อุทยานศรีเวียง ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าพัฒนา เป็นสวนสาธารณะริมเส้นทางระหว่างทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง มีพื้นที่ ๒๕ ไร่ ฉากหลังเป็นเทือกเขาภูเวียง บริเวณภายในจัดทำเป็นสวนพักผ่อน สวนสุขภาพ มีโขดหิน น้ำาตก บ่อน้ำ สวนหย่อม สนามนั่งเล่น ไดโนเสาร์จำลอง เรียงรายทั่วบริเวณนับร้อยตัว บางตัวสามารถร้องได้ เคลื่อนไหวได้ คล้ายของจริง เป็น ไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบฟอสซิลในภาคอีสาน
การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง โดยเดินทางจากขอนแก่นถึงอำเภอภูเวียง ระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร และเดินทางจากตัวอำเภอต่อไปอีก ๗ กิโลเมตร อุทยานศรีเวียงจะอยู่ด้านซ้ายมือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ อุทยานแห่งชาติภูเวียง โทร. ๐ ๔๓๓๕ ๘๐๗๓
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จังหวัดขอนแก่นและกรมทรัพยากรธรณี เพื่อศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ด้านทรัพยากรธรณีแก่สาธารณชน อาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนบริการ ส่วนวิชาการ และส่วนนิทรรศการ โดยในห้องจัดแสดง นิทรรศการ แบ่งพื้นที่แสดงเป็นการกำเนิดโลก หิน แร่ ซากดึกดำบรรพ์ และหุ่นจำลองไดโนเสาร์ เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์ศึกษาวิจัย ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง โทร. ๐ ๔๓๔๓ ๘๒๐๔-๖ (มีห้องน้ำ และทางสำาหรับคนพิการ)
อุทยานแห่งชาติภูเวียง ครอบคลุมอำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู อำเภอชุมแพและอำเภอเวียงเก่า มีพื้นที่ ๓๘๐ ตารางกิโลเมตร ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าบริเวณที่ราบสูงที่อยู่ในเขตประเทศไทยนั้นจะเคยเป็นที่อยู่ของไดโนเสาร์มาก่อน จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างการสำรวจนักธรณีวิทยาได้ค้นพบซากกระดูกชิ้นหนึ่ง เมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสวิจัย ปรากฏว่าเป็นกระดูกหัวเข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์ จากนั้นนักสำรวจก็ได้ขุดค้นกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
บนยอดภูประตูตีหมา หลุมขุดค้นที่ ๑ ได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่ง (Sauropod) มีลำตัวสูงใหญ่ประมาณ ๑๕ เมตร คอยาว หางยาว เป็นพันธุ์กินพืชซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน จึงได้อัญเชิญพระนาม ของสมเด็จพระเทพฯ มาตั้งชื่อไดโนเสาร์พันธุ์นี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติว่า “ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่” (Phuwianggosaurus Sirindhornae) และในบริเวณหลุมขุดค้นเดียวกัน นักสำรวจได้พบฟันของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อปะปนอยู่มากกว่า ๑๐ ซี่ ทำาให้สันนิษฐาน ได้ว่าซอโรพอดตัวนั้นอาจเป็นอาหารของเจ้าของฟันเหล่านี้ แต่ใน กลุ่มฟันที่ขุดพบมีอยู่หนึ่งซี่ที่มีลักษณะแตกต่างออกไป เมื่อนำไปศึกษา ปรากฏว่าเป็นลักษณะฟันไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยค้นพบมาก่อน เช่นกัน จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ นายวราวุธ สุธีธร ว่า “ไซแอม โมซอรัส สุธีธรนี่” (Siamosaurus Suteethorni) ผู้สนใจสามารถเดินไปชมได้ หลุมขุดค้นที่ ๑ นั้นอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยาน และยังสามารถเดินไปชมหลุมขุดค้นที่ ๒ และ ๓ ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย ฟอสซิลของ “ไซแอมโมไทรันนัส อีสานเอ็นซิส” (Siamotyrannus Isanensis) เป็นสิ่งที่ชี้ว่าไดโนเสาร์จำพวกไทรันโนซอร์มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพราะฟอสซิลที่พบที่นี่เป็นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด (๑๒๐-๑๓๐ ล้านปี) แต่กระดูกชิ้นนี้ได้นำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ใน กรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพมหานคร บริเวณหินลาดป่าชาด หลุมขุดค้นที่ ๘ พบรอยเท้า ไดโนเสาร์จำนวน ๖๘ รอย อายุประมาณ ๑๔๐ ล้านปี เกือบทั้งหมดเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์เล็กที่สุดในโลกเดิน ๒ เท้า แต่หนึ่งในรอยเท้าเหล่านั้นมีขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของคาร์โนซอรัส การไปชมควรเดินทางด้วยรถขับเคลื่อน ๔ ล้อ ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ห่างจากที่ทำาการ ๑๙ กิโลเมตร ส่วนฟอสซิลดึกดำบรรพ์อื่นๆ ที่ขุดพบ เช่น ซากลูกไดโนเสาร์ ซากจระเข้ขนาดเล็ก ซากหอย ๑๕๐ ล้านปี จะอยู่กระจัดกระจายกันตามหลุมต่างๆ ความน่าสนใจของที่นี่ไม่ได้มีแต่เพียงไดโนเสาร์เท่านั้น ยังมีการพบร่องรอยอารยธรรมโบราณด้วย โดยพบ “พระพุทธรูปปางไสยาสน์”ประติมากรรมนูนสูงสลักบนหน้าผาของยอดเขาภูเวียง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ลักษณะท่านอนได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระเศียรหนุนแนบกับต้นแขนขวา แขนซ้ายทอดไปตามลำพระองค์ นอกจากนี้ “ถ้ำฝ่ามือแดง” ที่บ้านหินร่องมีงานศิลปะของมนุษย์ถ้ำโบราณ ลักษณะของภาพเกิดจากการพ่นสีแดงลงไปในขณะที่มือทาบกับผนังถ้ำก่อให้เกิดเป็นรูปฝ่ามือขึ้น ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในบริเวณอุทยานฯ จะมีน้ำตก อยู่สองสามแห่ง “น้ำาตกทับพญาเสือ” เป็นน้ำตกเล็กๆ ตั้งอยู่ ใกล้กับถ้ำฝ่ามือแดง “น้ำาตกตาดฟ้า” เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕ เมตรสามารถเข้าถึงได้ทางรถยนต์ อยู่ห่างจากอำเภอภูเวียง ๑๘ กิโลเมตรและขึ้นเขาไปอีก ๖ กิโลเมตร ตรงต่อไป จากน้ำตกตาดฟ้าอีก ๕ กิโลเมตร จะถึง “น้ำตกตาดกลาง” สูงประมาณ ๘ กิโลเมตร นอกจากน้ำตกก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภททุ่งหญ้าและลานหิน ซึ่งจะมีดอกไม้ป่านานาพันธุ์บานในช่วงหลังฤดูฝน ได้แก่ “ทุ่งใหญ่เสาอาราม” “หินลาดวัวถ้ำกวาง” และ “หินลาดอ่างกบ”
การเดินทาง จากตัวเมืองขอนแก่นใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข ๑๒) เป็นระยะทาง ๔๘ กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๘ เป็นระยะทาง ๑๘ กิโลเมตร ถึงอำเภอภูเวียง แล้วใช้เส้นทางภูเวียง-บ้านเมืองใหม่ ไปจนถึงกิโลเมตรที่ ๒๓ จะเป็นบริเวณที่เรียกว่า “ปากช่องภูเวียง” ซึ่งมีหน่วยพิทักษ์อุทยาน แห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่ เดินทางต่อไปจนถึงกิโลเมตรที่ ๓๐ เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าอ่างเก็บน้ำบ้านโพธิ์ เป็นระยะทาง ๘ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเวียงที่ “ภูประตูตีหมา” ภายในอาคารมีการ จัดแสดงนิทรรศการและซากกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์ที่ขุดพบบริเวณภูเวียง โดยมีคำอธิบายลักษณะและการเกิดซากต่างๆ เหล่านี้ หากประสงค์จะเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการเจ้าหน้าที่นำชม ติดต่อได้ที่สำานักงานอุทยานฯ บริเวณภูประตูตีหมา โทร. ๐ ๔๓๓๕ ๘๐๗๓