Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

วัดอาฮงศิลาวาส (แก่งอาฮง)
วัดอาฮงศิลาวาส (แก่งอาฮง)

วัดอาฮงศิลาวาส (แก่งอาฮง) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ตำบลไคสีห่างจาก อำเภอเมืองบึงกาฬ ๒๑ กิโลเมตร บริเวณวัดกว้างขวางและสวยงาม เป็นที่ ประดิษฐาน”พระพุทธคุวานันท์ศาสดา” หล่อด้วยทองเหลืองลักษณะคล้าย กับพระพุทธชินราช เชื่อกันว่าลำน้ำโขงบริเวณหน้าวัดเป็นจุดที่ลึก ที่สุดในแม่น้ำโขง หรือเรียกกันว่า “สะดือแม่น้ำโขง” ได้เคยมีการวัดโดย ใช้เชือกผูกกับก้อนหินหย่อนลงไปได้ถึง ๙๘ วา ในฤดูน้ำหลากกระแสน้ำ จะไหลวนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่ เมื่อรูปกรวยแตกจะมีเสียงคล้าย กระแสน้ำไหลเซาะโขดหินแล้วจะค่อยๆ หายไป เมื่อกระแสน้ำเชี่ยวมาอีก ก็จะก่อตัวขึ้นใหม่เกิดสลับกันตลอดทั้งวัน ส่วนหน้าแล้งในเดือนมีนาคม- พฤษภาคม จะมองเห็นแก่งชัดเจน ตามตำนานเล่าสืบต่อกันว่าบริเวณสะดือแม่น้ำโขง จะมีถ้ำใต้โขดหินใหญ่ ฝั่งประเทศลาวเป็นที่อยู่ของปลาบึกซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวัดอาฮงศิลาวาส และเป็นที่ชุมนุมของเหล่าพญานาคในวันเทศกาลออกพรรษา เพื่อทำบุญบั้งไฟ เป็นพุทธบูชาร่วมกับมนุษย์ จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และทำให้บริเวณนี้มี บั้งไฟพญานาคขึ้นเป็นจำนวนมาก

แก่งอาฮง
แก่งอาฮง

วัดโพธิ์ธาราม (วัดหลวงพ่อพระใหญ่) ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไคร้ หมู่ ๕ ตำบล บึงกาฬ ห่างจากตัวอำเภอเมืองบึงกาฬ ๕ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ (บึงกาฬ-นครพนม) เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใหญ่ พระพุทธรูป ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒ เมตร ประดิษฐานบนแท่น ๔ เหลี่ยม ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ชาวบึงกาฬได้จัดให้มีการสมโภช หลวงพ่อพระใหญ่ปีละ ๒ ครั้ง คือ วันเพ็ญ เดือน ๓ และช่วงเทศกาลสงกรานต์

ศาลเจ้าแม่สองนาง  ตั้งอยู่หน้าโรงพยาบาลบึงกาฬ ในตลาดอำเภอบึงกาฬ โดยปกติประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงจะเสียชีวิตในลำน้ำโขงปีละหลายคน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการกระทำของเทพเจ้าทางน้ำ ชาวบ้านจึงจัดให้มี พิธีบวงสรวงเจ้าแม่สองนางเพื่อเป็นศิริมงคลและให้คุ้มครองผู้ที่ประกอบ อาชีพทางน้ำให้พ้นจากภัยอันตราย

หนองกุดทิง ห่างจากตัวอำเภอเมืองบึงกาฬ ๕ กิโลเมตร เป็นหนองน้ำ ขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๒๒,๐๐๐ ไร่ ลึก ๕-๑๐ เมตร มีความ หลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วยสัตว์น้ำกว่า ๒๕๐ สายพันธุ์ ปลาที่เป็น เอกลักษณ์ไม่มีที่ใดในโลก ๒๐ สายพันธุ์ พืชน้ำกว่า ๒๐๐ ชนิด นกพันธุ์ต่างๆ กว่า ๔๐ ชนิด และเป็นที่ประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่กว่า ๒,๐๐๐ ครัวเรือน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (พื้นที่แรมซาร์) สำาคัญของโลกแห่งที่สองของจังหวัดหนองคาย และแห่งที่ ๑๑ ของประเทศไทย

ตลาดลาว เป็นตลาดนัดของอำเภอเมืองบึงกาฬ มีเฉพาะวันอังคารและ วันศุกร์ ที่เรียกว่าตลาดลาวเนื่องจากมีแม่ค้าจากฝั่งลาวนำของมาขายเป็น จำานวนมากทั้งพืชผัก อาหารแห้ง และอาหารสด

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *