป่า ๒ คืน และเตรียมอาหารไปเอง
หมายเหตุ นักท่องเที่ยวที่สนใจเส้นทางเดินป่าสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานตาก โทร. ๐ ๕๕๕๑ ๔๓๔๑-๓
ล่องแก่งแม่นํ้าแม่กลอง
อุ้มผาง–นํ้าตกทีลอซู เริ่มต้นจากตัวอำเภออุ้มผาง ไปตามลำห้วยอุ้มผางสู่แม่นํ้าแม่กลอง ผ่านธรรมชาติที่สวยงาม ถึง นํ้าตกทีลอจ่อ เป็นนํ้าตกที่ไหลมาจากยอดผาสูงชันสายนํ้าตกแตกกระเซ็นเป็นละอองคล้ายสายฝนเป็นจุดพักเล่นนํ้าอีกแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นเรือยางจะผ่านธารนํ้าร้อนจนถึง แก่งตะโค๊ะบิ สายนํ้าจะไหลเชี่ยวเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยว ผ่านผาผึ้งผาบ่อ ถึงผาเลือดใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์ที่มีสภาพดี มีสมรรถนะสูง ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ต้องเดินเท้าระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร ถึงนํ้าตกทีลอซู ใช้เวลาประมาณ ๔๐ นาที ในช่วงฤดูฝน เส้นทางรถยนต์จะปิดตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายนถึง ๓๑ ตุลาคมของทุกปี หากต้องการกางเต็นท์พักค้างแรม ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางมีสถานที่ไว้บริการ โดยเสียค่าสถานที่ท่านละ ๓๐ บาท/คน/คืน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักตาก โทร. ๐ ๕๕๕๑ ๔๓๔๑-๓
บ้านกะเหรี่ยงปะละทะ–นํ้าตกทีลอเร เริ่มต้นจากบ้านกะเหรี่ยงปะละทะผ่านบ้านกะเหรี่ยงโคทะ สองฝั่งนํ้าร่มรื่นด้วยธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ระหว่างทางจะพบเห็นกล้วยไม้ป่าออกดอกสะพรั่งสวยงาม และอาจพบเห็นสัตว์ป่าลงมากินนํ้าได้ การเดินทางไปนํ้าตกทีลอเร เรือยางจะล่องผ่านเกาะแก่งต่างๆ เช่น แก่งเลเกติ เป็นแก่งใหญ่ และยาวติดต่อกันหลายกิโลเมตร ผ่านนํ้าตกเล็กๆ ไปจนถึง แก่งคนมอง สายนํ้าไหลเชี่ยว ลำนํ้าเต็มไปด้วยโขดหิน จนถึงแก่งสุดท้ายคือ แก่งกะซอจิ๊เล ล่องเรือไปจนถึงเวิ้งนํ้าไหลโค้งเข้าสู่เพิงผาคล้ายถํ้าริมนํ้าถึง “นํ้าตกทีลอเร” เป็นนํ้าตกที่มีลำธารนํ้าสายใหญทั่้งสายไหลผ่านหน้าผาสูงชันตกลงสู่ลำน้ำแม่กลองสวยงามยิ่ง เป็นจุดหมายปลายทางของการล่องแก่งเรือยาง ความยากระดับ ๓-๔
หมายเหตุ: นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอุปกรณ์ในการพักค้างแรมในป่า ๒ คืน และเตรียมอาหารไปเอง
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการล่องแพ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนพฤษภาคม การล่องแพช่วงฤดูฝนมีอันตรายมาก เนื่องจากมีกระแสนํ้าเชี่ยวและระดับนํ้าลึกทำให้การบังคับแพลำบาก จึงควรงดล่องแพหน้าฝนอย่างเด็ดขาด
การเตรียมตัวล่องแพ แม้ว่าการล่องแพตามฤดูกาลที่แนะนำจะไม่มีอันตรายจากธรรมชาติ เนื่องจากกระแสนํ้าไม่เชี่ยว และระดับนํ้าไม่ลึก อีกทั้งลำห้วยแม่กลองไม่กว้างมาก แต่นักท่องเที่ยวก็ควรใช้ความระวังในขณะล่องแพ และเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อการล่องแพที่สนุกสนานและปลอดภัย ดังนี้
– สวมเสื้อผ้า และรองเท้าแบบสบายๆ ไม่ควรหนา และรัดจนเกินไป
– สวมหมวกกันแดด
– สวมเสื้อชูชีพขณะอยู่บนเรือยาง โดยเฉพาะคนที่ว่ายนํ้าไม่เป็น
– เตรียมเชือกมนิลายาวประมาณ ๓๐-๕๐ เมตร เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
– กระเป๋ากันนํ้า หรือถุงพลาสติกสำหรับใส่กล้องถ่ายรูป
– ถุงสำหรับใส่เศษขยะเพื่อนำมาทิ้งบนบก
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานตาก โทร. ๐ ๕๕๕๑ ๔๓๔๑-๓ ทุกวัน เวลาราชการ
เส้นทางเดินป่าสู่นํ้าตกทีลอซู (ทีลอซู-โคทะ-สบแม่ละมุ้ง) เริ่มต้นเดินเท้าจากแก่งมอกีโด้ลัดเลาะไปตามไหล่เขาไปยังที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ใช้เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง ชมนํ้าตกทีลอซู พักค้างแรมบริเวณที่ทำการ ๑ คืน รุ่งขึ้นเดินเท้าอีกประมาณ ๒ ชั่วโมง สู่บ้านกะเหรี่ยงโคทะซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางป่าใหญ่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย มีนํ้าตกโคทะที่สวยงาม พักค้างแรมที่หมู่บ้าน ๑ คืน รุ่งขึ้นเดินป่า นั่งช้างสู่บ้านกะเหรี่ยงแม่ละมุ้งหรือบ้านกะเหรี่ยงปะละทะก็ได้
เส้นทางเดินป่านั่งช้าง พักบ้านชาวเขา และล่องแก่งอุ้มผางคี เป็นเส้นทางที่เหมาะกับกลุม่ นักผจญภัย เริ่มต้นจากการเดินเท้า หรือนั่งช้างจากบ้านแปโดทะ ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง ถึงบา้ นอุม้ ผางคีพักแรมที่หมู่บ้านชาวเขา ๑ คืน รุ่งขึ้นเดินป่าลัดเลาะลำห้วยอุ้มผางเพื่อจะขึ้นไปถึงจุดล่องแก่งที่แก่งมะนาว จากนั้นเริ่มล่องแก่งโดยใช้เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง ผ่านแก่งระดับ๓-๔ รวม ๗๗ แห่ง ที่มีธรรมชาติสมบูรณ์งดงามจนได้รับสมญานามว่าเป็นจุดล่องแก่งระดับก้าวหน้าจากหนังสือ อสท. ขึ้นฝั่งที่บ้านแปโดทะ แล้วเดินทางกลับที่พักในตัวอำเภออุ้มผางโดยรถยนต์
เส้นทางเดินป่านั่งช้าง นอนป่าล่องแก่งทีลอเร เริ่มต้นล่องแพยางที่ลำนํ้าแม่กลอง จากบ้านปะละทะ ซึ่งริมสองฝั่งนํ้าสมบูรณ์ด้วยต้นไม้ใหญ่ ระหว่างทางอาจพบสัตว์ป่าได้ การเดินทางไปนํ้าตกทีลอเรจะต้องล่องเรือผ่านแก่งนํ้าระดับ ๓-๔ แก่งปรกที่พบคือ แก่งเลเกติ เป็นแก่งใหญ่ และยาวติดต่อกันหลายกิโลเมตร ผ่านนํ้าตกเล็กๆ ไปจนถึง แก่งคนมอง สายนํ้าไหลเชี่ยว
ลำน้ำเต็มไปด้วยโขดหิน จนถึงแก่งสุดท้ายคือ แก่งกะซอจิ๊เล ล่องเรือไปจนถึงเวิ้งนํ้าไหลโค้งเข้าสู่เพิงผาคล้ายถํ้าริมนํ้า มีสายนํ้าตกจากหน้าผาเขาหินปูนสูงชันลงสู่ลำนํ้าแม่กลองสวยงามคือ “นํ้าตกทีลอเร” เป็นจุดหมายปลายทางของการล่องแก่งเรือยางผจญภัยในลำนํ้าแม่กลอง พักค้างแรมแบบแคมปิงริมแม่นํ้าแม่กลอง รุ่งขึ้นเดินเท้าต่ออีกประมาณ ๔ ชั่วโมง ถึงบ้านเซปละ แล้วเดินทางกลับที่พักในตัวอำเภออุ้มผางโดยรถยนต์