วัดช้างใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างใหญ่ (อยู่ห่างจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทรประมาณ ๑ กิโลเมตร) เป็นวัดเก่าแก่สร้างก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า “วัดเสาธงหิน” เพราะมีเสาธงเก่าแก่ตั้งอยู่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดช้างเฉย” และเปลี่ยนมาเป็น “วัดช้างใหญ่” เพราะเคยเป็นที่ตั้งของเพนียดคล้องช้าง เป็นที่ต่อช้างฝึกช้างป่า และเป็นที่อยู่ของช้างป่าจำนวนมาก วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพ.ศ.๒๓๖๐ ภายในโบสถ์ประดิษฐานพระประธานเดิมชื่อว่า “หลวงพ่อทอง” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “หลวงพ่อดำศักดิ์สิทธิ์” เชื่อกันว่า หลวงพ่อสามารถหยั่งถึงจิตใจของผู้ที่เข้าไปสักการะได้ โดยจะรู้ว่ามีความสุขหรือทุกข์โดยสังเกตจากสีหน้าของหลวงพ่อ (เป็น ความเชื่อส่วนบุคคล)
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ประวัติควำมเป็นมำ พระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คือการเสด็จพระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกแห่งหน ทั่วทุกภาคของประเทศไทยพระราชกรณียกิจนี้ ได้ทรงปฏิบัติติดต่อกันมานานนับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว จึงทำให้ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ว่ามีความทุกข์สุขอย่างไร ที่ทรงเป็นห่วงมากก็คือ ความยากจนของราษฎร จึงทรงมีพระราชประสงค์จะจัดหาอาชีพให้ราษฎรทำ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้เพียงพอแก่การยังชีพ ในภาวะปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงสนพระทัยในงานฝีมือพื้นบ้านหรือศิลปกรรมพื้นบ้านที่จัดทำ ขึ้นโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นมาก พระองค์จึงส่งเสริมในเรื่องนี้โดยการจัดให้มีครูออกไปฝึกสอนราษฎรเป็นการช่วยปรับปรุงคุณภาพของงานให้ดียิ่งขึ้น เมื่อราษฎรมีความชำนาญแล้วผลงานที่ผลิตออกมา ก็จะทรงรับซื้อไว้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งงานนี้ต่อมาได้ขยายออกเป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฏาคม ๒๕๑๙ และได้ทรงจัดตั้งโรงฝึกอบรมศิลปาชีพขึ้นแห่งแรกที่ พระตำหนักสวนจิตรลดา ในวันฉัตรมงคลปี ๒๕๒๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ สรรหาที่ดิน ที่ใกล้เคียงกับพระราชวังบางปะอินเพื่อจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพอีกแห่งหนึ่ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จัดหาที่ดินได้ ๒ แปลง เป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้รัฐบาลจัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้ ได้มีที่อยู่และทำมาหากินตามอัตภาพ แปลงหนึ่งอยู่ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อีกแปลงหนึ่งอยู่ที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรที่ดินแปลงที่อยู่ที่อำเภอบางไทรด้วยพระองค์เอง ซึ่งที่ดินแปลงนี้มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๗๕๐ ไร่เศษ และทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าสมควรจะสร้างศูนย์ศิลปาชีพ ณ ที่นี้ วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๓ รัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินแปลงนี้แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๔ รอบ และรัฐบาลยังได้มีมติให้หน่วยราชการต่างๆ สนับสนุนโครงการของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงจัดตั้งขึ้นโดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการดูแลสถานที่และการฝึกอบรม และมีหน่วยทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ มาช่วยดูแลในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดฝึกอบรมศิลปาชีพเรื่อยมา และมีการซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก ๒๐๐ ไร่เศษ รวมเป็นเนื้อที่ของศูนย์ฯ ทั้งหมดเกือบ ๑,๐๐๐ ไร่ในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๒๗
สิ่งที่น่าสนใจ
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่ ภายในศูนย์ ศิลปาชีพบางไทรฯ ประกอบด้วยสถานที่และสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่งอาทิ ศาลาพระมิ่งขวัญ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ จตุรมุขสูง ๔ ชั้น ตั้งตระหง่านอยู่กลางศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ชั้นล่าง เป็นศูนย์สาธิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ และศูนย์ ศิลปาชีพอื่นๆ ทั่วประเทศ ชั้นที่ ๒ และ ชั้นที่ ๓ เป็นนิทรรศการผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพชิ้นยอดเยี่ยมของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ชั้นที่ ๔ เป็นห้องประชุมสัมมนา เปิดให้ชมทุกวัน วันธรรมดา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. วันหยุดราชการ ๐๙.๐๐-๑๘.๐๐ น. ไม่เสียค่าเข้าชม
หมู่บ้านศิลปาชีพ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนหมู่บ้านแห่งนี้ให้แก่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ เพื่อเป็นสถานที่แสดงถึงสถาปัตยกรรม ในการสร้างบ้านเรือนของคนไทยภาคต่างๆ การจำลองชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไทยจากทั่วประเทศ ภายในหมู่บ้านมีการสาธิตวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยๆ ในแต่ละภาค และการสาธิตงานศิลปาชีพ เปิดให้ชมทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐-๑๗.๐๐ น. ในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๙.๐๐ น. นอกจากนี้ยังมีการแสดงนาฏศิลป์ และการละเล่นพื้นบ้านทั้งสี่ภาคให้ชมด้วยในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันละ ๑ รอบ ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๑๗.๓๐ น.
นอกจากนี้หมู่บ้านศิลปาชีพบางไทรยังมีความยินดีที่จะนำเสนอพิธีมงคลสมรสแบบประเพณีไทยโบราณภาคกลางโดยจัดกิจกรรมตามประเพณีไทยสมบูรณ์แบบ เช่น พิธีสงฆ์ ขบวนแห่ขันหมาก พิธีรดน้ำสังข์ ตกแต่งสถานที่ด้วยเสียงดนตรี-เพลงบรรเลงตลอดงาน อาหารและน้ำดื่มสำหรับญาติและผู้มาร่วมงาน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หมู่บ้านศิลปาชีพ บางไทร โทร. ๐ ๓๕๓๖ ๖๖๖๖-๗, ๐๘ ๙๑๓๒ ๐๓๐๓ (คุณอัจฉรา) อาคารฝึกอบรมศิลปาชีพ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของศูนย์ฯประกอบด้วยอาคารฝึกอบรมศิลปาชีพของแผนกต่างๆ ปัจจุบันทางศูนย์ได้เปิดอบรมศิลปาชีพด้านหัตถกรรมพื้นบ้านและอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรจากทุกภูมิภาคของประเทศรวมทั้งสิ้น ๒๙ แผนก ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมวิธีการฝึกอบรมศิลปาชีพของศูนย์ฯได้ทุกขั้นตอนและการผลิตงาน ศิลปาชีพ ที่มีความประณีตวิจิตรซึ่งต้องใช้เวลาอันยาวนานเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เปิดให้ชมทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ยกเว้นช่วงที่ปิดรุ่นการฝึกอบรม
พระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ นายถู เจี๋ย ในนามของประชาชนชาวจีน ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระรูปพระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ซึ่งแกะสลักจากไม้จันทน์เหลืองสูง ๖ เมตร จำนวน ๑ องค์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานไว้ ณ พระตำหนักชั่วคราว ศาลาโรงช้าง ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ เพื่อให้ประชาชนที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระโพธิสัตว์กวนอิมได้มานมัสการและสักการะบูชาทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น.
พระตำหนัก เป็นเรือนไทยภาคกลางใต้ถุนสูงสร้างโดยวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมีความสวยงามตามแบบฉบับเรือนไทยดั้งเดิม พระตำหนักนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับพักผ่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ พระตำหนักนี้แวดล้อมไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับและน้ำตกจำลองที่สวยงาม
วังปลา จัดสร้างและดำเนินงานโดยกรมประมง เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด ตัวอาคารหลักมีตู้กระจกขนาดใหญ่ จำานวน ๒ ตู้ ตู้ใหญ่รูปเมล็ดถั่วมีขนาดความจุ ๑,๔๐๐ ตัน อีกตู้หนึ่งทรงกลมขนาดความจุ ๖๐๐ ตัน ภายในตู้จะแสดงให้เห็นถึงการอยู่อาศัยร่วมกันของปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ ที่เป็นปลาพื้นเมืองของไทย เปิดให้ชม เวลา ๑๐.๐๐-๑๖.๐๐ น. ปิดทุกวันจันทร์และวันอังคาร
สวนนก ดำเนินงานโดยมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระราชินูปถัมภ์ สวนนกเป็นกรงนกขนาดใหญ่ ๒ กรง ภายในมีนกพันธุ์ที่หาชมได้ยากมากกว่า ๓๐ ชนิด มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในให้เหมือนธรรมชาติ อาทิ น้ำตกและธารน้ำจำลอง มีป่าจำลองที่ร่มรื่นใกล้เคียงกับธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีสะพานแขวนให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปชม และถ่ายภาพนกจากด้านบนของกรงได้อย่างชัดเจน และบริเวณรอบๆกรงนกยังมีสัตว์ป่าอื่นๆ ให้ชมอีกด้วย เปิดให้ชมทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐-๑๙.๐๐ น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐- ๑๗.๐๐ น. วันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๘.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ ๕๐ บาท เด็ก ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก ๕๐ บาท เที่ยวชมภายในหมู่บ้านศิลปาชีพฯ “วังปลา” พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อาคารฝึกอบรมงานศิลปาชีพ “ศาลาพระมิ่งขวัญ” ซึ่งเป็นอาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ศิลปาชีพของนักเรียนศิลปาชีพ สักการะบูชาพระโพธิสัตว์กวนอิมฯ ณ ศาลาโรงช้าง และนั่งรถไฟเล็ก โดยไม่เสียค่าบริการ สอบถามรายละเอียดที่ประชาสัมพันธ์ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร โทร. ๐ ๓๕๓๖ ๖๒๕๒-๔, ๐ ๓๕๒๘ ๓๒๔๖-๙ หรือ www.bangsaiarts.com
การเดินทาง
๑. เส้นทางที่ ๑ ทางหลวงหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนตะวันตก) จากแยก ทางหลวง ๓๔๕ (อำเภอบางบัวทอง) ซึ่งมาได้จาก จังหวัดสุพรรณบุรี -ตลิ่งชัน หรือปทุมธานี ผ่านแยกต่างระดับสามโคก – ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา – เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า-เดินรถตรงจนถึงศูนย์ฯ
๒. เส้นทางที่ ๒ ทางหลวงหมายเลข ๓๐๖ (ถนนติวานนท์) จากห้าแยกปากเกร็ด – ผ่านแยกสวนสมเด็จ – ผ่านแยกปากคลองรังสิต – ผ่าน แยกบางพูน – เลี้ยวขวาที่แยกเทคโนฯปทุมธานีเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๔๗ (ปทุมธานี-บางปะหัน) ผ่านแยกเชียงรากน้อย – เลี้ยวซ้ายทาง ต่างระดับเชียงรากน้อยเดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า – กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา – เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า – เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์
๓. เส้นทำงที่ ๓ ทางด่วนสายปากเกร็ดบางปะอิน – ลงทางด่วนบางปะอินตรงผ่านแยกบ่อส่า – กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา – เลี้ยวซ้าย ทางแยกบ่อส่า – เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
๔. เส้นทำงที่ ๔ ทางหลวงหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) จากรังสิต หรือภาคเหนือหรือภาคอีสาน – ผ่านแยกต่างระดับบางปะอินเข้าทางหลวงหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนตะวันตก) – ตรงผ่านแยกต่างระดับเชียงรากน้อย – เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า-กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา – เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า – เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์
๕. เส้นทำงที่ ๕ ทางหลวงเอเชีย จาก อำเภอบางปะหัน-อยุธยา มาตามทางหลวงหมายเลข ๓๔๗ (ปทุมธานี-บางปะหัน) – ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา – แยกต่างระดับเชียงรากน้อยเลี้ยวขวา – เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่ากลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา – เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า -เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
๖. เส้นทางที่ ๖ ทางหลวงหมายเลข ๓๓๐๙ (บางปะอินเชียงรากน้อย) จาก ทางหลวงสายเอเชีย หรืออยุธยา ผ่านหน้าโรงงานกระดาษบางปะอิน-ลอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกท่าน้ำบางไทร-เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
รถโดยสารประจำทาง สามารถนั่งรถโดยสารประจำทางสาย ๘๓๘ (รังสิต-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร) จาก ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ถนนพหลโยธินตั้งแต่ เวลา ๐๖.๐๐-๒๑.๐๐ น. หรือ รถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ สถานีขนส่งอยุธยา โทร. ๐ ๓๕๓๓ ๕๓๐๔ หรือ www.transport.co.th
รถไฟ สามารถขึ้นรถไฟจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมาสถานีรถไฟ อำเภอบางปะอิน มีบริการทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๖.๔๐-๒๒.๐๐ น. จากนั้น ต่อรถสองแถว ไปศูนย์ศิลปาชีพบางไทร สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๑๖๙๐ สถานีรถไฟอยุธยา โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๑๕๒๐ หรือ www.railway.co.th
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) (ศ.ศ.ป.) ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ ๕๙ หมู่ ๔ ตำบลช้างใหญ่ บนพื้นที่ ๔๕ ไร่ บริเวณภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วย ๒ อาคารหลัก คือ ศาลาพระมิ่งมงคล และอาคารตลาด
ศาลาพระมิ่งมงคล อาคารขนาดใหญ่ ๓ ชั้น ซึ่งเป็นอาคารแสดงสินค้าและนิทรรศการศิลปหัตถกรรมเพื่อการส่งออก ในพื้นที่ ๓๔,๓๔๐ ตารางเมตร บริเวณชั้น ๑ พื้นที่จัดแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ หอศิลปาชีพจัดแสดงของตกแต่ง เครื่องแต่งกาย ของขวัญหรือของชำร่วยและของใช้ในครัวเรือน ส่วนที่ ๒ จัดแสดงผลงานศิลปหัตถกรรมของศูนย์ศิลปหัตถกรรมของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ และยังมีร้านค้าที่จัดจำหน่ายสินค้าศิลปาชีพซึ่งผลิตจากฝีมือนักเรียนศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศูนย์ศิลปาชีพต่างๆ ส่วนที่ ๓ ร้านค้าจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยซึ่งมีทั้งร้านค้าจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และร้านค้าจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ส่วนที่ ๔ พื้นที่สาธิตการแสดงศิลปหัตถกรรมไทยที่หาชมได้ยาก
บริเวณชั้น ๒ และชั้น ๓ ใช้เป็นห้องประชุมและห้องเจรจาการค้า เพื่อเป็นการสร้างตลาดและกระจายสินค้าศิลปาชีพไปยังตลาดต่างประเทศอย่างกว้างขวาง รวมถึงรองรับระบบพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์
อาคารตลาด สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่จัดจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จาก ๗๖ จังหวัด เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๑๐.๐๐-๑๗.๐๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ เวลา ๐๙.๐๐- ๑๘.๐๐ น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. ๐ ๓๕๓๖ ๗๐๕๔-๙ โทรสาร ๐ ๓๕๓๖ ๗๐๕๑
สวนกล้วยไม้บางไทรการ์เด้น เป็นสวนกล้วยไม้ปลูกบนดินแห่งแรกในประเทศไทยที่จัดตกแต่งอย่างสวยงามสกุลมอคาลาและกล้วยไม้หลากหลายพันธุ์เหมือนสวนทิวลิปในประเทศฮอลแลนด์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอนการปลูกกล้วยไม้ เพื่อการท่องเที่ยวและทัศนศึกษา เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมทุกวัน โดยไม่เก็บค่าเข้าชม ตั้งอยู่ริมถนนสามโคก-เสนา ตำบลบางไทร เปิดเวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. โทร. ๐ ๓๕๓๗ ๒๔๔๓-๖ โทรสาร ๐ ๓๕๓๗ ๒๔๔๑