เทวสถานปรางค์แขก อยู่ใกล้กับนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของลพบุรี เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐมีสามองค์ แต่ไม่มีฉนวน ต่อเชื่อมกันเหมือนปรางค์สามยอด นักโบราณคดีกำหนดว่ามีอายุราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๕ เพราะมีลักษณะคล้ายกับปรางค์ ศิลปะเขมรแบบพะโค (พ.ศ. ๑๔๒๕-๑๕๓๖) เป็นปรางค์แบบเก่าซึ่งมีประตูทางเข้าแบบโค้งแหลม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้สร้างวิหารขึ้นด้านหลัง และถัง เก็บน้ำซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของปรางค์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวิหารขึ้นด้านหน้า และถังเก็บน้ำประปา ทางด้านทิศใต้ของเทวสถาน
พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่บนเนินดินทางด้านตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน ๓ องค์ มีฉนวน ทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สร้างด้วยศิลาแลง และตกแต่งลวดลายปูนปั้น ที่สวยงาม เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบ บายนปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมี เพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันสีแดง
ด้านหน้าทางทิศตะวันออกมีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิ มหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ใน องค์ปรางค์ทั้งสามปรางค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงได้ บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดเป็นวัดในพระพุทธศาสนา แล้วสร้าง พระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรป ในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป หินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่ กลางแจ้ง
เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. เว้นวันจันทร์-อังคาร อัตรา ค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๕๐ บาท หรือซื้อบัตรรวม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท โดยสามารถเข้าชมวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระที่นั่งไกรสรสีหราช พระปรางค์สามยอดและบ้านหลวง วิชาเยนทร์
ศาลพระกาฬ ตั้งอยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของขอม เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ศาลสูง” ที่ทับหลังซึ่งทำด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์ บรรทมสินธ์ุ อายุราวศตวรรษที่ ๑๖ วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน และยังได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณด้วย
ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ โดยสร้างบนฐานเดิมที่สร้าง ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระ นารายณ์ทรงยืนทำด้วยศิลา ๒ องค์ องค์เล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าใน ประเทศไทย องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรีแต่พระเศียรเดิม หายไป ภายหลังมีผู้นำเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมไว้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิง จำนวนมาก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี กล่าวกันว่า เดิมบริเวณนี้เต็มไปด้วยต้นกร่างขนาดใหญ่มีลิงอาศัยอยู่ โดยกินอาหาร และผลไม้ที่มีผู้นำมาแก้บนจนถึงปัจจุบัน
วัดนครโกษา อยู่ทางตอนเหนือของสถานีรถไฟลพบุรีใกล้กับศาลพระกาฬ มีซากโบราณสถาน คือ เจดีย์องค์ใหญ่สมัยทวาราวดี พระปรางค์สมัยลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ อยู่ด้านหน้า แต่พระพุทธรูปปูนปั้นแบบ อู่ทองบนปรางค์นั้นสร้างขึ้นภายหลัง และยังพบเทวรูปขนาดใหญ่มี ร่องรอยการดัดแปลงเป็นพระพุทธรูป ๒ องค์ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เทวสถานแห่งนี้ภายหลังสร้าง เป็นวัดขึ้นในสมัยอยุธยา ดังจะเห็นได้จากวิหารที่เหลือแต่ผนังและเสาอยู่ ทางด้านหน้า มีเจดีย์สูงก่อด้วยอิฐอยู่เบื้องหลัง คำว่า “วัดนครโกษา” มีผู้ สันนิษฐานว่าเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นผู้บูรณะจึงเรียกว่า “วัดนครโกษา” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๒๕๑๐, ๐ ๓๖๔๑ ๓๗๗๙
วัดสันเปาโล ตั้งอยู่บนถนนร่วมมิตร ทางเข้าวิทยาลัยนาฏศิลป์ลพบุรี เป็นวัดของพวกบาทหลวงเยซูอิต สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ปัจจุบันเหลือเพียงผนังด้านหนึ่งและหอดูดาว บริเวณโดยรอบมีต้นไม้ ใหญ่ร่มรื่น คำว่า “สันเปาโล” คงมาจากคำว่าเซ็นตปอลหรือเซ็นเปาโล ชาวบ้านมักเรียกว่า “ตึกสันเปาหล่อ”
วัดมณีชลขัณฑ์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตลาดท่าโพธิ์ วัดนี้แบ่งเป็นสองส่วน เพราะมีถนนตัด ตรงกลางพอดี มีโบราณสถานที่น่าสนใจ คือ พระเจดีย์รูปทรงแปลก คือก่อเป็นเหลี่ยมสูงชะลูดขึ้นไป คล้ายกับเจดีย์เหลี่ยมสมัยเชียงแสน (ล้านนา) แต่ตรงมุมมีการย่อมุมไม้สิบสอง ทำเป็นสามชั้นมีซุ้มประตูยอด แหลมอยู่ด้านข้างทั้งสี่ด้านทุกชั้น นอกจากนี้ภายในวัดยังมีต้นโพธิ์ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเพาะเมล็ดนำมาปลูกไว้
วัดตองปุ อยู่หลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ตำบลทะเลชุบศร เป็นวัดเก่าแก่ ที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง ในอดีตเคยเป็นที่ชุมนุมกองทัพไทย ในวัดตองปุนี้ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจ เช่น พระอุโบสถทรงไทยที่มีฐานโค้ง วิหารมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ หน้าต่างและประตูเป็นช่องโค้งแหลม นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ซึ่งมี ลักษณะคล้ายกับเจดีย์หลวงพ่อแสงวัดมณีชลขัณฑ์ แต่มีขนาดเล็กกว่า และมีโบราณวัตถุที่สำาคัญเหลืออยู่เพียงชิ้นเดียวในเมืองไทย คือ ที่สรงน้ำ พระโบราณ หรือที่เรียกกันว่า น้ำพุสรงน้ำพระ นอกจากนี้ยังมี หอไตร คลัง และหอระฆัง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๓๑๙๘
วัดกวิศรารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน ติดกับพระนารายณ์ราชนิเวศน์ทางด้าน ทิศใต้ จากตำนานกล่าวว่า เดิมชื่อ วัดขวิด และในประกาศเรื่องพระ นารายณ์ราชนิเวศน์ กล่าวว่าสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงโปรดพระราชทานนาม ให้เรียกว่า วัดกระวิศราราม ต่อมาได้รับปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในสมัยรัชกาล ที่ ๕ และใน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระกิตติญาณมุนี เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้ เปลี่ยนชื่อเป็น วัดกวิศราราม มีความหมายว่า วัดของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยนั้น ภายในวัดมีพระอุโบสถมีประตู ทางเข้าออกทางเดียวกัน หน้าต่างเจาะช่อง ศิลปะแบบอยุธยา มีมุขเด็จ อยู่ด้านหน้าที่รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้ต่อออกมาและขยายพัทธสีมาให้ ใหญ่กว่าเดิม พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะอู่ทอง จิตรกรรมฝาผนังเป็นลายรูปดอกไม้ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงกลมบนฐาน เหลี่ยมองค์ใหญ่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถและหมู่กุฏิซึ่งเป็นฐานในรัชกาลที่ ๔ ตลอดจนหอพระไตรปิฎกที่สวยงาม สอบรายละเอียด โทร. ๐๓๖๖๑ ๘๕๙๓, ๐๘ ๙๕๓๙ ๘๘๑๑
วัดเชิงท่า ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีทางทิศตะวันออก พื้นที่ด้านหน้าติดพระราชวัง “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” ด้านทิศตะวันตกหันหน้าสู่ แม่น้ำลพบุรี เดิมชื่อวัดท่าเกวียน เนื่องจากเป็นท่าน้ำที่มีเกวียนลำเลียง สินค้าขนส่งมาลงบริเวณนี้ ภายในวัดเชิงท่า มีอาคารสำคัญที่สร้างตั้งแต่ สมัยอยุธยาตอนปลายจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์และได้ขึ้นทะเบียน
เป็นโบราณสถาน ได้แก่ พระอุโบสถ พระเจดีย์ประธานของวัด กุฏิสงฆ์แบบ ตึกสองชั้นทรงเก๋งจีน ศาลาตรีมุข อาคารโวทานธรรมสภา หอระฆังและ ศาลาการเปรียญ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าและสวยงามแห่งหนึ่ง ภายในวัดมีสถานที่น่าสนใจคือ
พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติวัดเชิงท่าและให้ความรู้ทางพุทธศาสนา แสดงอัฐบริขารและเครื่องใช้ต่างๆ ได้แก่ ไตร จีวร บาตร ตาลปัตร ธรรมมาสน์ ตู้พระไตรปิฎก ตู้เก็บคัมภีร์ ภาพพระบฎ มหาเวสสันดรชาดกและพระพุทธเจ้าในอนาคต คือ พระศรีอริยเมตไตร เปิดให้เข้าชมทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. ๐๘ ๙๘๐๒ ๔๒๑๑, ๐ ๓๖๖๑ ๘๓๘๘
สวนสัตว์ลพบุรี ตั้งอยู่หลัง “โรงภาพยนตร์ทหารบก” ห่างจากวงเวียนสระแก้ว ไปทางทิศตะวันออก ๑ กิโลเมตร สวนสัตว์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ สมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ศูนย์สงครามพิเศษ ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ได้ ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งชมรม สโมสร พ่อค้า ประชาชน ดำเนินการ ปรับปรุงบูรณะสวนสัตว์ขึ้นใหม่ ให้เป็นที่สำหรับพักผ่อนและเป็นสถานที่ ศึกษาหาความรู้ในเรื่องสัตว์และพืช เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าผ่านประตูผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท รถยนต์ ๑๐ บาท จักรยานยนต์ ๕ บาท สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๓๕๕๑
สระแก้ว ตั้งอยู่กลางวงเวียนศรีสุริโยทัย หรือวงเวียนสระแก้ว ถนนนารายณ์มหาราช กลางสระมีสิ่งก่อสร้างรูปร่างคล้ายเทียนขนาดยักษ์ ตั้งอยู่บนพาน ขนาดใหญ่รอบขอบพานประดับเครื่องหมายกระทรวงต่างๆ มีสะพาน เชื่อมโยงถึงกันโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ ที่เชิงสะพานมีคชสีห์ในท่าหมอบตั้งอยู่ สะพานละ ๒ ตัว
วัดชีป่าสิตาราม ตั้งอยู่ริมถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร ภายในวัดมีเจดีย์ทรงระฆังศิลปะอยุธยา และเป็นที่ตั้งของชมรมสมุนไพร มีการอบสมุนไพรและนวดแผนโบราณ เปิดบริการทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๒๗๖๓, ๐ ๓๖๖๑ ๒๙๑๑
พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร) ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร ห่างจากตัวเมืองไป ๔ กิโลเมตร เป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช องค์พระที่นั่งตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเล ชุบศร ซึ่งในสมัยโบราณเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีเขื่อนหินถือปูน ล้อมรอบ สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้สร้างขึ้น ตามบันทึกของชาว ฝรั่งเศสกล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จกลับจากประพาสป่าล่า ช้างบริเวณภูเขาทางทิศตะวันออกแล้วจะเสด็จประทับเพื่อพักผ่อนพระ อิริยาบถ และจากการที่พระองค์ได้ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะจาก ประเทศฝรั่งเศส ณ พระที่นั่งองค์นี้ จึงเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่าพระที่นั่ง เย็นได้สร้างก่อนพ.ศ. ๒๒๒๘
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นพระที่นั่งชั้นเดียวก่ออิฐถือปูนมีผนังเป็น ทรงจัตุรมุข ตรงมุขหน้าเป็นมุขเด็จยื่นออกมา และมีสีหบัญชรกลางมุข สำาหรับสมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จออก ซุ้มหน้าต่างและซุ้มประตูทำเป็น ซุ้มเรือนแก้วเป็นแบบแผนที่นิยมทำกันมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ปัจจุบันเหลือเพียงผนังเท่านั้น ในบริเวณพระที่นั่งเย็นมีอาคารเล็กๆ ก่อด้วย อิฐซึ่งทำประตูหน้าต่างเป็นแบบโค้งแหลม เข้าใจว่าคงเป็นที่พักทหาร ด้าน หน้าและด้านหลังพระที่นั่งมีเกยสำหรับทรงม้าหรือช้าง
พระที่นั่งเย็นมีความสำคัญทางดาราศาสตร์ ในฐานะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ ใช้เป็นสถานที่สำรวจจันทรุปราคา เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๒๒๘ และทอดพระเนตรสุริยุปราคา เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๒๓๑ ร่วมกับ บาทหลวงเยซูอิตและบุคคลในคณะทูตชุดแรกที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศสส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี เหตุที่ได้ใช้พระที่นั่งเย็นเป็น ที่สำรวจจันทรุปราคามีบันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า เป็นที่เหมาะสม สามารถมองท้องฟ้าได้ทุกด้าน และมีพื้นที่กว้างมากพอสำหรับที่จะติดตั้ง เครื่องมือ ยังมีภาพการสำรวจจันทรุปราคาที่พระที่นั่งเย็นซึ่งชาวฝรั่งเศส วาดไว้ เป็นรูปสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสวมลอมพอก ทรงกล้องส่องยาว วางบนขาตั้งทอดพระเนตรดวงจันทร์จากสีหบัญชรของพระที่นั่งเย็น และตรงเฉลียงสองข้างสีหบัญชรด้านหนึ่งมีขุนนางหมอบกราบ อีกด้านหนึ่ง มีนักดาราศาสตร์กำลังสังเกตการณ์โดยใช้กล้องส่อง จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ พระที่นั่งเย็นแห่งนี้
ส่วนทะเลชุบศรในสมัยโบราณนั้นเป็นที่ลุ่มน้ำขัง สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใหสร้างทำนบใหญ่กั้นน้ำไว้ เพื่อนำน้ำจาก ทะเลชุบศรส่งผ่านท่อน้ำดินเผาไปยังเมืองลพบุรี ปัจจุบันยังเห็นเป็นสันดิน ปรากฏอยู่
อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๕๐ บาท หรือซื้อบัตรรวมชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท สามารถเข้าชม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระที่นั่งไกรสรสีหราช พระปรางค์สามยอดและ บ้านหลวงวิชาเยนทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานศิลปากร ที่ ๔ โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๓๗๗๙, ๐ ๓๖๔๑ ๒๕๑๐
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรี ใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรี บริเวณถนนนารายณ์มหาราชก่อน เข้าสู่ตัวเมือง เป็นรูปปั้นในท่าประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ก้าวพระบาทซ้ายมาข้างหน้าเล็กน้อย พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ปราสาททององค์สุดท้าย ซึ่งใน รัชสมัยของพระองค์นั้น วรรณคดีและศิลปะของไทยได้เจริญรุ่งเรืองเป็น อย่างมาก ทรงมีสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวาง เกียรติภูมิ ของประเทศไทยแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ ที่ฐานอนุสาวรีย์ได้จารึกข้อความว่า “สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งทรงพระราชสมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๕ สวรรคต ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑ พระองค์ทรงมีพระบรมราชกฤษดาภินิหารเป็นอย่างยิ่ง”
วัดยาง ณ รังสี และพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน ตั้งอยู่หมู่ ๒ บนตำาบลตะลุง ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรี ด้านทิศตะวันตก เดิมเรียกว่า วัดพญายางหรือวัดยาง ศรีสุธรรมาราม เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีต้นยางขนาดใหญ่ ซึ่งภายหลัง เปลี่ยนชื่อเป็น วัดยาง ณ รังสี
ส่วนพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญไม้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ศาลาหลังนี้ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศาลาวัดในชนบทของ ภาคกลางทั้งนี้ผู้สร้างจำลองแบบมาจากภาพศาลาที่อยู่ด้านหลังธนบัตรใบละ ๑ บาท ที่พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๘ และมีการบูรณะจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ นับเป็นพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านแห่งแรกของประเทศไทย
การเดินทาง ใช้เส้นทางสายลพบุรี-บางปะหัน (ถนนเลียบคลองชลประทาน) จนถึงกม.ที่ ๙ วัดจะอยู่ด้านขวามือ มีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี-บ้านแพรก ระหว่างเวลา ๐๕.๓๐-๑๗.๓๐ น. โทร. ๐ ๓๖๖๕ ๖๓๘๐
วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร (วัดเขาพระงาม) ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธิน ๑๒ กิโลเมตร อยู่ในเขตตำาบล เขาพระงาม วัดเขาพระงามนี้เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ พระอุมาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร กับพระสงฆ์อีกรูปหนึ่ง ได้ธุดงค์มาพักที่วัดนี้ และได้สร้างพระพุทธรูปขึ้น มีหน้าตักกว้าง ๑๑ วา สูงจากหน้าตักถึงยอดพระเศียร ๑๘ วา เส้นพระศกทำาด้วยไหกระเทียม เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายพระนามว่า “พระพุทธนฤมิตมัธยมพุทธกาล” ภายหลังซ่อมเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ จึงเปลี่ยนนามใหม่เป็น “พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล” (หลวงพ่อใหญ่) จนถึงทุกวันนี้ สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๓๖๔๘ ๖๒๐๑
การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑ (ลพบุรี-โคกสำาโรง) ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร จากศาลากลางจังหวัดลพบุรี เมื่อเดินทางเข้าใกล้บริเวณวัด จะเห็นพระพุทธรูปสีขาว ยืนตระหง่านอยู่บนเชิงเขา มีรถโดยสารประจำทาง สายลพบุรี-เขาพระงาม-ศูนย์การบิน ผ่านหน้าวัดระหว่างเวลา ๐๖.๐๐- ๑๗.๐๐ น. ต้นทางอยู่ที่วัดพรหมมาสตร์ หรือขึ้นรถจากข้างวังนารายณ์ได้
หอไตรวัดท่าแค อยู่ภายในวัดท่าแค เป็นหอไตรที่เก็บพระธรรมของชุมชน “ลาวหล่ม” หอไตรที่วัดท่าแคนี้ มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น คือ สร้างเป็น เรือนไม้ทรงจัตุรมุข ตั้งอยู่บนเสาสูง หลังคามุงด้วยกระเบื้องว่าวและมีหลังคารูปหอคอยอยู่กึ่งกลาง เลียนแบบหลังคาทรงปราสาท เครื่องบน และซุ้มระเบียงตกแต่งด้วยแผ่นไม้แกะสลักแบบตะวันตกดูอ่อนช้อยและโปร่งตา ส่วนบานเฟี้ยมที่ใช้กั้นผนังห้องเป็นไม้สลักลายสัญลักษณ์มงคลของจีน ผนังบางส่วนติดกระจกสี สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๓๖๔๒ ๗๐๙๔
การเดินทาง ใช้เส้นทางเลียบคลองชลประทาน (สะพาน ๖ – อำเภอบ้านหมี่)จนถึงสถานีรถไฟท่าแค เลี้ยวขวาข้ามสะพาน ๑ กิโลเมตร วัดท่าแค อยู่ทางด้านซ้ายมือ นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี- วัดท่าแค บริการระหว่างเวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น.
อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก อยู่ในเขตตำบลนิคมสร้างตนเองห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศตะวันออก ๑๔ กิโลเมตร อ่างซับเหล็กเป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติที่มีมาแต่โบราณ ในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์ฯ ทรงโปรดให้ช่างชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาเลียนเป็นผู้วาง ท่อส่งน้ำจากอ่างซับเหล็กนำมาใช้ในเขตพระราชฐาน อ่างซับเหล็กมีเนื้อที่ประมาณ ๑,๗๖๐ ไร่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้สร้างเขื่อนดินกั้นน้ำเพื่อเก็บน้ำ ไว้ใช้เพื่อการเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ จังหวัดลพบุรีได้ปรับปรุง อ่างซับเหล็กให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโดยทำถนนรอบอ่าง เก็บน้ำ ปลูกต้นไม้และสร้างศาลาพักร้อน
อ่าน สถานที่เที่ยว แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองลพบุรี ตอนที่ 2