ถ้ำปู่หลุบ อยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยแยกเป็นห้องๆ ได้ ๕ ห้อง มีเกล็ดแวววาวระยิบระยับสวยงาม ภายในถ้ำมีน้ำขังตลอดปี ผานกเค้า เป็นภูเขาสูงตั้งตระหง่านอยู่ริมลำาน้ำพอง ห่างจากตัวเมือง ขอนแก่น ๑๒๕ กิโลเมตร ตามทางหลวงสายขอนแก่น-วังสะพุง (หมายเลข ๒ และ ๒๐๑) ผานกเค้าอยู่ทางด้านซ้ายมือของบ้านดงลาน ลักษณะของผานกเค้าเป็นภูเขาหินสีดำ มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย บริเวณที่จะมองเห็นเค้าโครงของนกเค้าได้ชัดเจนควรเดินเข้าไปในศูนย์เพาะชำกล้วยไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่ง ตรงข้าม จะเห็นว่าลักษณะผาเหนือจะงอยปากขึ้นไปมีลักษณะเป็น หงอน…
เมืองโบราณโนนเมือง อยู่ในเขตบ้านนาโพธิ์ ห่างจากอำเภอเมือง ๘๐ กิโลเมตร เล่าสืบต่อกันมาว่าที่เนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมืองนั้น เป็นเมืองโบราณ ลักษณะเป็นเนินดินรูปไข่ มีพื้นที่ประมาณ ๑๗๐ ไร่ ล้อมรอบด้วยคูเมือง ๒ ชั้น เมื่อนักโบราณคดีเข้าไปสำรวจพบใบเสมาหินทรายศิลปะทวาราวดีปักอยู่ในเมืองและพื้นที่โดยรอบ มีเศษภาชนะดินเผาชิ้นไม่ใหญ่นักกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนเนินดิน เศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้งชนิดเขียนสีแดง ชนิดลายขูดขีดและลายเชือกทาบ ในชั้นดินสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) ไม่พบหลักฐานของการฝังศพ สันนิษฐานว่าเมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่มาสู่โนนเมือง ประเพณีการฝังศพจึงเปลี่ยนไป ยิ่งขุดชั้นดินลึกลงไปยิ่งพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เมืองโบราณแห่งนี้เคยมีชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ตอนปลาย) พบโครงกระดูกมนุษย์อายุราว ๒,๕๐๐ ปี…
อุทยานศรีเวียง ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าพัฒนา เป็นสวนสาธารณะริมเส้นทางระหว่างทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง มีพื้นที่ ๒๕ ไร่ ฉากหลังเป็นเทือกเขาภูเวียง บริเวณภายในจัดทำเป็นสวนพักผ่อน สวนสุขภาพ มีโขดหิน น้ำาตก บ่อน้ำ สวนหย่อม สนามนั่งเล่น ไดโนเสาร์จำลอง เรียงรายทั่วบริเวณนับร้อยตัว บางตัวสามารถร้องได้ เคลื่อนไหวได้ คล้ายของจริง เป็น ไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบฟอสซิลในภาคอีสาน การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง โดยเดินทางจากขอนแก่นถึงอำเภอภูเวียง ระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร และเดินทางจากตัวอำเภอต่อไปอีก ๗ กิโลเมตร…
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๑๙๗ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ อุบลรัตน์ ภูเวียง บ้านฝาง มัญจาคีรี และโคกโพธิ์ชัย รวมทั้งสองอำเภอ ในจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ บ้านแท่น และแก่งคร้อ ที่ทำาการอุทยานฯ ตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำาอุบลรัตน์ เป็นทั้งแหล่งต้นน้ำของลำน้ำชี ลำน้ำพอง เป็นแหล่งสมุนไพร มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง ในบริเวณอุทยานมีจุดชมวิวอยู่หลายแห่ง ได้แก่ “จุดชมวิวหินช้างสี” เป็นกลุ่มหินใหญ่บนสันเขาป่าโสกแต้ ด้านข้างของหินมีรอยดินที่ช้าง ใช้ลำตัวสีก้อนหินติดอยู่…
เขื่อนอุบลรัตน์ เรียกอีกชื่อว่า “เขื่อนพองหนีบ” เนื่องจากสร้างข้ามแม่น้ำพองโดยปิดกั้นลำน้ำพองตรงบริเวณช่องเขาที่เป็นแนวต่อระหว่างเทือกเขาภูเก้าและภูพานคำ การก่อสร้างเริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ แล้วเสร็จปี พ.ศ. ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๐๙ เขื่อนนี้มีประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร การประมง การป้องกันอุทกภัย การคมนาคม ตลอดจนเป็นที่สำาหรับพักผ่อนของประชาชน ภายในบริเวณเขื่อนมีร้านอาหาร บ้านพัก และกิจกรรมต่างๆ เช่น…
อุทยานสัตว์ป่าอีสานตอนบน ขอนแก่น-อุดรธานี (สวนสัตว์เขาสวนกวาง) ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 แห่ง คือ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาสวนกวาง และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี รวมพื้นที่ 4,696 ไร่ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2552 จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2555 สวนสัตว์แห่งนี้มีรูปแบบของอุทยานการเรียนรู้ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า หายาก เป็นศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยง แหล่งการศึกษาและการท่องเที่ยว ในรูปผจญภัย (จังเกิล ปาร์ค) โดยยึดหลักการป่าชุมชนตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง…
พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ตำาบลบ้านขาม ในวัดเจติยภูมิ สร้างขึ้น ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ตามประวัติโดยย่อกล่าวว่า โมริยกษัตริย์ เจ้าเมืองโมรีย์ซึ่งเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา มีความประสงค์ที่จะนำาพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ มาบรรจุที่พระธาตุพนม จึงโปรดให้พระอรหันต์และพระเถระเจ้าคณะรวม ๙ องค์ นำาขบวนอัญเชิญพระอังคารมาในครั้งนี้ เมื่อผ่านมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่ง ซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่น เนื่องจากเป็นเวลาพลบค่ำ และบริเวณนี้ภูมิประเทศราบเรียบดีจึงหยุดคณะพักชั่วคราว รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อไปถึงภูกำาพร้าปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับและตั้งใจว่าจะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ที่บ้านเมืองของตน แต่เมื่อเดินทางผ่านดอนมะขามอีกครั้งปรากฏว่า แก่นมะขามที่ตายแล้วนั้นกลับยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียวชอุ่ม เป็นที่น่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุจึงพร้อมใจกันสร้าง เจดีย์ครอบต้นมะขามนี้ พร้อมกับนำาพระอังคารธาตุและพระพุทธรูป บรรจุไว้ในองค์พระธาตุและให้นามว่าพระธาตุขามแก่นมาจนทุกวันนี้ องค์พระธาตุขามแก่น ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร…
วัดโสธรวรารามวรวิหาร อยู่ในเขตเทศบาลเมืองริมแม่น้ำบางปะกงเดิมชื่อว่า“วัดหงส์”สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพุทธโสธร” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวเมืองเคารพนับถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้พืชพันธุ์ ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ หายเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๖๕เมตร สูง ๑.๔๘ เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง ตามประวัติเล่าว่าเป็นพระพุทธรูปปาฏิหาริย์ ลอยทวนน้ำามา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ สันนิษฐานว่าตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๒๓๑๓ สมัยต้นกรุงธนบุรีแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิหน้าตักกว้าง ศอกเศษรูปทรงสวยงามมากแต่พระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาลักพาไป จึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะดังที่เห็นในปัจจุบันทุกวันนี้ จะมีผู้คนต่างมานมัสการปิดทองหลวงพ่อโสธรกันเป็นจำานวนมาก พระอุโบสถ หลังใหม่ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และเริ่มดำาเนินการก่อสร้าง เมื่อพ.ศ.๒๕๓๐ โดยมีสำานักงานโยธาจังหวัดเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างลักษณะพระอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ประยุกต์ ประดิษฐาน หลวงพ่อโสธรองค์จริงเปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐น. วิหารจำลอง…
วัดมังกรบุปผาราม หรือวัดเล่งฮัวยี่ อยู่บนถนนสุขุมวิท เส้นทางสาย จันทบุรี-ขลุง ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี ๑๖ กิโลเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นวัดนิกายมหายาน มีศาลาและพระอุโบสถที่ตกแต่งด้วยกระเบื้อง โมเสก เป็นลวดลายต่างๆ อย่างงดงาม ภายในวัดมีบรรยากาศที่เงียบสงบ และร่มรื่น เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม วัดมีที่พักสำหรับผู้มา ปฎิบัติธรรม วัดมีงานประจำปี ๒ งาน คือ งานบุญกฐิน จัดขึ้นหลังช่วงเทศกาลออกพรรษา และงานทำบุญประจำปีของวัด จัดขึ้นหลังวันตรุษจีน ๒๑…
สวนสมุนไพรจันทบุรี ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ ๒๕ กิโลเมตร เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ภายในมีแปลงทดลองและเรือนเพาะชำพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อนำพืช เหล่านี้ ไปทำการทดลองศึกษาค้นคว้า และนำมาผลิตเป็นยารักษาโรค เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. การเข้าชมเป็น หมู่คณะต้องขออนุญาตล่วงหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสมุนไพร สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๓๙๔๑ ๓๑๗๗ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๘๙ ๙๘๕๐-๘ ต่อ ๙๐๔๒-๓ เขื่อนคิรีธาร…