ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยู่บนถนนท่าหลวง บริเวณหน้าค่ายตากสิน เป็นอาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยมหลังคาเป็นรูปพระมาลาหรือหมวกยอดแหลม ภายในประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลนี้สร้างจากความศรัทธา เพื่อให้ชาวจันท์และคนในจังหวัดใกล้เคียงมาสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคล เดิมเป็นเพียงศาลไม้ อยู่ด้านข้างศาลหลักเมือง ครั้นในสมัย ม.จ.สฤษดิเดช ชยางกูร สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรีได้สร้างศาลใหม่ขึ้น เมือปี พ.ศ. ๒๔๖๓ บริเวณด้านหน้าค่ายทหารกองพันนาวิกโยธิน คนละฝั่งกับศาลหลักเมือง เป็นศาลคอนกรีตสี่เหลี่ยมจัตุรมุข มีบันไดด้านหน้าและด้านข้างสามทาง กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ ภายในเป็นที่ประดิษฐานเทวรูป ซึ่งเป็นเทพเจ้า ประจำพระองค์ของพระเจ้าตาก และไม่มีพระบรมรูปของพระเจ้าตากสิน เช่นปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวจันทบุรีได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขึ้นใหม่เคียงคู่กับศาลเดิม ศาลใหม่นี้เป็นรูปทรงเก้าเหลี่ยมสร้างด้วย หินอ่อน หลังคาเป็นรูปพระมาลายอดแหลม สูงจากพื้นถึงยอด ๑๖.๙ เมตร ประดับลวดลายทอง ยอดบนเป็นฉัตรทองคำเก้าชั้น ภายในมีพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หล่อด้วยทองเหลืองรมดำประทับ นั่งทรงเมือง ผนังภายในเขียนลายไทยพุ่มข้าวบิณฑ์ไว้อย่างสวยงาม ทุกวันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จขึ้นครองราชย์ ของพระองค์ จะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรและถวายเครื่องราชสักการะ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงกอบกู้เอกราช ให้แผ่นดินไทย
ศาลหลักเมืองจันทบุรี ตั้งอยู่ถนนท่าหลวง ตรงข้ามกับศาลสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เป็นเพียงการสันนิษฐานว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสร้างขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเข้าเมืองจันทบุรีเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เพื่อใช้เมืองจันทบุรีเป็นที่รวบรวมไพร่พล และเสบียงอาหาร เพื่อไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ตัวศาลเดิมน่าจะสร้างด้วยศิลาแลงซึ่งยังปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่แต่ก็ชำรุดโทรมไปมากจนไม่อาจ ทราบว่ามีรูปทรงอย่างไร ส่วนหลักเมืองและตัวศาลนั้นสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ และได้มีการบูรณะซ่อมแซมตัวอาคาร และปรับภูมิทัศน์โดยรอบ
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยู่ในบริเวณสวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สวนสาธารณะทุ่งนาเชย) ถนนท่าหลวงเยื้องกับศาลากลางจังหวัด ริมถนนเลียบเนินมีเนื้อที่ประมาณ ๓๐๐ ไร่มีการขุดบึงล้อมรอบซึ่งใช้เป็นที่เพาะพันธุ์ปลาของประมงจังหวัด เกาะกลางบึงประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงม้าพร้อมทหารคู่พระทัยทั้งสี่ คือ พระเชียงเงิน หลวงพิชัยอาสา หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับการกู้ เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรงเลือกจังหวัดจันทบุรีเป็นที่รวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา
ถนนอัญมณี (ตลาดพลอย) เป็นคำเรียกขาน หมายถึง บริเวณถนนศรีจันท์ และซอยกระจ่าง นับเป็นถนนเศรษฐกิจของจังหวัด เพราะเป็นที่ตั้งของร้านเจียระไนพลอยและร้านค้าอัญมณีต่างๆ ซึ่งอาจนับได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นตลาดค้าพลอยเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ในวันศุกร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ เวลา ๑๐.๐๐-๑๕.๐๐ น. ยังสามารถเห็นบรรยากาศการซื้อขายพลอย ของพ่อค้าพลอย ที่เดินทางมาจากที่ต่างๆ กันทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ศูนย์อัญมณีและเครื่องประดับ (ข้างโรงแรมเค.พี.แกรนด์) สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรีได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์จำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับขึ้นในปี ๒๕๔๖ โดยต้องการให้ศูนย์แห่งนี้เป็นที่จำหน่ายสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีคุณภาพของประเทศอย่างแท้จริง สัญลักษณ์ของศูนย์เป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมรูปทรงของเหลี่ยมอัญมณีเพื่อสื่อถึงความเป็นเมืองอัญมณี สนใจติดต่อ โทร. ๐ ๓๙๓๐ ๓๑๑๘ – ๙
วัดไผ่ล้อม เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่บนถนนตรีรัตน์ ตำบลจันทนิมิตร อยู่ทางซ้ายของแม่น้ำจันทบุรี อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำจันทบุรี มีพื้นที่ ๒๘ ไร่ วัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้รับคัดเลือกให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ และ พ.ศ.๒๕๑๔ และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ ห่างจากโรงแรมเค.พี.แกรนด์ ประมาณ ๕๐๐ เมตร จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม มีกำแพงแก้วล้อมรอบทั้ง ๔ ด้านแต่ละด้านมีช่องทางเข้า ฉนวนด้านหลังมีเสารองรับ ๕ ต้น ไม่มีบัวหัวเสาฐาน อาคารเป็นเส้นตรง ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพต้นไม้ ประเภทบอนไซและดอกไม้แบบจีน เรื่องทศชาติ และพุทธประวัติ ลักษณะการเขียนน่าจะเป็นจิตรกรรมที่เขียนขึ้นหลังรัชกาลที่ ๓ เนื่องจากมีชาวต่างชาติปรากฏเป็นจำนวนมากในภาพวาด
โบสถ์คาทอลิกจันทบุรี หรือ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ถนนสันติสุข ตำบลจันทนิมิตร เป็นโบสถ์ที่มีประวัติการก่อสร้างยาวนานถึง ๒๗๕ ปี ครั้งแรกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๕๔ บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี โดยคุณพ่อเฮิ้ตโตแลนติโน และบรรดาคาทอลิกชาวญวน จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๗๗ ได้มีการย้ายมาสร้าง บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรีอันเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน โดยมิได้มีการบันทึกถึงสาเหตุของการย้ายแต่ประการใด และในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้ก่อสร้างโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้นให้มีขนาดใหญ่กว่าหลังเก่าเพื่อรองรับกับ จำนวนคริสตศาสนิกชนที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโกธิค ภายในตกแต่งด้วยกระจกสีที่เรียกว่า สเตนกลาส เป็นภาพนักบุญต่างๆ หลังจากนั้นได้มีการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้มีการจัดงานฉลองโบสถ์คาทอลิกจันทบุรีครบรอบ ๗๕ ปี นับได้ ว่าโบสถ์คาทอลิกแห่งนี้เป็นโบสถ์ขนาดใหญ่ที่มีความเก่าแก่ และกล่าวกันว่ามีความงดงามมากที่สุดในประเทศ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐- ๑๖.๓๐ น. การเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้า โทร. ๐ ๓๙๓๑ ๑๕๗๘
การเดินทาง สามารถเข้าทางเดียวกับวัดไผ่ล้อม เมื่อถึงวัดไผ่ล้อมแล้ว เดิน ทางต่อไปอีกราว ๑ กิโลเมตร หรือจากตัวเมืองเดินทางข้ามสะพาน วัดจันท์ ไปตามถนนจันทนิมิตรจะพบทางแยกขวาไปโบสถ์คาทอลิก
วังสวนบ้านแก้ว ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตำบล ท่าช้าง ห่างจากตัวเมือง ๖ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓๑๖ เป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๑๑ รวม ๑๘ ปี สิ่งก่อสร้างในบริเวณวังสวนบ้านแก้ว ได้แก่ พระตำหนักใหญ่ (พระตำหนัก เทา) เป็นอาคารครึ่งตึก ครึ่งไม้แบบยุโรป ทาสีเทาสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง พระตำหนักนี้ทรงใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ และรับรองพระราช อาคันตุกะ ปัจจุบันเป็นที่รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ ซึ่งแสดงถึง การใช้ชีวิตที่เรียบง่ายแบบสามัญ พระตำหนักดอนแค (พระตำหนักแดง) เป็นอาคารทรงยุโรปสองชั้น สร้างด้วยไม้สัก ทาสีแดง ปัจจุบันจัดเป็น พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ภายในจัดแสดงแบ่งออกเป็น ๕ ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิศาสตร์จันทบุรี ห้องดนตรี นาฏศิลป์ ห้องวัฒนธรรมท้องถิ่น ห้องขุดพลอย ห้องภูมิปัญญา ท้องถิ่น เรือนเขียว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก เฉียงใต้ของพระตำหนักเทา ประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ทาสีเขียวปัจจุบันเป็นสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เรือนแดง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของพระตำหนักเทา ปัจจุบันจัดเป็นห้องให้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลพระราช ประวัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯลฯ
นอกจากนั้นภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจัดเป็นอุทยานการ เรียนรู้ เป็นป่าธรรมชาติภายในมหาวิทยาลัยฯ มีพื้นที่ ๕๐ ไร่ จัดเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มี ๒ ส่วน ได้แก่ ทางบก ระยะทาง ๔๔๐ เมตร และทางน้ำ ระยะทาง ๗๐๐ เมตร วังสวนบ้านแก้ว เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. สำหรับวันเสาร์-อาทิตย์ การเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าได้ที่ สำนักศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โทร. ๐ ๓๙๔๗ ๑๐๖๔, ๐ ๓๙๓๑ ๙๑๑๑ ต่อ ๗๐๐๐-๑ www.rbru.ac.th
วัดพลับ ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกะจะ ห่างจากค่ายเนินวงประมาณ ๑ กิโลเมตร สังเกตป้ายบอกทางเข้าทางซ้าย ตามหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐาน ว่าพื้นที่ชุมชนวัดพลับและบ้านบางกะจะ มีอายุในราว พ.ศ. ๒๓๐๐ เป็น บริเวณที่กองทัพของพระเจ้าตากสินมหาราชใช้พักไพร่พล สิ่งก่อสร้าง ภายในวัดที่น่าสนใจ เช่น ตู้พระไตรปิฎกไม้ลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย เจดีย์ทรงปรางค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ หอไตรกลางน้ำ เป็นอาคารไม้อายุเก่ากว่าสมัยก่อนอยุธยา เจดีย์กลางน้ำ เป็นเจดีย์ทรงระฆังรูปแบบรัตนโกสินทร์ วิหารไม้หลังคาทรงจัตุรมุข ที่มี อายุนับร้อย ปี ภายในประดิษฐานพระประธานปางทุกรกิริยา สร้างขึ้นใน สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมื่อครั้งเสด็จเมืองจันทบุรี และพระอุโบสถ แห่งนี้ยังเค ใช้เป็นสถานที่ปลุกเสกมุรธาภิเษกในสมัยต้นราชวงศ์จักรี (มุรธาภิเษก คือ น้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษก หรือพระราชพิธีอื่นๆ) ด้านหลังวัดเคยมี “สำซ่าง” ซึ่งเชื่อว่าเหลืออยู่ที่วัดนี้เพียงแห่งเดียวเท่า นั้น เป็นที่เผาศพแบบโบราณ มีลักษณะเป็นหลังคาลดชั้น ๕ ชั้น ยอด แหลมมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดเต่า (กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้านสีแดงตามเนื้อใช้มุงหลังคา โบสถ์ วิหาร) แต่ปัจจุบันพังทลาย ลงไปแล้ววัดทองทั่ว อยู่ริมถนนสุขุมวิท เส้นจันทบุรี-ขลุง ห่างจากตัวเมืองราว ๔ กิโลเมตร มีพระอุโบสถและเจดีย์อายุนับร้อยปี เป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุเขมร ได้แก่ ทับหลังแบบถาลาปริวัติ และทับหลังแบบไพรกเมง (พ.ศ.อ๑๑๕๐-๑๒๕๐) เสาประดับกรอบประตูแบบนครวัด และโกลนพระคเณศ ทำจากหินทรายสีขาว เป็นต้น โบราณสถานเมืองเพนียด ตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลคลองนารายณ์ ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ ๓๐๐ เมตร กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เรียบร้อยแล้วโดยสันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้ น่าจะเป็นที่ตั้งเมืองจันทบุรี ยุคแรกหรือประมาณ ๑,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงซากกำแพง ศิลาแลง และส่วนที่เป็นคันดินสูงประมาณ ๑-๓ เมตร ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสิ่งก่อสร้างประเภทใด
วัดโบสถ์เมือง ตั้งอยู่ที่ถนนเบญจมราชูทิศ ตำบลตลาด อำเภอเมือง ติดกับ แม่น้ำจันทบุรีบนฝั่งขวา สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้าง ขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยสังเกตได้จากเสมาหินทรายขาว รวมทั้ง อุโบสถและเจดีย์ทรงลังกา นอกจากนี้ยังมีทับหลังเป็นศิลปะบาปวนตอนปลาย พ.ศ. ๑๕๑๐-๑๖๓๐ รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว ความเป็นมาแต่เดิมไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด ภายในวัดมีเสนาสนะต่างๆ ได้แก่ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ เจดีย์ใหญ่บรรจุพระบรมธาตุ มีเจดีย์เล็กล้อมรอบสี่มุม หน้าอุโบสถมีทับหลังศิลปะบาปวนตั้งไว้ และมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโบสถ์เมือง เป็นสถานที่จัดหล่อเทียนประจำ พรรษาของจังหวัดจันทบุรีมาแต่เดิมจวบจนปัจจุบัน