สถานที่เที่ยวที่น่าสนใจ อำเภอเมืองขอนแก่น
ศาลเจ้าเทพารักษ์หลักเมือง เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวขอนแก่น ตั้งอยู่หน้าศาลาสุขใจ ถนนเทพารักษ์ หน้าเทศบาลนครขอนแก่น ท่านเจ้าคุณปู่พระราช สารธรรมมุนีและหลวงธุรนัยพินิจ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้ริเริ่มสร้างขึ้นโดยนำาหลักศิลาจารึกจากโบราณสถานในท้องที่อำาเภอชุมแพมาประกอบพิธีทางพุทธศาสนาและตั้งเป็นศาลหลักเมืองเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ตั้งอยู่ถนนหลังศูนย์ราชการ เป็นที่เก็บและจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุอันมีค่าตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีการจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ที่บ้านเชียงและเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้คนในยุคนั้น สิ่งที่ควรชมสำาหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือใบเสมาหินทรายขนาดใหญ่เป็นงานพุทธศิลป์สมัยทวาราวดี จำหลักภาพพุทธประวัติที่งดงามและสมบูรณ์มาก พบที่เมืองฟ้าแดดสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ นอกจากนั้นยังมีศิลปะวัตถุสมัยขอมหรือลพบุรี ได้แก่ ทับหลัง จากปราสาทหินในภาคอีสาน นอกเหนือจากโบราณวัตถุที่พบในท้องถิ่นแล้ว ที่นี่ยังจัดแสดงศิลปะวัตถุสมัยอื่นไว้ด้วย เช่น สุโขทัย อยุธยา…
ฤดูกาลและการเดินทางไปท่องเที่ยวเกาะพะงัน
เกาะพะงันมีฤดูกาลต่างๆ เป็นไปตามอิทธิพลของลมมรสุมเป็นสำคัญฤดูร้อนอากาศสดใสเหมาะกับการท่องเที่ยวที่สุดอยู่ระหว่างเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ซึ่งฤดูนี้จะมีลมพัดยาหรือลมพัทธยาพัดสู่เกาะพะงันอาจมีฝนบ้างเล็กน้อยแต่ก็ยังสามารถท่องเที่ยวได้เพียงแต่ช่วงกลางวันนำ้าทะเลมักจะลงจนเห็นหลังงันหรือหลังนาที่เป็นแนวสันดอนปะการังอยู่นอกฝั่งอยู่ทั่วไปและนำ้าจะขึ้นเต็มฝั่งในช่วงเย็นและกลางคืน หาดที่มีผลกระทบในช่วงนี้ได้แก่ หาดริ้นใน หาดบ้านใต้ บ้านค่าย หาดท้องศาลาและหาดหินกอง อย่างไรก็ดีสำาหรับชาวประมงแล้วในช่วงที่มีลมพัดยาหรือลมพัทธยากลับเป็นฤดูที่ดีในการออกหาปูหาปลาที่มักจะชุกชุมกว่าในฤดูอื่น ส่วนในเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมเป็นช่วงฤดูมรสุมที่มีลมว่าวพัดเข้าสู่เกาะพะงันทำาให้มีฝนตกชุกกว่าช่วงอื่นเดือนที่มีฝนตกหนักที่สุดจะเป็นเดือนพฤศจิกายนและหาดที่หันหน้ารับคลื่นลมจากลมว่าวเต็มที่ก็คือ หาดริ้นนอกหาดธารเสด็จ หาดท้องนายปานใหญ่ หาดท้องนายปานน้อยและหาดขวดฤดูกาลต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นตัวกำาหนดเขตพื้นที่การ ท่องเที่ยวบนเกาะพะงันไปโดยปริยาย อย่างไรก็ดีถือว่าเกาะพะงัน ยังมีฤดูท่องเที่ยวได้เกือบตลอดทั้งปี ผิดกับทางฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อถึงฤดูมรสุมจะมีฝนตกยาวนานกว่าคือเกือบ 6 เดือนต่อปี การเดินทางสู่เกาะพะงันนั้นสามารถทำาได้ไม่ยาก โดยเฉพาะ จากท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสักซึ่งมีเรือเฟอร์รี่ของบริษัทราชาเฟอร์รี่ข้ามสู่เกาะพะงันวันละ 5 เที่ยวและออกจากเกาะอีกวันละ 5…
ภูมิศาสตร์ของเกาะพะงัน เพชรเม็ดงามบริสุทธิ์ของอ่าวไทย
ด้วยสภาพที่ตั้งของเกาะพะงันที่เป็นเกาะขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในช่องอ่างทอง ทางด้านทิศเหนือของเกาะสมุย มีขนาดเนื้อที่ถึง 122 ตารางกิโลเมตร เป็นรองก็แต่เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง และเกาะตะรุเตาเท่านั้น เกาะพะงันจึงเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีสภาพภูมิศาสตร์อุดมสมบูรณ์ทั้งหาดทรายชายทะเลที่มีอยู่เกือบรอบเกาะโดยมีแนวปะการังอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเหมาะแก่การดำน้ำชมความงามของโลกใต้สมุทรกับมีสันดอนทรายหรือหลังงันอยู่เป็น ระยะอันเป็นที่มาของชื่อเกาะพะงันในอดีตถัดจากชายหาดขึ้นไปเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาที่เหมาะแก่การทำาสวนมะพร้าว สวนผลไม้และสวนยางพาราไปจนจรดแนวเขาที่วางตัวเหนือใต้อยู่เป็นแกนกลางของพื้นที่เกาะแนวเขาเหล่านี้เองเป็นพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาแต่ครั้งโบราณกาลเป็นต้น น้ำลำาธารหลายสายที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนเกาะพะงัน มีน้ำตก ลำาธารอันสวยงามจนเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงเคยเสด็จประพาสมาถึงที่นี่โดยเฉพาะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมาที่เกาะแห่งนี้ถึง 14 ครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดโดยเฉพาะกวางป่า มีหลักฐานกล่าวกันว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จะเสด็จเกาะพะงันเป็นครั้งที่ 2 นั้นมีการเตรียมกวางป่าให้พระองค์ท่านทรงปล่อย แต่เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงกำหนดการไม่ได้มาเยือน จึงมีการปล่อยกวางเหล่านั้นเข้าป่าไป…
เกาะพะงัน สวรรค์ของคนรักธรรมชาติ
หลายคนคงจะจดจำภาพของเกาะพะงันว่าเป็นดินแดนของงาน ฟูลมูนปาร์ตี้ที่โด่งดังไปทั่วโลก อันมีจุดกำาเนิดเล็กๆ มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้มีโอกาสมาถึงเกาะพะงันใน วันพระจันทร์เต็มดวงและดื่มด่ำกับธรรมชาติ มีความรู้สึกประทับใจบนผืนทรายของหาดริ้น จึงนำไปเขียนเป็นบทความในหนังสือว่าเป็นที่สุดของชายหาดที่จะดูพระจันทร์เต็มดวงได้สวย งามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก จนมีคนอ่านแล้วเคลิบเคลี้มตามมาเที่ยวในวันพระจันทร์เต็มดวงตาม บทความนั้นมากขึ้น จากนั้นจึงเริ่มมีงานปาร์ตี้เกิดขึ้นบนชายหาดท่ามกลางบรรยากาศริมทะเลที่วิเศษสุด จนเกิดเป็นกระแสการท่องเที่ยวในหมู่ชาวต่างประเทศขึ้นว่าจะต้องมาปาร์ตี้บนหาดทรายของเกาะพะงันในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิตนี่เองจึงเป็นจุดกำเนิดของงานฟูลมูนปาร์ตี้ที่วันนี้มีผู้คนนับหมื่นคนมาร่วมงานสนุกสนานนี้ในทุกวันพระจันทร์เต็มดวงบนเกาะพะงัน หลายคนอาจจะมองภาพของเกาะพะงันในมุมนี้ว่าเป็นเกาะที่มีแต่คนมากินเหล้า เมายา ปาร์ตี้ จนกลายเป็นภาพลักษณ์ที่ออกไปในทางไม่สู้ดีนัก หากแต่ในความเป็นจริงงานฟูลมูนปาร์ตี้ก็เป็นงานหนึ่งซึ่งสนุกสนาน มีสีสัน มีเสน่ห์เป็นของตัวเองไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน มีหลายแห่งอาจจะเลียนแบบเอาอย่างแต่ก็ไม่อาจมีเสน่ห์ได้อย่างสถานที่แท้จริง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดคือเกาะพะงัน และในภาพรวมของงานฟูลมูนปาร์ตี้ก็เป็นงานที่สนุกสนานสำาหรับคนในวัยสนุกวัยหนุ่มสาวอยากปลดปล่อยความเป็นอิสระเสรีที่ไม่ได้เกินเลยขอบเขตของสังคม หากเราดูแลให้งานฟูลมูนปาร์ตี้ดำาเนินไปตามครรลองของระเบียบและกฎหมายไม่ให้เกิดเรื่องที่มีผลกระทบต่อเกาะพะงันในมุมลบเป็นได้ ฟูลมูนปาร์ตี้เกาะพะงันวันนี้น่าจะเป็นการผสมผสานของหาดทรายขาวของหาดริ้น เสน่ห์ของแสงจันทร์ แฟชั่น ศิลปะ และการดื่มด่ำในดนตรีเสียงเพลงในสไตล์ที่เข้าถึงอารมณ์ของวัยรุ่นจากทั่วโลก อย่างไรก็ดี เกาะพะงันนั้นก็ใช่ว่าจะมีเสน่ห์ที่โด่งดังไปทั่วโลกอยู่แค่งานฟูลมูนปาร์ตี้ดังกล่าว…
เกาะพะงันกับคุณค่า และความหมายของการเสด็จประพาส
ในห้วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของการเสด็จประพาสไปในสถานที่ต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ไทยนั้น พระพุทธเจ้าหลวงหรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 นับทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงโปรด การเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ไปและทรงเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์อยู่เสมอ ถึงขนาดบางครั้งพระองค์ก็เสด็จประพาสไปในที่ต่างๆโดยการเสด็จ ประพาสแต่ละครั้งทรงไม่เปิดเผยพระองค์เองว่า เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทำให้ ทรงได้รับรู้ถึงความทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์และเห็นความเป็นอยู่ ของบ้านเมืองตามชนบทตลอดจนได้สร้างความใกล้ชิดกับราษฎร นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง เกาะพะงัน นับเป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเป็นการส่วนพระองค์และได้เคยเสด็จประพาสมาถึงที่นี่บ่อยครั้งกว่าที่แห่งใดในประเทศไทยถึง 14 ครั้ง ระหว่าง พ.ศ.2431-2452 ซึ่งมีทั้งที่เป็นทางผ่านตามเส้นทางเสด็จสู่แหลมมลายูหรือการเสด็จมณฑล ฝ่ายใต้ เช่นเมืองนครศรีธรรมราช สงขลา เป็นต้น การเสด็จประพาสครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นใน…
พงันในอดีตกว่าจะมาเป็นเกาะพะงัน
เกาะพะงัน นับเป็นเกาะขนาดใหญ่เคียงคู่กับเกาะสมุย ตั้งอยู่ใน ทะเลอ่าวไทยบริเวณที่เรียกว่า ช่องอ่างทอง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้างและเกาะตะรุเตาโดยมีพื้นที่ 122 ตารางกิโลเมตร จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เชื่อว่าเกาะพะงันนี้ เคยมีผู้คนอาศัยอยู่มานานกว่า 1,300-2,000 ปี โดยคนกลุ่มแรกที่มาถึงเกาะพะงันน่าจะเป็นนักเดินเรือชาวโจฬะหรือชนเผ่าทมิฬ ซึ่งเป็นคนพื้น เมืองในแถบอินเดียตอนใต้ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14 ถึงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในรัชสมัยพระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 และพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ที่ได้ทรงแผ่ขยายพระราชอาณาจักรมา ถึงคาบสมุทรมลายู…
ไปเที่ยวหน้าฝนจะต้องจัดกระเป๋าอย่างไร
ต่อให้ฝนโปรยปรายมากแค่ไหน ก็อย่าปล่อยให้ใจห่อเหี่ยวจมจ่อมอยู่แต่ในบ้าน จัดกระเป๋าออกไปเดินทางท่องเที่ยวกันให้เพลิดเพลินจะดีกว่า อย่างที่เพลง ฝนตกร้องเพลง บอกเอาไว้ว่า อยู่ใต้ฟ้าจะกลัวอะไรกับฝน นั่นไงล่ะ แต่ถ้าจะให้ดีก็ต้องวางแผนรับมือฟ้าฝนกันสักเล็กน้อย ด้วยข้าวของเหล่านี้ ซองกันน้ำเอนกประสงค์ ซองกันน้ำแบบที่มีซิปล็อกนั้น นอนกจากเอาไว้ใส่วัตถุประเภทน้ำเวลาจัดกระเป๋าขึ้นเครื่องบินแล้ว ยังเอาไว้ใส่โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อป้องกันฝนหรือละอองน้ำในระหว่างเดินทางท่องเที่ยวได้อีกด้วย ที่สำคัญควรเลือกซองกันน้ำแบบที่กันน้ำได้จริง หรือแบบที่มีสายคล้องคอก็จะช่วยให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เสื้อกันฝน ในวันที่ฝนตกพรำๆ การเดินกางร่มพร้อมกับการท่องเที่ยวอาจไม่คล่องตัวเท่าไหร่นัก เสื้อกันฝนเป็นหนึ่งตัวช่วยที่ดีที่สุด เลือกเสื้อกันฝนที่มีดีไซน์เก๋ๆ เท่ๆ จะช่วยให้เมื่อกลับจากทริปท่องเที่ยวแล้วมานั่งดูรูปตัวเองจะได้ไม่รู้สึกแย่เกินไปนัก รองเท้ากันน้ำ เพื่อความปลอดภัยในการเดินเหิน เพราะไม่รู้ว่าระดับน้ำฝนในแต่ละวันจะตกมาตกน้อยแค่ไหน การเลือกรองเท้าที่สามารถลุยน้ำ เปียกฝนได้ จึงเป็นเรื่องสมควรเป็นอย่างยิ่ง…
โพธาราม – เจ็ดเสมียน เส้นทางอาหารอร่อย
โพธารามเมืองคนสวยแห่งจังหวัดราชบุรี ณ อำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่งอาจเป็นเพียงทางผ่านสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับนักท่องเที่ยวผู้พิสมัยการชิมอาหาร เส้นทาง 7 กิดลเมตรระหว่างโพธารามไปถึงตำบลเจ็ดเสมียน คืออีกหนึ่งแหล่งรวมอาหารขึ้นชื่อที่เราขอท้าไปชิมความอร่อยเด็ด กับ 7 ร้านดังที่คัดสรรมาให้ชิมกัน เต้าหู้ดำแม่เล็ก ความอร่อยที่พูดกันปากต่อปาก ส่งผลให้เต้าหู้ดำแม่เล็กเป็นที่รู้จักโดยทั่ว กับความแปลกเต้าหู้ที่ตุ๋นด้วยน้ำพะโล้สูตรเฉพาะนาน 3 วัน 3 คืน จนรสชาติและสีสันซึมเข้าเนื้อ จากเต้าหู้สีขาวจึงกลายเป็นสีดำคล้ำเป็นเอกลักษณ์ แต่ยังคงความนุ่มของเนื้อเต้าหู้ที่หอมกรุ่นด้วยเครื่องพะโล้ยาจีน โดยมีแม่เล็กเป็นผู้บุกเบิกในการทำเต้าหู้ดำเป็นเจ้าแรกในโพธาราม ถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 50 ปี เต้าหู้ดำแม่เล็กต้มสดใหม่ทุกวัน ปราสจากสารกันบูด สามารถเก้บไว้ได้นาน…
ถนนยมจินดา ตลาดเก่าเมืองระยอง
เป็นถนนเก่าแก่ที่ทอดยาวไปกับแม่น้ำเมืองระยอง ในสมัยก่อนที่นี่ถือว่าเป็นศูนย์กลางการค้าขาย แหล่งรวมเศรษฐกิจแห่งแรกของเมืองระยอง ที่พรั่งพร้อมไปด้วยตลาดสด ธนาคาร โรงหนัง และร้านค้าต่างๆ รวมไปถึงยังเป็นที่ตั้งบ้านเจ้าเมืองต้นตระกูลยมจินดาอีกด้วย ปัจจุบันยังคงหลงเหลือไว้เพียงความเงียบเหงาที่แฝงไว้ซึ่งเสน่ห์ของบ้านเรือนเก่าแก่ ที่บางหลังก็มีคนอยู่บ้าง หรือบางหลังก็อาจปิดไว้เพื่อรอการบูรณะในโอกาสต่อไป การมาเดินเล่นที่นี่ก็ได้บรรยากาศแบบย้อนยุคดีเหมือนกัน ด้วยเพราะบ้านเรือนที่อยู่บริเวณนี้ยังคงอนุรักษ์ความเป็นบ้านไม้แบบทรงโบราณไว้บ้างทั้งสองฟากฝั่ง แต่บางหลังก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ระหว่างทางมีบ้านเก่าหลังใหญ่ชื่อ สัตย์อุดม เป็นสถานที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์ของเมืองระยอง โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อนมาจัดแสดง เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังและคนต่างถิ่นได้ศึกษาและเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นมาของเมืองแห่งนี้ บ้านหลังนี้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 ตลอดทางเดินจะพบกับร้านค้ามากมาย ทั้งร้านที่เก็บรวบรวมของเก่าที่สามารถซื้อหากลับไปได้ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟทั้งเจ้าเก่าและเจ้าใหม่ แต่ร้านที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักกกันดีก็น่าจะเป็น ร้านราย็อง ร้านกาแฟที่ดูเก๋และมีสไตล์ อยู่ตรงหัวมุมถนนพอดี…
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงแห่งนี้มีพื้นที่ครอบคลุม 2 จังหวัด คือท้องที่อำเภอวังทอง อำเภอนครไทย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอเขาค้อ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติ ทิวทัศน์ และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น ถ้ำ น้ำตก ทุ่งหญ้าโล่งใหญ่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 789,000 ไร่ หรือ 1,262.40 ตารางกิโลเมตร สันนิษฐานว่าชื่อ ทุ่งแสลง มาจากชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งในทุ่งหญ้าแห่งนี้ คือ ต้นแสลงใจ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่…