Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอแหลมสิงห์ – ท่าใหม่ เมืองจันทบุรี

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอแหลมสิงห์-อำาเภอเมืองจันทบุรี-อำาเภอท่าใหม่-หาดคุ้งวิมาน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวีจันทบุรี

อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก หรือ อู่ต่อเรือเสม็ดงาม ตั้งอยู่ที่บ้านเสม็ดงาม ตำบล หนองบัว อำเภอเมือง ห่างจากอำเภอเมือง ๑๑ กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็น สถานที่ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใช้เป็นอู่ต่อเรือเมื่อครั้งเตรียมยกทัพไปตีพม่าเพื่อกู้เอกราชชาติไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ หน่วยโบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ขุดค้นซากเรือและตรวจสอบชั้นดินทางโบราณคดีตามริมฝั่งอ่าว พบแอ่งน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะคล้ายอู่เรือ อยู่หลายแห่ง พร้อมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ของเรือโบราณ และสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรือสำเภาจีนแบบฟูเจียนขนาดเล็กใช้สำหรับบรรทุกสินค้ามีใบสามเสาใช้หางเสือเรือ ขนาดเรือยาว ๒๔ เมตร กว้าง ๕ เมตร บริเวณใกล้ เคียงมีโรงเก็บเรือจำลองและเรือของชาวบ้านที่เคยใช้กันในอดีต

การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านเสม็ดงาม เลยไปจนถึง วัดเสม็ดงาม เลี้ยวขวาตรงป้ายบอกทางเข้าไปอีกประมาณ ๑ กิโลเมตร

โบราณสถานค่ายเนินวง ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง บนทาง หลวงหมายเลข ๓๑๔๗ หากเริ่มจากหน้าโรงแรมอีสเทอร์น ไปตามถนน ท่าแฉลบอีก ๖ กิโลเมตร มีทางแยกเลี้ยวขวาไปประมาณ ๔๐๐ เมตร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๗ โดยรื้อศิลาแลงและอิฐของกำแพงจาก เมืองเก่าจันทบุรีไปสร้าง เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกญวน บนกำแพง ค่ายวางปืนใหญ่เรียงรายอยู่โดยรอบ ภายในบริเวณค่ายมีศาล หลักเมืองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และวัดโยธานิมิตรซึ่งสร้างขึ้น เพื่อเป็นวัดประจำเมืองตั้งอยู่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร เป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุและเครื่องปั้นดินเผาที่ ยึดได้จากเรือออสเตรเลี่ยนไทด์ที่ละเมิดน่านน้ำอ่าวไทย เพื่อลักลอบนำ โบราณวัตถุออกไปยังต่างประเทศ เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ไม่เสียค่าเข้าชม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวีจันทบุรี ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ เป็นอาคารแฝด ๒ ชั้นภายในจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ การค้าทางเรือของไทย มีการรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ได้จาก การดำเนินงานด้านการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางโบราณคดีใต้น้ำมาเป็นเวลา กว่า ๒๐ ปี โดยมีห้องแสดงหลักอยู่ที่ชั้น ๒ ซึ่งได้จัดสร้างเรือสำเภา ขนาดเท่า ของจริงที่ผู้ชมสามารถเดินเข้าไปชมภายในลำเรือได้ เพื่อบอกถึงเรื่องราวการเดินเรือและการค้าขายระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีห้องของดี เมืองจันท์ ที่จัดแสดงของดีต่างๆ ของจังหวัดจันทบุรี อาทิ การทำเหมืองพลอย การทำสวนผลไม้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และเรื่องราวของชาวชอง ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจันทบุรีอีกด้วย ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวันพุธ-อาทิตย์หยุดวันนักขัตฤกษ์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ ๑๐ บาท ชาวต่างชาติ ๓๐ บาท ติดต่อเข้าชมเป็นหมู่คณะ โทร. ๐ ๓๙๓๙ ๑๔๓๑ โทรสาร ๐ ๓๙๓๙ ๑๔๓๒

การเดินทาง จากอำาเภอเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๑๔๖ บ้านท่าแฉลบ ผ่านโรงแรมอีสเทอร์นไป ๖ กิโลเมตร มีทางแยกไปอำเภอท่าใหม่ตรงไปประมาณ ๔๐๐ เมตร

เจดีย์ยอดเขาพลอยแหวน อยู่ในตำบลเขาพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ บนทางหลวงหมายเลข ๓๑๗๔ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ในรัชกาลที่ ๕ โดย พระยาจันทบุรีเป็นผู้สร้างขึ้นในจุดที่สูงที่สุดของเขาพลอยแหวน เป็น เจดีย์กลมแบบลังกา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีมณฑปประดิษฐาน พระพุทธบาทจำลองที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ แทนพระพุทธบาท เดิมที่แตกหัก บริเวณโดยรอบวัดเคยเป็นแหล่งขุดพลอยแห่งแรกของ จังหวัดจันทบุรี

วัดตะกาดเง้า ตั้งอยู่ที่ถนนสุขุมวิท ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ เป็นวัดเก่ามีอายุประมาณ ๒๐๐ ปี มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ หอไตรกลางน้ำ เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยปลายรัชกาลที่ ๓ สันนิษฐานว่าชิ้นส่วนต่างๆ ของหอไตรหลังนี้ถูกนำมาจากที่อื่นแล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกันโดยการเข้าสลักไม้ ต่อมาหอไตรได้ทรุดโทรมลงประชาชนได้ทำการบูรณะซ่อมแซม จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๔๔ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกหลายชิ้น เช่น พระประธานแกะสลักจากไม้และธรรมาสน์ไม้ เป็นต้น

สถานที่ทางท่องเที่ยวอำเภอแหลมสิงห์-อำาเภอเมืองจันทบุรี-อำาเภอท่าใหม่-หาดคุ้งวิมาน
แหลมสิงห์

วนอุทยานเขาแหลมสิงห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ พื้นที่ทั้งบกและทะเลรวมกัน ๙,๕๐๐ ไร่ สภาพป่าเป็นแบบดงดิบแล้ง และป่าชายหาดซึ่งมีพันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ กฤษณา กระบก ตะแบก สัตว์ต่างๆ ได้แก่ ลิงแสม กระจงเล็ก กระรอกบินสีส้ม ไก่ป่าและนกนานาชนิด ส่วนพืชและสัตว์ทะเลจะพบตามชายหาดและเกาะต่างๆ

เขาแหลมสิงห์ เป็นภูเขาขนาดเล็ก สูงจากระดับน้ำทะเลราว ๑๗๒ เมตร เหตุที่เรียกว่าเขาแหลมสิงห์ เนื่องจากด้านหน้าเขามีหินเป็นเกาะแก่งยื่นล้ำ ไปในทะเลรูปคล้ายสิงห์หมอบ มีหัว ลำตัว หาง เท้าและดวงตา บนเขาเป็น ที่ตั้งของป้อมไพรีพินาศ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่ มีการตั้งชื่อ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยัง มิได้เสวยราชย์เสด็จประพาสเมืองจันทบุรีจึงได้พระราชทานนามให้ และ ใกล้ๆ กับป้อมแห่งนี้มีพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งชาวเมืองจันทบุรีได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการที่ทหารฝรั่งเศสที่แหลมสิงห์ได้ถอนตัว ออกจากจันทบุรี จากที่ทำการบนเขามองเห็นทิวทัศน์ชายทะเลกว้างไกล และยังเป็นจุดที่ สามารถชมพระอาทิตย์อัสดงได้อย่างสวยงามมีทางเดิน ลงไปยังหาดอ่าว กระทิง ซึ่งเป็นชายหาดเล็กๆ ที่สวยงามและเงียบอาจเช่า เรือจากชาย หาดแหลมสิงห์ไปประมาณ ๒๐ นาที หรือเดินทางโดยเส้นทาง สายท่า ใหม่-บางกะไชย มาถึงที่ทำการวนอุทยาน ระยะทาง ๒๕ กิโลเมตร แล้วเดินเท้าลงไปที่หาดระยะทาง ๔๐๐ เมตร มีที่พักและร้านอาหารของ เอกชนบริการ และสามารถนำเต็นท์มากางพักแรมได้ด้านหน้าอ่าวกระทิงมีเกาะนมสาว มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕๐ ไร่ มีพันธุ์ไม้ ที่ขึ้นตามธรรมชาติหนาแน่น ทางด้านใต้ของเกาะเป็นหน้าผาสูงชัน และทางด้านทิศเหนือเป็นชายหาดและมีแนวปะการังยาวประมาณ ๕๐๐ เมตร เหมาะแก่การดำน้ำชมปะการัง กำรเดินทำง ไปเกาะนมสาวต้องไปขึ้นเรือโดยสารที่ท่าเรือแหลมสิงห์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๔๕ นาที ค่าบริการ ไป-กลับ ๔๐๐ บาท เรือนั่งได้ ๘-๑๐ คน บนเกาะไม่มีบ้านพักและ ร้านอาหาร

อ่าวยาง เป็นชายหาดเล็กๆ อยู่ใกล้กับอ่าวกระทิง มีบรรยากาศร่มรื่น มีบ้านพักและร้านอาหารของเอกชนบริการ อาจเช่าเรือจากหาดแหลมสิงห์ ไปประมาณ ๓๐ นาที หรือทางรถยนต์ใช้เส้นทางสายท่าใหม่-บางกะไชย ถึงปากทางเข้าอ่าวยาง ระยะทาง ๒๒ กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีก ๑ กิโลเมตร มีบ้านพักบริการ

เกาะจุฬา เป็นเกาะขนาดเล็ก มีปะการังที่สวยงาม การเดินทาง เช่าเรือ จากหาดแหลมสิงห์ ใช้เวลาเพียง ๓๐ นาที บนเกาะไม่มีบริการที่พักและร้านอาหาร

การเดินทางไปวนอุทยานเขาแหลมสิงห์ สามารถเดินทางได้สองเส้นทาง เส้นทางแรก จากอำเภอแหลมสิงห์จะถึงถนนเส้นบางกะไชย – ท่าใหม่ เลื้ยวซ้ายไปอีก ๑.๕ กิโลเมตร จะถึงวนอุทยานฯ เส้นทางที่สอง สามารถข้ามสะพานแหลมสิงห์ ผ่านชายหาด คือ อำเภอท่าใหม่-บางกะไชย ระยะทาง ๒๕ กิโลเมตร เส้นทางนี้จะผ่านวัดเขาแหลมสิงห์ ตัดขึ้นภูเขาไปจนถึงที่ทำการ

สถานที่ทางท่องเที่ยวอำเภอแหลมสิงห์-อำาเภอเมืองจันทบุรี-อำาเภอท่าใหม่-หาดคุ้งวิมาน
หาดคุ้งวิมาน

หาดคุ้งวิมาน อยู่ในเขตอำเภอนายายอาม ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๑๕ กิโลเมตร จากถนนสุขุมวิท กิโลเมตรที่ ๓๐๑ เลี้ยวซ้ายไปอีก ๑๘ กิโลเมตร เป็นหาดทรายยาวเหมาะแก่การพักผ่อนริมหาดมีที่พักบริการ ช่วงเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคมเป็นช่วงที่เหมาะเดินทางมาท่องเที่ยว

แหลมเสด็จ-อ่าวคุ้งกระเบน ห่างจากอำเภอท่าใหม่ ๒๕ กิโลเมตร ไปตามเส้นทางท่าใหม่-บ้านหมูดุด เป็นชายหาดที่มีความสวยงามและมีบรรยากาศเงียบสงบร่มรื่นด้วยสนทะเลและพันธุ์ไม้ชายหาดนานาชนิด เหมาะสำหรับการมาตั้งแคมป์พักแรม โดยทางกรมป่าไม้มีเต็นท์ให้เช่า พักได้ ๒-๔ ในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์มาเอง เสียค่าพื้นที่ตั้งเต็นท์ สอบถามรายละเอียดได้ที่ งานป่าไม้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน โทร. ๐ ๓๙๓๖ ๙๒๓๗ และในบริเวณเดียวกันยังเป็นที่ตั้งของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำเค็มที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. สอบถาม รายละเอียด โทร. ๐ ๓๙๓๘ ๘๑๑๗ ต่อ ๑๓๐

ที่อ่าวคุ้งกระเบนยังเป็นที่ตั้งของ ศูนย์ศึกษำกำรพัฒนำอ่ำวคุ้งกระเบนอัน  เนื่องมำจำกพระรำชดำริ มีหน้าที่ศึกษาค้นคว้าและวิจัยเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดจันทบุรี

โครงการหนึ่งที่ศูนย์ทำขึ้นเพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาสภาพธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเข้าใจระบบนิเวศในป่าชายเลนและรู้จักใช้ทรัพยากร เหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ สะพำนเดินศึกษำธรรมชำติป่ำชำยเลน อ่าวคุ้งกระเบน ตั้งอยู่ตรงข้ามศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ใช้เวลาเพียง ๓๐-๔๕ นาที บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง ๑,๖๐๐ เมตร มีจุดสื่อความหมายธรรมชาติอยู่ตามบริเวณจุดต่างๆ เป็นแหล่งอาหารธรรมชาติตลอดจนแหล่งสมุนไพรสำหรับชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบอีกด้วย นอกจากนี้จะเข้าใจได้ว่าไม้หลากชนิดในป่าชายเลนเกื้อกูลกันอย่างไร และมีประโยชน์กับเราอย่างไร อย่างเช่น ลำพูทะเล ที่งอกได้ดีในดินปนทราย จะเป็นผู้สะสมดินเลนทะเลเพื่อเตรียมพื้นที่ให้ไม้อื่นได้งอกงามและก่อประโยชน์เป็นทอดๆ ต่อกันไป ไม้แสมขาว นอกจากทำเป็นฟืนได้ หากแก่นยังนำไปต้มกับแก่น แสมสาร (ขี้เหล็กป่า) ช่วยขับโลหิตเสียของสตรีได้ กระพี้ เป็นยาแก้พิษงู ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของต้นตาตุ่มทะเล ใช้รักษาโรคเรื้อนได้ดี เปิดทุกวัน เวลา ๐๖.๓๐-๑๘.๐๐ น. การเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีบริการบ้านพักสำหรับบริการหน่วย งานรัฐที่ไปจัดอบรมสัมมนา โดยติดต่อล่วงหน้า โทร. ๐ ๓๙๓๖ ๙๒๑๖-๘ โทรสาร ๐ ๓๙๓๖ ๙๒๑๙

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่าวคุ้งกระเบน อยู่ห่างจากอำเภอท่าใหม่ ๑๕ กิโลเมตร เมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว เป็นพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ปัจจุบันมีต้นไม้ขึ้นมาทดแทนไม้ดั้งเดิม สภาพป่าเป็นป่า ๔ ชนิดในพื้นที่เดียวกัน ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายหาด และป่าชายเลน นอกจากนี้ทางเขตฯ ได้จัด เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ผ่านจุดชมวิวซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของหาดเจ้าหลาวและปากน้ำแขมหนูได้ ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง

หาดเจ้าหลาว เป็นหาดทรายขาวสีนวล สะอาดยาวเหยียดสุดสายตา บรรยากาศสงบเงียบ ชายหาดมีต้นมะพร้าวเป็นระยะๆ เหมาะสำหรับ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เมื่อน้ำลดจะเห็นผืนทรายกว้างใหญ่ สวยงาม มีรีสอร์ทและร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวเรียงรายตลอดเส้นทาง มีเลนจักรยานสามารถปั่นท่องเที่ยวต่อยาวไปได้ถึงอำเภอแหลมสิงห์ นอก จากนี้ยังมีเรือท้องกระจกและเรือเร็วบริการนำนักท่องเที่ยวไปชมแนว ปะการังน้ำตื้นที่อยู่ห่างจากฝั่งไปเพียง ๒ กิโลเมตร เรือนั่งได้ ๕ – ๒๐ คน การเดินทาง ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ช่วงเวลาที่เหมาะท่องเที่ยว คือ เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาค สอบถามรายละเอียดได้ที่การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย สำนักงานระยอง โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๐ -๑

การเดินทาง  ไปยังหาดคุ้งวิมาน หาดคุ้งกระเบน หาดแหลมเสด็จ และหาดเจ้าหลาว สามารถเข้าถึงได้สองเส้นทาง คือ จากถนนสุขุมวิทก่อน ถึงตัวเมืองจันทบุรีราว ๓๐ กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ ๓๐๑ มีทางแยกขวาไปตามทางหลวง ๓๓๙๙ และจะพบป้ายทางแยกไปหาดต่างๆ เป็นระยะอและอีกเส้นทางหนึ่งคือ จากตัวเมืองเดินทางไปอำเภอ ท่าใหม่ระยะทาง ๑๗ กิโลเมตร ต่อด้วยเส้นทางที่ไปเขื่อนวังโตนดและเลยไปจนถึงชายทะเล ได้เช่นกัน สวนรุกขชาติชายหาดแหลมเสด็จ ห่างจากอำเภอท่าใหม่ ๒๕ กิโลเมตร เป็นชายหาดขนาดเล็กที่มีความสวยงาม ร่มรื่นด้วยเงาของสนทะเลและพันธุ์ไม้ชายหาดนานาชนิด

เขาบายศรี โฮมสเตย์ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สัมผัสวิถีชุมชนสวนผลไม้ กลุ่มอนุรักษ์เขาบายศรี โทร. ๐ ๓๙๓๕ ๖๕๔๔

สะพานเฉลิมพระเกียรติ (ปากน้ำแขมหนู) ตั้งอยู่ที่ตำบลตะกาดเง้า อำเภอ ท่าใหม่ เป็นสะพานที่เชี่อมข้ามทะเลระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร สามารถมองเห็นทัศนียภาพของทะเล ภูเขาและเห็นวิถีชีวิตชาวประมง เพราะมีท่าเทียบเรือขนาดเล็กอยู่ ยามเย็นจะเห็นเรือประมงออกหาปลาซึ่งแล่นตามกันออกไปทะเลเป็นภาพที่สวยงาม นอกจากนี้ยังมีอาหารซึ่งชาวประมงนำมาขายเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *