วัดปงยางคก มีวิหารพระแม่เจ้าจามเทวีซึ่งเป็นวิหารไม้เก่าแก่ภายในประดิษฐานมณฑปปราสาทเก่าที่มีตำานานสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี เมื่อ พ.ศ. ๑๒๕๓
การเดินทาง ใช้ถนนสายห้างฉัตร-เกาะคา ประมาณ ๕ กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปประมาณ ๑๐๐ เมตร
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย และ สวนป่าทุ่งเกวียน อยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ ออป.ได้จัดสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างให้เชื่อฟังคำาสั่งและมีความชำานาญในการทำาไม้ ที่บ้านปางหละ อำเภองาว แต่เนื่องจากมีนโยบายปิดป่าทำาให้ช้างว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกเปลี่ยนมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ออป. ได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขึ้น และจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ได้แก่ การแสดงช้างซึ่งมี ๒ รอบในวันธรรมดา เวลา ๑๐.๐๐ น. และ ๑๑.๐๐ น. สำาหรับวันเสาร์, อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เพิ่มรอบ ๑๓.๓๐ น. มีการอาบน้ำาช้างก่อนเวลาแสดง คือ ๐๙.๔๕ น. สำาหรับวันธรรมดา และเวลา ๑๓.๑๕ น. ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ ๕๐ บาท เด็ก ๒๐ บาท ส่วนช้างแท็กซี่ หรือขี่ช้างชมธรรมชาติ ขี่ช้างท่องไพร มีทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๕.๓๐ น. นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการได้หลายเส้นทาง สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๕๔๒๔ ๗๘๗๑, ๐ ๕๔๒๔ ๗๙๗๙, ๐ ๕๔๒๒ ๘๑๐๘
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Awards) ประเภทรางวัลดีเด่นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑ ปัจจุบันศูนย์ฯ มีโครงการโรงเรียนฝึกควาญช้างเพื่อฝึกควาญหรือผู้ที่ประสงค์จะเป็นควาญให้สามารถดูแลช้างได้อย่างถูกต้อง มีชาวต่างชาติ ให้ความสนใจมาสมัครเป็นนักเรียนหลายคน และมีกิจกรรมโฮมสเตย์
ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติเรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพัน ระหว่างช้างกับคนเลี้ยงช้างอย่างใกล้ชิด มีการจัดแพ็กเกจ ๓ วัน ๒ คืน คนละ ๘,๐๐๐ บาท ๒ วัน ๑ คืน ราคา ๕,๕๐๐ บาท โดยรวมค่าอาหาร (ประกอบอาหารเองได้) บ้านพักโฮมสเตย์มีทั้งหมด ๓ หลัง และ ผู้ประสงค์ บริจาคเงินช่วยเหลือช้างไทยติดต่อได้ที่สถาบันคชบาลแห่งชาติ โทร. ๐ ๕๔๒๒ ๘๑๐๘ www.thailandelephant.org
นอกจากเรื่องท่องเที่ยวแล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ พลังงานที่ใช้ภายในศูนย์ฯ เป็นพลังงานทดแทนในโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ มีก๊าซชีวภาพจากมูลช้าง ใช้ในการหุงต้ม และกระแสไฟฟ้าผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์
สวนป่าทุ่งเกวียน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวลำาปาง มีป่าสนเมืองหนาวและพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งไม้ดอก ไม้ใบที่มีสีสันสวยงาม อีกทั้งไม้ จำพวกตะบองเพชร ปาล์ม ตลอดจนพืชสมุนไพรต่างๆ นักท่องเที่ยวสามารถ แคมปิงที่นี่ได้ ช่วงที่สวยที่สุดเหมาะแก่การพักแรมคือเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกบัวตองกำาลังบาน เนื่องจากจังหวัดลำาปางมีพื้นที่เป็นแอ่งกระทะจึงมีอากาศที่ร้อนกว่าแม่ฮ่องสอน ดอกบัวตองที่ลำาปางจึงบานเร็วกว่า ที่ดอยแม่อูคอประมาณ ๑๕ วัน ประมาณเดือนตุลาคมมีการจัดกิจกรรมทุ่งเกวียนเมาเท่นไบค์ สอบถามรายละเอียด โทร. ๐๘ ๑๘๘๕ ๓๖๙๗
ภายในบริเวณสวนป่าทุ่งเกวียนยังมี สวนสัตว์เปิด นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับสัตว์อย่างใกล้ชิด เช่น เก้ง กวาง เนื้อทราย นกยูง เป็นต้น และทางสวนป่าทุ่งเกวียนยังมีพันธุ์ไม้ที่หายากไว้จำาหน่ายแก่นักท่องเที่ยวด้วยการเดินทาง ห่างจากตัวเมืองลำาปาง ๒๔ กิโลเมตร ริมทางหลวงหมายเลข ๑๑ สายลำาปาง-ลำาพูน บริเวณกิโลเมตรที่ ๒๘-๒๙ หากโดยสารรถประจำาทาง ขึ้นรถที่จะไปเชียงใหม่จากสถานีขนส่งลำาปาง มาลงหน้าศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล เป็นเทือกเขากั้นเขตแดนระหว่างอำาเภอแม่ทา จังหวัดลำาพูนและอำาเภอห้างฉัตร จังหวัดลำาปาง และอยู่กึ่งกลางเส้นทางคมนาคมทางรถไฟ ระหว่างลำาปาง-ลำาพูน ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๑๕๙,๕๕๖ ไร่ ดอยขุนตาล ประกอบด้วยป่าดงดิบ และป่าสน มี ๔ ยอดเขา จากเชิงดอยถึงยอดสูงสุด ต้องเดินเท้าประมาณ ๗ กิโลเมตร สภาพป่าของดอยขุนตาล แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ตามระดับความสูงของ พื้นที่เหนือระดับน้ำาทะเล
๑ ที่ความสูงระดับต่ำา (๓๒๕-๘๕๐ เมตร) แต่เดิมบริเวณนี้เป็นป่าสักปัจจุบัน
เป็นป่าเสื่อมโทรมที่มีไผ่ผสมกับไม้ผลัดใบ
๒ ที่ความสูงระดับปานกลาง (๘๕๐-๑,๐๐๐ เมตร) เป็นบริเวณที่ต่อเนื่อง ระหว่างป่าผลัดใบระดับต่ำากับป่าดิบสน เกิดเป็นป่าที่ผสมระหว่างป่าดิบ กับป่าผลัดใบ โดยพบทั้งสนสองใบ และสนสามใบ
๓ ที่ความสูงระดับยอดเขา (๑,๐๐๐-๑,๓๗๓ เมตร) ป่าบริเวณนี้ส่วนใหญ่ ประกอบด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นส่วนใหญ่ และมีสนสามใบปะปนด้วย สถานที่ท่องเที่ยวและที่พักบริเวณดอยขุนตาลอุโมงค์ขุนตาล มีวิศวกรช่างเยอรมันมาสำารวจการเจาะอุโมงค์ซึ่งเป็นหินแกรนิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ นับเป็นการเปิดเส้นทางคมนาคมสู่ภาคเหนือที่สำาคัญครั้งหนึ่งของไทย ทีเดียว อย่างไรก็ตามการเจาะอุโมงค์นี้เป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่งจน
เกิดอุบัติเหตุทำาให้เสียชีวิตบ่อยครั้ง คนงานที่มาเป็นกรรมกรรับจ้างขุดเจาะอุโมงค์ส่วนมากเป็นชาวอีสานและคนพื้นเมือง
อุโมงค์นี้ขุดทะลุภูเขาบริเวณใจกลางอุทยานฯ ระหว่างจังหวัดลำาปางและลำาพูน เป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวทั้งสิ้น ๑,๓๕๒ เมตร รถไฟใช้เวลาวิ่งผ่านอุโมงค์นี้เป็นเวลากว่า ๕ นาที ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๐ ถัดจากอุโมงค์รถไฟไปทางที่ทำาการอุทยานฯ ราว ๑,๐๐๐ เมตร มีพลับพลารัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งเสด็จฯ มาดอยขุนตาล
ย.๑ ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำาการอุทยานฯ ราว ๑,๑๐๐ เมตร ในอดีต “ย” ย่อมาจากจุดยุทธศาสตร์ และเรียกกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยสร้างบ้านพัก ย.๑ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ เคยเป็นที่ประทับพักแรมของกรมพระกำาแพงเพชรอัครโยธิน ครั้งเสด็จมาเป็นแม่งานในการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาล ปัจจุบันมีบ้านพักของการรถไฟเปิดให้บริการ ๓ หลัง ติดต่อจองได้ที่แผนกท่องเที่ยว สถานีรถไฟหัวลำาโพง ในเวลาราชการ โทร. ๐ ๒๒๒๕ ๖๙๖๔
ย.๒ ตั้งอยู่ห่างจาก ย. ๑ ประมาณ ๘๐๐ เมตร พื้นที่บริเวณนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ทหารไทย หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีซื้อพื้นที่ดังกล่าวสร้างบ้านพัก ทำาสวนลิ้นจี่และต้นไม้เมืองหนาว เช่น ลูกแพร์ ลูกพลับ และทุ่งสน บริเวณ ย. ๒ มีเรือนพักรับรอง ๖ หลัง ผู้สนใจติดต่อจองบ้านพักได้ที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐, ๐ ๕๓๕๑ ๘๙๐๑, ๐ ๕๓๕๑ ๘๗๖๒, ๐๘ ๑๐๓๒ ๖๓๔๑ www.dnp.go.th
ย.๓ อยู่ถัดจาก ย. ๒ ขึ้นไปประมาณ ๓,๖๐๐ เมตร หลังจากสร้างทางรถไฟเสร็จเรียบร้อยแล้วคณะมิชชั่นนารีอเมริกันคริสตจักร ได้มาสร้างบ้านพักในบริเวณนี้และมาพักผ่อนทุกเดือนเมษายนของทุกปี ลักษณะที่พักเป็นบ้านไม้หลังใหญ่ มีทั้งหมด ๘ หลัง พร้อมด้วยอุปกรณ์ทำาครัว เนื่องจากไม่มีร้านอาหารบริการ ต้องนำาอาหารขึ้นไปเอง ปัจจุบันบ้านพักดังกล่าวอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยพายัพ ติดต่อจองได้ที่ คณะกรรมการขุนตาล วิทยาลัยภาคพายัพ โทร. ๐ ๕๓๒๔ ๑๒๕๕ ต่อ ๒๓๑-๒, ๐ ๕๓๘๕ ๑๔๗๕ ในวันและเวลาราชการ นอกจากนี้บริเวณ ย.๓ ยังมีน้ำตกตาดเหมยทีสามารถเดินไปเที่ยวได้จากบ้านพัก
ย.๔ อยู่ถัดจาก ย.๓ ขึ้นไปอีก ๑,๕๐๐ เมตร เป็นยอดสูงที่สุดของดอยแห่งนี้ แม้ระยะจะไม่ไกลกันนักแต่เป็นช่วงที่ชันมาก จุด ย.๔ นี้เป็นที่ส่องกล้องซึ่งเรียกว่าม่อนส่องกล้อง จากยอดดอยสามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ เป็นมุมกว้าง ส่วนมากมักนิยมไปเฝ้าชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าซึ่งมีความสวยงามน่าประทับใจ
การเดินทาง
-รถไฟ เป็นทางที่สะดวกที่สุด ลงที่สถานีรถไฟขุนตาลแล้วเดินเท้าขึ้นที่ทำาการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ ๑.๓ กิโลเมตร
-รถยนต์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ แล้ว แยกเข้าสู่อุทยานฯ ดอยขุนตาลระหว่างกิโลเมตรที่ ๔๖-๔๗ ซึ่งเป็นถนนลาดยางระยะทาง ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ต่อจากนั้นเป็นถนนลูกรังอีกประมาณ ๘ กิโลเมตร บางช่วงชันมากควรใช้รถสภาพดี รถบัสไม่สามารถขึ้นได้