Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

คอคอดกระ หรือกิ่วกระคอคอดกระ หรือกิ่วกระ

ศิลาสลักพระปรมาภิไธย อยู่ในเขตตำบลปากจั่น (ตรงข้ามโรงเรียนบ้าน จปร.) กิโลเมตรที่ ๕๒๕-๕๒๖ ห่างจากตัวเมืองระนอง ๘๖ กิโลเมตร หรือ ๒๖ กิโลเมตรจากอำเภอกระบุรีฝั่งขวา อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นที่ตั้งของ “หินสลักพระปรมาภิไธย จปร.” ของรัชกาลที่ ๕ ที่ได้ทรงจารึกไว้ ครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จประพาสโดยขบวนช้างและม้าจากจังหวัดชุมพร มาประทับแรมคืนที่พลับพลาดอนวังทู้หมู่ที่ ๑ ตำบลปากจั่น เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๓๓ และหินสลักพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และ สก. ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถรวมทั้งพระนามาภิไธยย่อ สธ. ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้ทรงจารึกไว้ครั้งที่เสด็จประพาสจากชุมพรโดยรถยนต์มาทรงเยี่ยมประชาชน เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๐๒ คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ อยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี กิโลเมตรที่ ๕๔๕ ของทางหลวงหมายเลข ๔ ห่างจากเทศบาลเมือง ๖๖ กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู โดยมีระยะจากฝั่งทะเลทางตะวันตกจรดตะวันออก กว้างเพียง ๔๔ กิโลเมตร มีแผ่นป้ายคอนกรีตขนาดใหญ่จำลองแผนที่แสดงจุดที่ตั้งของคอคอดกระ ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกมากแห่งหนึ่งของจังหวัดระนอง และยังรวมทั้งพระนามาภิไธยย่อ สธ. ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้ทรงจารึกไว้ครั้งที่เสด็จประพาสจากชุมพรโดยรถยนต์มาทรงเยี่ยมประชาชน เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๐๒

คอคอดกระหรือกิ่วกระ
คอคอดกระ หรือกิ่วกระ

คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ อยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี กิโลเมตรที่ ๕๔๕ ของทางหลวงหมายเลข ๔ ห่างจากเทศบาลเมือง ๖๖ กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู โดยมีระยะจากฝั่งทะเลทางตะวันตกจรดตะวันออก กว้างเพียง ๔๔ กิโลเมตร มีแผ่นป้ายคอนกรีตขนาดใหญ่จำลองแผนที่แสดงจุดที่ตั้งของคอคอดกระ ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกมากแห่งหนึ่งของจังหวัดระนอง และยังสามารถชมทิวทัศน์ของแม่น้ำกระบุรี ซึ่งแบ่งพรมแดนไทย-พม่า ได้อย่างชัดเจน คอคอดกระเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

ถ้ำพระขยางค์ เดิมชื่อ ถ้ำเขาหยั่ง อยู่ในเทือกเขาเขตตำบลลำเลียง อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี ห่างจากที่ว่าการอำเภอกระบุรี ๑๘ กิโลเมตร โดยมีทางแยกซ้ายจากถนนเพชรเกษม (ระนอง-ชุมพร) บริเวณกิโลเมตรที่ ๕๖๓-๕๖๔ เข้าไป ๑ กิโลเมตร ถ้ำพระ ขยางค์เป็นถ้ำขนาดเล็ก มีตำนานเก่าแก่ที่เกี่ยวกับพ่อตาหลวงแก้ว ผู้สร้างเมืองกระบุรี จากปากถ้ำเข้าไปประมาณ ๔๐ เมตร มีบันไดขึ้นสู่ด้านบน สามารถทะลุออกภายนอกซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อกันว่า มีการนำเอาสมุนไพรที่หายากมาปลูกไว้ การเที่ยวชมควรเตรียมเทียนไข หรือไฟฉายพกติดตัวไปด้วย บรรยากาศภายในถ้ำค่อนข้างอับชื้น มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวน มาก นอกจากนั้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีจะมีการจัดเทศกาลงานปิดทองพระบริเวณถ้ำพระขยางค์ เป็นเวลา ๓-๗ วัน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเข้าชมความสวยงามของถ้ำตลอด จนสมุนไพรต่างๆ ที่อยู่บนเขา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ หรือ www.dnp.go.th

น้ำตกชุมแสง หรือ น้ำตกสายรุ้ง อยู่ที่บ้านปากจั่น ตำบลปากจั่น ไปตามทางหลวงหมายเลข ๔ ห่างจากเทศบาลเมืองระนอง ๘๐ กิโลเมตร และห่างจากอำเภอกระบุรี (ทางไปจังหวัดชุมพร) ๑๖ กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๕๒๙-๕๓๐ (ด้านตรงข้ามกับทางเข้าสู่นิคมสร้างตนเอง บ้านปากจั่น) จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก ๓ กิโลเมตร จะถึงบริเวณน้ำตกชุมแสง จะมีน้ำไหลเฉพาะในฤดูฝน น้ำจะไหลกระแทกกับโขดหินแล้วกระจายออกเป็นสายดูคล้ายสายรุ้ง จึงทำให้ชาวบ้านมักจะเรียกน้ำตก แห่งนี้ว่า “น้ำตกสายรุ้ง

น้ำตกบกกราย ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลน้ำจืด ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข ๔ (ระนอง-ชุมพร) ประมาณ ๕๔ กิโลเมตร กิโลเมตรที่ ๕๕๖-๕๕๗ จะมีป้ายชี้ทางไปน้ำตกบกกราย ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร สภาพถนนไม่สามารถใช้ได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และจากบริเวณสุดทางของถนนต้องเดินเท้าต่อ ผ่านพื้นที่ทำไร่และป่าชื้น ระยะทางประมาณ ๒๐๐ เมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตก น้ำตกบกกรายเป็นน้ำตกขนาด ใหญ่ มีน้ำไหลตลอดปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *