ล่องแม่น้ำนครนายก จังหวัดนครนายก
สนุกกับแก่งสามชั้นใกล้กรุง นครนายกเป็นเมืองแห่งสายน้ำเพราะสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสายน้ำทั้งนั้น เช่น น้ำตกสาริกา น้ำตกนางรอง เขื่อนท่าด่าน วังตะไคร้ ช่วงฤดูฝนนครนายกจึงไม่เงียบเหงา โดยเฉพาะคนชอบล่องแก่ง นครนายกมีกิจกรรมล่องแก่งแม่น้ำนครนายกให้ลุยฝ่าแก่งสามชั้นอันลือชื่อ แก่งนี้ล่องสนุกสายน้ำไม่แรงมาก จึงเหมาะสำหรับทุกครอบครัว แถมยังใกล้กับกรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วโมงเศษก็ได้ล่องแก่งกันแล้ว กิจกรรมล่องแก่งแม่น้ำนครนายกจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงบนและช่วงล่าง สำหรับกิจกรรมล่องแก่งช่วงบนของแม่น้ำนครนายก จะเริ่มต้นนกันบริเวณสะพานท่าด่าน ช่วงแรกลำน้ำคดเคี้ยวไร้แก่งจึงเหมาะสำหรับพายชมทิวทัศน์ป่า และสวนผลไม้ จากนั้นไม่กี่อึดใจจะเริ่มเข้าสู่ช่วงที่มีสายน้ำไหลแรงเร้าใจ จนมาถึงบริเวณที่เรียกกันว่า แก่งสามชั้น นับเป็นไฮไลท์ของเส้นทางนี้เพราะเป็นแก่งหินสามชั้นสาดเทเอียงลงคล้ายขั้นลันไดทอดยาวบนสายน้ำกว่า 50 เมตร ช่วงนี้จะต้องพายเรือผ่านเกลียวคลื่อนม้วนตัวหลายช่วง…
เทศกาลงานประเพณีประจำปี จังหวัดนครนายก
งานมะยงชิด -มะปรางหวานและของดีนครนายก จัดเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ของทุกปีบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อแนะนำเผยแพร่มะยงชิด – มะปรางหวาน ผลิตผลทางการเกษตร และสินค้าหัตถกรรม ในงานจะมีการประกวดขบวนแห่ผลิตผลทางการเกษตร ประกวดมะยงชิด – มะปรางหวาน และพืชผลทางการเกษตร งานไม้ดอกไม้ประดับและของดีองครักษ์ จัดเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี บริเวณคลอง ๑๕ ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ ภายในงานมีการประกวดไม้ดอกไม้ประดับ และประกวดการจัดสวนหย่อม งานประเพณีสงกรานต์วัดฝั่งคลอง จัดภายในวัดฝั่งคลอง วันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี อำเภอปากพลี มีกิจกรรมที่น่าสนใจ…
ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ อำเภอองครักษ์ นครนายก
ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ ตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำนครนายก ตำบลสันทรายมูล มีเรื่องเล่าว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรีโดยเสด็จผ่านมาตามแม่น้ำนครนายก และได้มาประทับแรมบริเวณที่ตั้งศาลเจ้าพ่อองครักษ์ในปัจจุบัน ในระหว่างประทับแรมอยู่นั้นนายทหารราชองครักษ์ป่วยและเสียชีวิตลง จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้สร้างศาลขึ้นเป็นอนุสรณ์ ศาลแห่งนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อองครักษ์” และใช้เป็นชื่อของอำเภอองครักษ์ในเวลาต่อมา บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อองครักษ์นี้เป็นวังน้ำวน น้ำไหลเชี่ยวมาก และเชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์จึงนำไปทำพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษกเมื่อคราวประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช การเดินทาง จากถนนรังสิต – นครนายก เลี้ยวขวา เข้าอำเภอองครักษ์ และเลี้ยวซ้ายเข้าทางไปโรงพยาบาลองครักษ์ ถึงโรงพยาบาลองครักษ์เลี้ยวขวา จากนั้นเลี้ยวซ้ายข้ามแม่น้ำนครนายกก็จะถึงศาล
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และแหล่งท่องเที่ยวอำเภอปากพลี นครนายก
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน ตั้งอยู่วัดฝั่งคลอง ตำบลปากพลี ริมทางหลวงหมายเลข ๓๓ เป็นที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของชาวไทยพวน อายุราว ๒๐๐ ปี เช่น ผ้าซิ่นไทยพวน โม่หิน ถังต้มกาแฟโบราณ อุปกรณ์ในการทำนา เครื่องมือในการทอผ้า เป็นต้น นอกจากนี้ ภายในบริเวณวัดยังมีกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง และทำไข่เค็มสูตรใบเตยหอม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๗๓๙ ๙๘๓๓ น้ำตกวังม่วง ตั้งอยู่ที่ตำบลนาหินลาด โดยเดินทางไปตามถนนสุวรรณศร (ทางหลวงหมายเลข ๓๓) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข…
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
น้ำตกกะอาง ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาเพิ่ม จากตัวเมืองไปตามถนนสุวรรณศร ถึงอำเภอบ้านนาเยื้องกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านนา มีถนนแยกไปน้ำตกกะอางระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร เป็นน้ำตกเล็ก ๆ ลักษณะเป็นลานหินกว้างมีน้ำตกไหลผ่านตามช่องหิน ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยว คือช่วงฤดูฝน (ประมาณเดือนมิถุนายน – ตุลาคม) ฤดูแล้งน้ำจะแห้ง ในบริเวณยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ บริเวณใกล้เคียงมีสถานีเพาะชำกล้าไม้ของกรมป่าไม้ และมีเนินเขาเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดศรีกะอาง ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙ หมู่ที่ ๙ ตำบลเขาเพิ่ม ประดิษฐาน “พระสัมพุทธสากยมุณีโลกนาถ” พระพุทธชินราชจำลอง องค์จำลองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย…
น้ำตกสาริกา และแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง นครนายก
ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครนายก เสาหลักเมืองเดิมเป็นเสาไม้ยาว ๑ เมตรเศษ ปลายเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัว ตั้งอยู่บริเวณกำแพงเมืองเก่า ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ย้ายหลักเมืองไปประดิษฐานที่ตึกแดงในโรงเรียนศรีนครนายก เป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด และได้ย้ายมาสร้างใหม่ริมแม่น้ำนครนายกภายในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๙ โดยสร้างเป็นศาลาจัตุรมุข เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจนถึงทุกวันนี้ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมณี ห่างจากตัวจังหวัด ๑๔ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางองครักษ์ ๗๕ กิโลเมตร บริเวณโรงเรียนติดกับเขาชะโงก มีพื้นที่ ประมาณ ๑๙,๒๙๐ ไร่…