เทศกาลงานประเพณีประจำปี จังหวัดศรีสะเกษ
งานเทศกาลดอกลำดวน จัดขึ้นสัปดาห์ที่ ๒ เดือนมีนาคมของทุกปี ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เป็นช่วงที่ดอกลำดวนในสวนกำลังบาน ภายในงานประกอบด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านสี่เผ่า คือ ลาว เขมร กวย และเยอ การออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม สินค้าพื้นเมือง การแสดงละครประกอบแสงเสียงตำนานการสร้างเมือง งานเทศกาลเงาะ ทุเรียนศรีสะเกษ จัดขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ หรืออำเภอขุนหาญ โดยจะจัดสลับกันแห่งละปี ภายในจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น การออกร้านจำหน่ายพืชผักผลไม้ศรีสะเกษนานาชนิด เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง…
เที่ยวปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทบ้านปราสาท หรือ ปราสาทห้วยทับทัน หรือ ปราสาทบ้านโนนธาตุ ตั้งอยู่ที่วัดปราสาทพนาราม บ้านปราสาท เป็นโบราณสถานแบบขอมแห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงในสมัยหลังเช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยเฉพาะส่วนหลังคาซึ่งคล้ายคลึงกันมากแต่มีขนาดสูงกว่าประกอบด้วยปรางค์อิฐ ๓ องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวเหนือ – ใต้ มีกำแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตูก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าเดิมมี ๓ หรือ ๔ ทิศ ปัจจุบันคงเหลือเพียงด้านทิศใต้เท่านั้น ปรางค์องค์กลางขนาดใหญ่กว่าปรางค์อีก ๒ องค์ ที่ขนาบข้างเล็กน้อยแต่ส่วนหลังคาเตี้ยกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีประตูเดียวด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีกรอบประตูหินทราย และทับหลังติดอยู่เป็นภาพบุคคลยืนอยู่เหนือหน้ากาล…
ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษ
ปราสาทสระกำแพงน้อย ตั้งอยู่วัดสระกำแพงน้อย บ้านกลาง ตำบลขยุง โดยพื้นที่บริเวณปราสาทคาบเกี่ยวกับพื้นที่อำเภอเมืองด้วย ปราสาทสระกำแพงน้อยประกอบด้วยปรางค์และวิหารก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้าปรางค์มีสระน้ำใหญ่ ทั้งปรางค์ วิหารและสระน้ำ ล้วนล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง เคยมีทับหลังประตูสลักเป็นพระวรุณเทพเจ้าแห่งฝนประทับบนแท่นมีหงส์แบก ๓ ตัว อยู่เหนือเศียรเกียรติมุข เป็นศิลปะแบบบาปวนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สันนิษฐานว่าปราสาทหินแห่งนี้เดิมเป็นศาสนสถานมาก่อน แล้วต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อาจมีการบูรณะหรือสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ สังเกตได้จากมีสถาปัตยกรรมแบบบายนอยู่ด้วย สิ่งก่อสร้างดังกล่าวเรียกกันในสมัยนั้นว่า “อโรคยาศาล” หมายถึง สถานพยาบาล หรือสุขศาลาประจำชุมชนนั่นเอง การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัด…
สถานที่เที่ยว แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองศรีสะเกษ
วัดมหาพุทธาราม ตั้งอยู่ใจกลางเมือง มีวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองและเป็นที่เคารพสักการะของชาวศรีสะเกษ คือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางมารวิชัย มีความสูงจากฐานถึงยอดเกศ ๖.๘๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๓.๕๐ เมตร เดิมเป็นพระพุทธรูปศิลาจำหลัก สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยขอมซึ่งมีอายุกว่าพันปี มีหลักฐานบ่งชี้ว่าองค์พระแท้จริงแล้วเป็นหินดำเกลี้ยง แต่มีการฉาบปูนทับไว้เพื่อป้องกันการโจรกรรม ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ติดกับศาลากลางจังหวัด เดิมศาลหลักเมืองเก่ามีสภาพทรุดโทรม ในปี ๒๕๑๙ จึงได้ทำการก่อสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่ขึ้นมาในบริเวณเดิม รูปแบบก่อสร้างเป็นแบบจัตุรมุข องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปหัวใจ เส้นผ่าศูนย์กลางของเสา ๓๐ เซนติเมตร ความสูงจากฐานถึงยอดเสา ๒๒๙ เซนติเมตร…
เที่ยวบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ
บึงโขงหลง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาตินิเวศ และแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ ๘,๐๖๔ไร่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาโครงการเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร ในฤดูแล้ง ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้ประกาศเป็นเขต ห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ บึงโขงหลงได้ขึ้นทะเบียนเป็น พื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติอันดับที่ ๑,๐๙๘ ของโลก (Wetland of International Importance) ในปี พ.ศ.…
เที่ยวน้ำตก เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าภูวัว สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบุ่งคล้า บึงกาฬ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ตั้งอยู่บ้านดอนจิก เลยอำเภอบุ่งคล้า ๓ กิโลเมตร และเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ ๖ กิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีเนื้อที่ ๑๘๖ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๑๖,๕๖๒ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย ๑๕๐-๓๐๐ เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็น สันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้า…
วัดสว่างอารมณ์ (วัดถ้ำศรีธน) อำเภอปากคาด บึงกาฬ
วัดสว่างอารมณ์ (วัดถ้ำศรีธน) ตั้งอยู่บริเวณลานหินเนินเขา ร่มรื่นด้วยต้นไม้ และลำธารเล็กๆ ไหลผ่าน บริเวณใต้โขดหินใหญ่ ภายในวัดประดิษฐาน พระนอน ส่วนบนโขดหินมีอุโบสถทรงระฆังคว่ำ หากขึ้นไปถึงด้านบนสามารถ มองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลจนถึงฝั่งลาว การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ถึงอำาเภอปากคาด มีทางแยกขวาเข้าวัดไปประมาณ ๕๐๐ เมตร
สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองบึงกาฬ
วัดอาฮงศิลาวาส (แก่งอาฮง) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ตำบลไคสีห่างจาก อำเภอเมืองบึงกาฬ ๒๑ กิโลเมตร บริเวณวัดกว้างขวางและสวยงาม เป็นที่ ประดิษฐาน”พระพุทธคุวานันท์ศาสดา” หล่อด้วยทองเหลืองลักษณะคล้าย กับพระพุทธชินราช เชื่อกันว่าลำน้ำโขงบริเวณหน้าวัดเป็นจุดที่ลึก ที่สุดในแม่น้ำโขง หรือเรียกกันว่า “สะดือแม่น้ำโขง” ได้เคยมีการวัดโดย ใช้เชือกผูกกับก้อนหินหย่อนลงไปได้ถึง ๙๘ วา ในฤดูน้ำหลากกระแสน้ำ จะไหลวนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่ เมื่อรูปกรวยแตกจะมีเสียงคล้าย กระแสน้ำไหลเซาะโขดหินแล้วจะค่อยๆ หายไป เมื่อกระแสน้ำเชี่ยวมาอีก ก็จะก่อตัวขึ้นใหม่เกิดสลับกันตลอดทั้งวัน ส่วนหน้าแล้งในเดือนมีนาคม- พฤษภาคม จะมองเห็นแก่งชัดเจน…
เทศกาลงานประเพณี ประจำปีจังหวัดนครราชสีมา
งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) เป็นงานประจำ ปีของจังหวัด กำหนดจัดระหว่างวันที่ ๒๓ มีนาคม-๓ เมษายน ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันที่คุณหญิงโมได้รับชัยชนะจากข้าศึก ในงานมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมการออกร้านจัดนิทรรศการต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการและภาคเอกชน งานประเพณีแข่งเรือพิมาย เป็นงานประเพณีที่ชาวอำเภอพิมายร่วมกันจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจะจัดในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๒ ของเดือนพฤศจิกายน งานนี้นอกจากจะมีการแข่งเรือของชาวบ้านจากหมู่บ้านต่าง ๆ ในอำเภอพิมายและอำเภอใกล้เคียงแล้ว ยังมีการตกแต่งเรือตามแบบเรือพระราชพิธี พร้อมประกวดการแห่เรือด้วย ซึ่งนับว่าเป็นงานที่น่าชมมาก งานเทศกาลเที่ยวพิมาย จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดนครราชสีมา คือ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดียวกับงานประเพณีแข่งเรือพิมาย…
หมู่บ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านหลุ่งประดู่สามัคคี อำเภอห้วยแถลง นครราชสีมา
หมู่บ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านหลุ่งประดู่สามัคคี ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลหลุ่งประดู่ ริมทางหลวงหมายเลข ๒๑๖๓ (เส้นทางพิมาย-หินดาด) บริเวณกิโลเมตรที่ ๒๑ แยกขวามือมีป้ายบอกทางเข้าหมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านหลุ่งประดู่ รวมระยะทางจากจังหวัดนครราชสีมาประมาณ ๙๐ กิโลเมตร มีการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า ในลักษณะครบวงจร ชมกระบวนการฟอก ย้อมสีจากธรรมชาติและสีเคมี รวมทั้งการสาวไหม การทอผ้าลวดลายโบราณ และสมัยใหม่ สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. ๐๘ ๙๕๘๒ ๖๐๒๕ คุณบุษบา ประเทสัง