Tamdoo.com

ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว บันเทิง

ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ น้ำตก อำเภอวังเจ้า ตาก
ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ น้ำตก อำเภอวังเจ้า ตาก

ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ น้ำตก อำเภอวังเจ้า ตาก

สถานีทดลองหม่อนไหม ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข ๑ สายตาก-กำแพงเพชร หลักกิโลเมตรที่ ๓๙๖ ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๓๐ กิโลเมตรมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นจำนวนมาก และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากต้นหม่อน เช่น ชาใบหม่อน (ชาเขียว ชาจีน) ยำใบหม่อนปลากระป๋องนํ้าผลไม้จากลูกหม่อน และไวน์หม่อน เปิดเฉพาะวันเวลาราชการ โทร. ๐ ๕๕๕๙ ๓๐๑๕

ตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ริมทางหลวงหมายเลข ๑ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๓๙๘ ตรงข้ามสถานีทดลองหม่อนไหมตาก อำเภอวังเจ้าเป็นย่านการค้าเฟอร์เจอร์ไม้สัก เช่น ตู้ เตียง ประตูหน้าต่าง และของตกแต่งบ้านมีให้เลือกซื้อมากนาย

สถานที่ท่องเที่ยวบนทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ สายตากแม่สอด

อุทยานแห่งชาติลานสาง บ้านลานสาง ตำบลแม่ท้อ ห่างจากตัวจังหวัดตาก ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๖๕,๐๐๐ ไร่ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนติดต่อกันเกือบตลอดพื้นที่ ส่วนที่สูงที่สุดอยู่ด้านทิศตะวันตกทิศใต้ แล้วลาดตํ่าลงมาทางทิศตะวันออก มีลำธารไหลผ่านหลายสายเช่น ลำห้วยลานสาง ห้วยท่าเล่ย์ คลองห้วยทราย ห้วยอุมยอม ป่าในเขตอุทยานฯ มีทั้งป่าดงดิบ ป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ สลับกันไปตามลักษณะภูมิประเทศ สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ หมูป่า เก้ง เต่าปูลู เลียงผา ชะมด นกปรอดเหลืองหัวจุก จิ้งก่าบิน เป็นต้น (อุทยานแห่งชาติลานสาง ไม่มีถังขยะให้นักท่องเที่ยวทิ้ง เนื่องจากอุทยานฯ รณรงค์ เรื่องการรักษาความสะอาด โดยเจ้าหน้าที่จะแจกถุงดำให้กับนักท่องเที่ยวทุกคณะที่เข้าไปท่องเที่ยว และขอความร่วมมือให้นำกลับไปให้เจ้าหน้าที่ที่ด่านเก็บเงิน เพื่ออุทยานฯ จะได้รวบรวมนำไปทิ้ง)

ตามตำนานเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ ๒ ได้ทรงหยุดพักพลที่บ้านระแหง แขวงเมืองตาก มีชาวมอญเข้ามาสวามิภักดิ์ด้วยเป็นจำนวนมาก ทหารพม่าจึงติดตามเข้ามา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จยกทัพไปขับไล่ และพลัดหลงกับกองทัพ ประจวบกับเป็นเวลากลางคืน และสภาพพื้นที่เป็นป่าเขารกทึบยากแก่การ ติดตาม กองทัพไทยจึงหยุดพัก ขณะที่พักกันอยูนั่้นไดเ้กิดมีแสงสว่างพุ่ง ขึ้นสู่ท้องฟ้า และได้ยินเสียงม้าศึกร้อง จึงรีบพากันไปยังจุดนั้น ก็พบสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประทับม้าอยู่กลางลานหิน มีแสงสว่างออกมาจากพระวรกาย มีทหารพม่าคุกเข่าหมอบอยู่โดยรอบ ขณะนั้นเป็นเวลาฟ้าสางพอดีจึงเรียกบริเวณนั้นว่า ลานสางสถานที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประทับม้ายังคงมีอยู่ในปัจจุบัน คือ บริเวณนํ้าตกลานสาง และที่บริเวณลานหินจะมีรอยเกือกม้าของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอยู่ด้วย

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ

นํ้าตกผาลาด เป็นนํ้าตกที่มีลักษณะเป็นเนินหิน ไหลลดหลั่นลงมาสลับซับซ้อนกันเป็นลานหินกว้าง มีความลาดชันเล็กน้อย มีความกว้าง ๒๕เมตร ยาว ๔๐ เมตร กระแสนํ้าของลำห้วยลานสางที่ไหลบ่าไปตามแผ่นหินรวมตัวไหลลงสู่แอ่งเล็กๆ

นํ้าตกลานเลี้ยงม้า (ชั้นที่ ๑) อยู่ตอนต้นของลำห้วยลานสาง ถัดขึ้นไปจากนํ้าตกผาลาด ๒๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นเนินหินเตี้ยๆ ตรงกลางเว้าเป็นช่องว่าง กว้างประมาณ ๖ เมตร กระแสนํ้าที่ไหลมาตามลำห้วยลานสาง เมื่อไหลมาถึงเนินหินเตี้ยๆ นํ้าจะไหลเข้ามาตามช่องหินสู่พื้นนํ้าเบื้องล่าง นํ้าตกชั้นนี้มีความสูงประมาณ ๕ เมตร

นํ้าตกลานสาง (ชั้นที่ ๒) อยู่ตอนต้นของห้วยลานสาง ถัดขึ้นไปจากนํ้าตกลานเลี้ยงม้าประมาณ ๒ กิโลเมตร ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ๒๐๐ เมตร เป็นนํ้าตกชั้นที่มีผู้นิยมไปมากที่สุด มีความสูงประมาณ ๔๐ เมตร นํ้าตกจะไหลพุ่งออกมาจากซอกเขา แล้วไหลลดหลั่นลงมา ๓ ชั้น รวมตัวลงสู่แอ่งนํ้า และไหลลงสู่นํ้าตกลานเลี้ยงม้า

น้ำตกผาผึ้ง (ชั้นที่ ) อยูสู่งขึ้นไปตามซอกเขา ห่างจากน้ำตกลานสาง ๗๕๐ เมตร เป็นนํ้าตกที่ตั้งอยู่ใจกลางหุบเขา มีลักษณะเป็นหน้าผาเรียบ มีความลาดชันประมาณ ๗๐ องศา สูง ๓๐ เมตร ลำห้วยลานสางเมื่อไหลมาถึงหน้าผานํ้าจะไหลบ่าแผ่กระจายเป็นฝอยละอองลาดไปตามหน้าผาลดหลั่นลงมาตามชั้นหินเล็กๆ เป็นบริเวณกว้างไหลลงสู่แอ่งนํ้าเบื่องล่าง

นํ้าตกผาเท อยู่สูงขึ้นไปตามลำห้วย ห่างจากนํ้าตกผาผึ้ง ๑.๒ กิโลเมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ผ่านลำห้วยลานสาง ป่าเต็งรังป่าเบญจพรรณ ที่มีสภาพป่า และชนิดของพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกัน นํ้าตกผาเท เป็นนํ้าตกชั้นเดียวที่มีลักษณะเป็นหน้าผามีความชัน สูง ๒๕ เมตรเมื่อนํ้าจากลำห้วยลานสางไหลลงมาตามซอกเขาด้วยความเร็ว เมื่อถึงหน้าผาซึ่งเป็นท้องนํ้าตกที่มีการลดระดับตํ่าลงอย่างรวดเร็ว นํ้าจะพุ่งพ้นหน้าผาเป็นสายลงสู่แอ่งนํ้าเบื้องล่างด้วยความแรงจนนํ้ากระจายเป็นฝอยทำให้เกิดเสียงดังครืนๆ ได้ยินแต่ไกล

นํ้าตกผาน้อย เป็นนํ้าตกที่ไหลผ่านช่องเขาที่มีความแคบลัดเลาะไปตามซอกหิน ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆลงสู่แอ่งนํ้าที่กว้าง และมีความลึกมาก

นํ้าตกท่าเล่ เป็นนํ้าตกที่มีลักษณะลาดชันไหลลดหลั่นลงมาจากหน้าผามีความสูง ๕๐ เมตร ท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์

จุดชมวิว อุทยานฯ มีจุดชมวิวอยูบ่ นยอดเขานอ้ ยสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์และทัศนียภาพที่สวยงามของเมืองตากได้ โดยมีทางขึ้นบริเวณศาลเจ้าพ่อข้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย เด็ก ๒๐ บาท ผู้ใหญ่ ๔๐ บาท ชาวต่างชาติ เด็ก ๒๐๐ บาท ผู้ใหญ่ ๔๐๐ บาท รถยนต์ ๔ ล้อ ราคา ๓๐ บาท (ไม่รวมคนขับ)

อุทยานแห่งชาติลานสาง ตู้ ปณ. ๘ ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ๖๓๐๐๐ โทร. ๐๘ ๔๐๔๘ ๙๙๗๗, หรือกรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ www.dnp.go.th บ้านพักจำนวน ๑๐ หลัง ราคา ๔๐๐-๒,๕๐๐ บาท ค่ายพักแรม ๒ หลัง พักได้หลังละ ๓๒ คน ราคาหลังละ ๔,๐๐๐ บาท ค่าเช่าเต็นท์พัก ๓ คน พร้อมเครื่องนอนราคา ๓๐๕ บาท/คืน ค่าเช่าเต็นท์พัก ๖ คน พร้อมเครื่องนอนราคา ๖๐๐ บาท/คืน ค่าเช่าพื้นที่กางเต็นท์ราคา ๓๐/คน/คืน

การเดินทาง จากตัวเมืองตากใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ สายตาก-แม่สอด ห่างจากตัวเมือง ๑๙ กิโลเมตร ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๑๒-๑๓ เลี้ยวซ้ายไป ๓ กิโลเมตร จะถึงบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หรือเดิน ทางโดยรถประจำทาง สามารถนั่งรถสายกรุงเทพฯ-ตาก มาลงที่สถานีขนส่งในอำเภอเมืองตาก แลว้ ตอ่ รถตูส้ ายตาก-แมส่ อด ลงที่ปากทางเข้า อุทยานฯ และเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ ๓ กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๔๓๐ กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตป่าแม่ท้อ ตำบลแม่ท้อ ตำบลพะวอ อำเภอเมืองตาก และป่าแม่ละเมา อำเภอแม่สอด มีเนื้อที่ ๑๖๕,๒๕๐ ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๔ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ เป็นอุทยานฯ ที่มีสภาพป่าหลากหลายชนิด เช่น ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ สภาพอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ ๒๐ องศาเซลเซียส ฝนตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ส่วนฤดูหนาวคือเดือนพฤศจิกายนถึง เดือนมกราคม อุณหภูมิประมาณ ๖ องศาเซลเซียส พื้นที่ป่าแห่งนี้ในอดีตเคยใช้เป็นเส้นทางเดินทัพของไทย และพม่า ในพ.ศ. ๒๓๐๕ พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างยกทัพกลับทรงประชวร และสิ้นพระชนม์ในป่านี้

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ

ต้นกระบากใหญ่ เป็นต้นไม้ที่ขึ้นในบริเวณหุบเขาของป่าดงดิบ เปน็ พันธุ์ไม้เนื้ออ่อนมีลักษณะลำต้นตรงเปลา (คือ ลำต้นสูงชะลูดไม่มีกิ่งที่ลำต้น) เรือนยอดเป็นพุ่มกลมเปลือกสีนํ้าตาลปนเทา มีอายุประมาณ ๗๐๐ ปี มีขนาดวัดโดยรอบได้ ๑๖.๑๐ เมตร หรือราว ๑๒ คนโอบ สูง ๕๐ เมตร เป็นต้นกระบากที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผู้ค้นพบคือ นายสวาท ณ น่าน ช่างระดับ ๒ สถานีโทรคมนาคม จังหวัดตาก เส้นทางเดินเท้าไปชมต้นกระบากใหญ่ทางอุทยานฯ ได้จัดทำเป็น เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมระบบนิเวศของป่า ผู้ที่ประสงค์จะเดินลงไปชมต้นกระบากใหญ่ควรมีความพร้อมทางร่างกาย เพราะทางเดินค่อนข้างลาดชัน ต้นกระบากใหญ่อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร ต้องเดินลงเขาไปตามเส้นทางประมาณ ๔๐๐ เมตร

สะพานหินธรรมชาติ มีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่เชื่อมหน้าผาสองแห่งเข้าด้วยกัน มีความกว้าง และความสูงประมาณ ๒๕ เมตร เบื้องล่างมีลำธารนํ้าไหลผ่าน ถัดออกไปประมาณ ๕๐ เมตร มีถํ้าที่มีหินงอกหินย้อยการเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ ไปจนถึงกิโลเมตรที่ ๓๕ แล้วแยกเข้าศูนย์เพาะชำกล้าไม้ตาก และตรงไปประมาณ ๖ กิโลเมตร จากนั้นเดิน

เท้าต่อไปอีก ๒ กิโลเมตร ถึงสะพานหินธรรมชาติ

นํ้าตกปางอ้าน้อย เป็นนํ้าตกขนาดกลางมีนํ้าไหลตลอดทั้งปี สูงประมาณ ๒๐ เมตร อยู่ห่างจากต้นกระบากใหญ่ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑ กิโลเมตร

ถํ้าธารลอดผาขาวผาแดง อยู่ห่างจากที่ทำการ ๓๕ กิโลเมตร มีนํ้าตกที่เกิดจากลำห้วยผาขาว-ผาแดง มีความสูง ๓๐ เมตร มีถํ้าธารนํ้าลอดเกิดจากลำห้วยผาแดง ซึ่งไหลลัดเลาะลงถํ้าด้านล่าง ภายในถํ้ามีหินงอก หินย้อยสวยงาม

นํ้าตกแม่ย่าป้า เป็นนํ้าตกขนาดกลางเกิดจากลำห้วยแม่ย่าป้า อยู่ในป่าทึบ มีนํ้าไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นตามร่องห้วย แล้วไหลลงสู่ลำห้วยแม่ท้อ

การเดินทาง ไปนํ้าตกแม่ย่าป้านั้นยังไม่สะดวกนัก นักท่องเที่ยวที่ประสงค์ จะเดินป่าควรติดต่อขอคนนำทางกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ก่อน

นํ้าตกสามหมื่นทุ่ง เป็นนํ้าตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำห้วยสามหมื่นหลวงมีความสูง ๓๐ เมตร มีนํ้าไหลตลอดทั้งปี

อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย เด็ก ราคา ๒๐ บาท ผู้ใหญ่ ราคา ๔๐ บาท ชาวต่างชาติ เด็ก ราคา ๒๐๐ บาท ผู้ใหญ่ ราคา ๔๐๐ บาท รถยนต์ ๔ ล้อ ราคา ๓๐ บาท (ไม่รวมคนขับ)

สถานที่พัก อุทยานฯ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน ๘ หลัง ราคาหลังละ ๕๐๐- ๑,๕๐๐ บาท มีเรือนนอน พักได้ ๖๐ คน ราคา ๒,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ยังมีค่ายพักแรมที่เล่นแคมป์ไฟได้ และนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง เสียค่ากางเต็นท์ ๑๐๐ บาท/คน/คืน และอุทยานฯ มีร้านอาหารบริการแต่ต้องติดต่อล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ หัวหน้าอุทยาน

แห่งชาติตากสินมหาราช ตู้ ปณ. ๑๐ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ๖๓๐๐๐ โทร. ๐ ๕๕๕๑ ๑๔๒๙ หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๒ ๐๗๖๐ www.dnp.go.th

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ สายตาก-แม่สอด ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ ๒๖ มีทางแยกขวามือเข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร หรือนั่งรถตู้ ประจำทางสายตาก-แม่สอด ลงที่ปากทางเข้าอุทยานฯ จากนั้นจะต้องเดินเท้าอีก ๒ กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตาก (ดอยมูเซอ) ตำบลพะวอ เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ศูนย์ฯ นี้อยู่สูงกว่าระดับทะเลกว่า ๘๐๐ ฟุต ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในบริเวณดอยมูเซอ ได้แก่เผ่ามูเซอดำ ม้ง หรือแม้ว และลีซอ ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่จ ะอพยพมาจากมณฑลทางตอนใต้ของประเทศจีน และเมืองปันในเขตรัฐฉานของสหภาพพม่า รวมทั้ง เขตเชียงตุงด้วย ภาษาที่ใช้มีทั้งภาษาจีน ทิเบต พม่า ผสมกัน ไม่มีภาษาเขียน ประกอบอาชีพเพาะปลูกพืชไร่ ในบริเวณศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาฯ ได้จัดตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอุมยอมที่ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวโดยจัดนิทรรศการแสดงเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องใช้ จำลองของชาวมูเซอ ส่วนบริเวณด้านนอกจัดทำเป็นลานเต้น จะคึ จำลอง (“จะคึ คือการเต้นรำของเผ่ามูเซอ”) โดยจะเต้นตลอดทั้งวันทั้งคืน ผลัดเปลี่ยนกันตลอดเวลาไม่ให้เสียงกระทืบเท้าขาดหายไปจนกว่างานจะเลิก ในช่วงที่มีงานทุกคนจะหยุดทำงาน ถ้าใครทำจะถูกปรับ และสิ่งที่ทุกคนต้องทำ คือการออกเดินทางไปเยี่ยมญาติที่หมู่บ้านอื่นไม่ว่าจะไกล หรือใกล้ก็ตามนอกจากนั้นยังมี เส้นทางศึกษาวิถีชีวิตของชาวบ้านอุมยอม โดยชมวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ลักษณะที่พักอาศัย และมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชมการทำสวนชา กาแฟ พืชไร่ และข้าว แหล่งนํ้าซับ ระหว่างทางมีนํ้าตกให้เที่ยวพักผ่อนอีกด้วย เส้นทางนี้ใช้ระยะเวลาเดินทางไป-กลับประมาณ ๑ วัน หรือหากสนใจจะพักค้างแรมในหมู่บ้านติดต่อสอบถาม โทร. ๐ ๕๕๕๗ ๗๒๐๕

การเดินทาง จากทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ สายตาก-แม่สอด ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ ๒๕-๒๖ มีทางแยกซ้ายเลียบไปตามไหล่เขา ๓ กิโลเมตร

ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตตาก (หรือสถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ) ตั้งอยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย สูงจากระดับทะเล ๙๐๐ เมตร เป็นสถานที่ทดลองวิจัยเมล็ดพันธุ์ ชา กาแฟอาราบิกา ผลไม้ ผักต่างๆ และดอกไม้เมืองหนาว ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ดอกบัวตองบนเทือกเขา บริเวณที่ตั้งสถานีฯ จะออกดอกบานสะพรั่งสวยงามมาก หากต้องการพักที่บ้านรับรองของศูนย์บริการด้านพืช มีบ้านพักจำนวน ๘ หลัง พร้อมสถานที่กางเต็นท์ สามารถติดต่อสอบถาม โทร. ๐ ๕๕๕๑ ๒๑๓๑ โทรสาร ๐ ๕๕๕๑ ๔๐๓๔ ราคา ๒๐๐ บาท/คน/คืน ค่าเช่าเต็นท์หลังละ ๔๐๐ บาท ค่าสถานที่กางเต็นท์ ๑๕๐ บาท/คน/คืน

ตลาดสินค้าพื้นเมืองชาวเขาดอยมูเซอ ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ สายตาก-แม่สอด บริเวณกิโลเมตรที่ ๒๙ และ ๓๖ เป็นตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาวเขา ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องเงิน และพืชผลไม้ต่างๆ ทางการเกษตร เปิดทุกวัน

นํ้าตกมูเซอ (อิกะเกอจี) ตั้งอยู่ด้านหลังตลาดมูเซอใหม่ กิโลเมตรที่ ๒๙ เป็นนํ้าตกขนาดกลางรายล้อมด้วยธรรมชาติที่อุคมสมบูรณ์ เกิดจากลำนํ้าห้วยหอยทั้งสายไหลผ่านหน้าผาสูงชันกว่า ๕๐ เมตร ลงสู่ลำห้วยแม่ละเมาการเดินทาง สามารถขับรถยนต์ผ่านหมู่บ้านขุนห้วยส้มป่อยตามถนนคอนกรีตระยะทาง ๕ กิโลเมตร และเดินเท้าเพื่อชมนํ้าตกด้านล่างตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติประมาณ ๒๗๐ เมตร ที่ผู้นำชุมชนชาวเขาได้ทำไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวไดเ้ดินชมธรรมชาติของป่าเขา และชมกล้วยไม้ป่านานาพันธุ์เช่น เอื้องคำ เอื้องผึ้ง ฯลฯ นกป่านานาชนิด เช่น นกขุนแผน นกกางเขนดง นกปรอทหัวจุก ฯลฯ และยังมีสถานที่น่าสนใจอีกแห่ง คือชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นบนดอยนมสาว ท่ามกลางทะเลภูและทะเลหมอกยามเย็นที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ณ จุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถกางเต็นท์พักแรมได้กรุณาติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานตาก โทร. ๐ ๕๕๕๑ ๔๓๔๑ – ๓ ทุกวัน เวลาราชการ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *