ท่องหาดตะวันตก เสน่ห์งามยามเย็นเกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
ชายหาดด้านทิศตะวันตกของเกาะพะงันนั้นถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของเกาะพะงัน มีเวิ้งอ่าวและชายหาดที่สวยงามบริสุทธิ์อยู่หลายแห่งและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกับชายหาดแถบอื่นบนเกาะพะงัน ชายหาดด้านนี้จะเริ่มจากอ่าวในวก อ่าวปลายแหลม อ่าววกตุ่ม อ่าวหินกอง อ่าวศรีธนู หาดเจ้าเภา หาดสน ไปจนจรดหาดยาว หาดเทียนตะวันตก หาดสลัดและแม่หาด ชายหาดแถบนี้จะมีจุดเด่น ตรงที่สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ตกจากเกาะพะงันได้ในทุกหาดมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่สามารถท่องเที่ยวทางชายหาดแถบนี้จะเป็นช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีท้องฟ้าแจ่มใสได้บรรยากาศพักผ่อนของฤดูร้อน ส่วนเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปถึงเดือนกันยายนอาจมีฝนบ้างเล็กน้อยและเป็นช่วงลมพัทธยาและลมตะวันตก น้ำทะเลจะลดในตอนกลางวันและขึ้นตอนเย็นหรือกลางคืนทำาให้อาจเล่นน้ำไม่สะดว แต่บรรยากาศโดยทั่วไปก็ยังสามารถท่องเที่ยวได้ดีและเป็นช่วงที่มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์กว่าฤดูอื่น
ถนนคนเดินวิถีชีวิต และสีสันวันสุดสัปดาห์ บนเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี
เป็นกิจกรรมที่ชาวท้องศาลาร่วมกันจัดพื้นที่ให้มีการนำสินค้ามาวางขายบนถนนทุก วันเสาร์ เวลา 16.00 – 21.00 น. ในวันดังกล่าวตั้งแต่ยามบ่ายบริเวณถนนตลาดเก่าที่เป็นย่านการค้าโบราณจะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนพ่อค้าแม่ขายที่พากันนำสินค้ามาวางขายเรียงรายกันบนถนน โดยมีการปิดการจราจรให้เป็นถนนคนเดินเที่ยวอย่างเพลินใจ สภาพบ้านเรือนสองฟากถนนคนเดินนี้ยังเป็นบ้านห้องแถวเรือนไม้ที่มีสภาพสมบูรณ์อยู่หลายหลัง บางหลังก็เคยเป็นที่อยู่ร้านค้าของคหบดีในอดีตเช่นบ้านเก่าหลังหนึ่งเคยเป็นตัวแทนขายส่งสุรา อีกหลังหนึ่งเจ้า ของชื่อโกยี่เคยขายผัดไทยขึ้นชื่อปัจจุบันเลิกราไปแล้ว แต่บ้านเก่าหลังนี้ก็ยังอยู่และมีของขายอยู่หลายชนิด บ้านเก่าๆเหล่านี้ยังอยู่เรียงรายไปจนถึงบริเวณหน้าไปรษณีย์และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกบนเกาะพะงัน บรรยากาศย้อนยุคเหล่านี้จะยิ่งมีมนต์ขลังให้เห็นโดยเฉพาะในเวลาโพล้เพล้ใกล้ค่ำที่มีแสงสีของไฟมาช่วยสร้างบรรยากาศพร้อมกับนักท่องเที่ยวและผู้คนที่เดินจับจ่ายซื้อของกินของใช้กันอย่างสนุกสนาน ทั้งเสื้อผ้าราคาถูก ของกินต่างๆ รวมทั้งขนมโบราณอย่างขี้หมาต้วงหรือข้าวตูที่มีทั้งแห้งทั้งสดก็ยังมีให้ลองลิ้มชิมรส โปสการ์ดสวยๆ ก็มี ให้เลือกซื้อเป็นที่ระลึก ใครคลั่งไคล้กับเสียงเพลงคันทรีย้อนยุคให้ไปที่หน้าร้านอาหารไอริช ที่นี่จะมีศิลปินจากแดนไกลที่หลงใหลคลั่งไคล้ในความบริสุทธิ์ของ เกาะพะงันผันตัวมาเป็นชาวเกาะผู้มีดนตรีในหัวใจพร้อมให้ความบันเทิงกับคุณได้อย่างไม่รู้เบื่อในทุกวันเสาร์ที่มีถนนคนเดินจนกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคู่ถนนคนเดินไปแล้วในวันนี้ นอกจากถนนคนเดินที่จัดขึ้นทุกวันเสาร์นี้แล้ว หากใครสนใจภาพวิถีชีวิตของผู้คนแถบท้องศาลาก็ยังมีวิถีชีวิตแบบชาวบ้านให้พบเห็นได้ซึ่งน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือวิถีชีวิตของพ่อค้าแม่ขายแถวท่าเรือเฟอร์รี่ที่…
แหล่งท่องเที่ยว บริเวณหาดท้องศาลา เกาะพะงัน
ชื่อหาด “ท้องศาลา” นี้มีกำาเนิดมาจากครั้งอดีตเมื่อราว พ.ศ. 2427เคยมีศาลาอยู่หลังหนึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณสะพานท่าเรือ ซึ่งเจ้าเมืองไชยา เคยใช้นั่งว่าราชการงานเมือง และใช้เป็นที่พักผ่อนปัจจุบันเรียกว่าศาลาที่ว่าการหรือทำเนียบ จึงเรียกขานหาดแถบนี้ว่า หาดท้องศาลา ซึ่งต่อมากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะพะงัน มีทั้งท่าเรือเฟอร์รี่ เรือด่วน รถรับส่งนักท่องเที่ยว ร้านอาหารนานาชาติ ร้านขายของที่ระลึก ร้านอินเทอร์เน็ต ร้านกาแฟน่ารักๆ ตลอดจนโรงแรมที่พัก ธนาคาร บริษัทท่องเที่ยว รถเช่า ฯลฯ ถือว่าเป็นแหล่งที่มีสิ่งอำานวยความสะดวกที่สุดบนเกาะพะงัน บริเวณหาดท้องศาลาแห่งนี้หากเป็นเทศกาลงานประเพณีสงกรานต์ ก็จะเป็นศูนย์รวมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มารวมตัวเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ก็ยังมีประเพณีชักพระในวันออกพรรษาเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สำาคัญซึ่งกำเนิดขึ้นที่เกาะพะงัน เป็นประเพณีพื้นบ้านที่ชาวเกาะพะงันยังคงยึดถือและปฏิบัติกันสืบมา หาดท้องศาลา หาดท้องศาลา…
ปั่นจักรยานท่องเที่ยวเกาะพะงันได้ทั่วถึงและปลอดภัย
ด้วยขนาดพื้นที่ ภูมิประเทศ ตลอดจนการแบ่งโซนการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้วยฝีมือของธรรมชาติ ประกอบกับ “วิถีพะงัน”การท่องเที่ยวด้วยจักรยานเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ขอแนะนำพร้อมประทับตรายืนยันให้ผู้เดินทางท่องเที่ยวรับรู้ว่า “เหมาะสม” ถนนทั่วเกาะพะงันตัดตรง ตัดขวาง ระโยงระยางทั่วเกาะนับรวมกันได้ความยาวที่ 74.72 กิโลเมตรเส้นทางเชื่อมโยงที่ยาวที่สุดคือเส้นท้องศาลา-อ่าวท้องนายปาน 17.0 กิโลเมตร สภาพเป็นถนนซีเมนต์ผสมถนนดิน แม้วันนี้ยังไม่มีเลนช่องทางจักรยานเป็นการเฉพาะ แต่ถนนทั่วเกาะพะงันยังมีพาหนะบนถนนน้อยมาก สิ่งที่ผู้เดินทางจะได้พบเจอบนสองฝั่งถนนแทบทุกสายต่างหากที่มากมายหลากหลาย เกาะแค่นี้มีนาข้าว มีดงเสม็ดขาวมีวิถีชาวบ้านพะงันที่บ่งบอก ว่าวิถีพะงันนี่แหล่ะที่จะนำพาไปสู่เกาะสีเขียวได้ ทั้งสถาปัตยกรรมบ้านที่สอดคล้องกับสภาพอากาศ นิสัยชอบปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษข้าง บ้านรับประทานกันเอง วิถีเศรษฐกิจพอเพียง รักสะอาด รักธรรมชาติ เก็บความเป็น “บ้าน บ้าน”ไว้ครบถ้วน ทั้งเช้าและบ่ายเป็นเวลาที่เหมาะสม…
ฤดูกาลและการเดินทางไปท่องเที่ยวเกาะพะงัน
เกาะพะงันมีฤดูกาลต่างๆ เป็นไปตามอิทธิพลของลมมรสุมเป็นสำคัญฤดูร้อนอากาศสดใสเหมาะกับการท่องเที่ยวที่สุดอยู่ระหว่างเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ซึ่งฤดูนี้จะมีลมพัดยาหรือลมพัทธยาพัดสู่เกาะพะงันอาจมีฝนบ้างเล็กน้อยแต่ก็ยังสามารถท่องเที่ยวได้เพียงแต่ช่วงกลางวันนำ้าทะเลมักจะลงจนเห็นหลังงันหรือหลังนาที่เป็นแนวสันดอนปะการังอยู่นอกฝั่งอยู่ทั่วไปและนำ้าจะขึ้นเต็มฝั่งในช่วงเย็นและกลางคืน หาดที่มีผลกระทบในช่วงนี้ได้แก่ หาดริ้นใน หาดบ้านใต้ บ้านค่าย หาดท้องศาลาและหาดหินกอง อย่างไรก็ดีสำาหรับชาวประมงแล้วในช่วงที่มีลมพัดยาหรือลมพัทธยากลับเป็นฤดูที่ดีในการออกหาปูหาปลาที่มักจะชุกชุมกว่าในฤดูอื่น ส่วนในเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมเป็นช่วงฤดูมรสุมที่มีลมว่าวพัดเข้าสู่เกาะพะงันทำาให้มีฝนตกชุกกว่าช่วงอื่นเดือนที่มีฝนตกหนักที่สุดจะเป็นเดือนพฤศจิกายนและหาดที่หันหน้ารับคลื่นลมจากลมว่าวเต็มที่ก็คือ หาดริ้นนอกหาดธารเสด็จ หาดท้องนายปานใหญ่ หาดท้องนายปานน้อยและหาดขวดฤดูกาลต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นตัวกำาหนดเขตพื้นที่การ ท่องเที่ยวบนเกาะพะงันไปโดยปริยาย อย่างไรก็ดีถือว่าเกาะพะงัน ยังมีฤดูท่องเที่ยวได้เกือบตลอดทั้งปี ผิดกับทางฝั่งทะเลอันดามัน เมื่อถึงฤดูมรสุมจะมีฝนตกยาวนานกว่าคือเกือบ 6 เดือนต่อปี การเดินทางสู่เกาะพะงันนั้นสามารถทำาได้ไม่ยาก โดยเฉพาะ จากท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสักซึ่งมีเรือเฟอร์รี่ของบริษัทราชาเฟอร์รี่ข้ามสู่เกาะพะงันวันละ 5 เที่ยวและออกจากเกาะอีกวันละ 5…
ภูมิศาสตร์ของเกาะพะงัน เพชรเม็ดงามบริสุทธิ์ของอ่าวไทย
ด้วยสภาพที่ตั้งของเกาะพะงันที่เป็นเกาะขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในช่องอ่างทอง ทางด้านทิศเหนือของเกาะสมุย มีขนาดเนื้อที่ถึง 122 ตารางกิโลเมตร เป็นรองก็แต่เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง และเกาะตะรุเตาเท่านั้น เกาะพะงันจึงเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีสภาพภูมิศาสตร์อุดมสมบูรณ์ทั้งหาดทรายชายทะเลที่มีอยู่เกือบรอบเกาะโดยมีแนวปะการังอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเหมาะแก่การดำน้ำชมความงามของโลกใต้สมุทรกับมีสันดอนทรายหรือหลังงันอยู่เป็น ระยะอันเป็นที่มาของชื่อเกาะพะงันในอดีตถัดจากชายหาดขึ้นไปเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาที่เหมาะแก่การทำาสวนมะพร้าว สวนผลไม้และสวนยางพาราไปจนจรดแนวเขาที่วางตัวเหนือใต้อยู่เป็นแกนกลางของพื้นที่เกาะแนวเขาเหล่านี้เองเป็นพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาแต่ครั้งโบราณกาลเป็นต้น น้ำลำาธารหลายสายที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนเกาะพะงัน มีน้ำตก ลำาธารอันสวยงามจนเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงเคยเสด็จประพาสมาถึงที่นี่โดยเฉพาะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสมาที่เกาะแห่งนี้ถึง 14 ครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดโดยเฉพาะกวางป่า มีหลักฐานกล่าวกันว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จะเสด็จเกาะพะงันเป็นครั้งที่ 2 นั้นมีการเตรียมกวางป่าให้พระองค์ท่านทรงปล่อย แต่เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงกำหนดการไม่ได้มาเยือน จึงมีการปล่อยกวางเหล่านั้นเข้าป่าไป…
เกาะพะงัน สวรรค์ของคนรักธรรมชาติ
หลายคนคงจะจดจำภาพของเกาะพะงันว่าเป็นดินแดนของงาน ฟูลมูนปาร์ตี้ที่โด่งดังไปทั่วโลก อันมีจุดกำาเนิดเล็กๆ มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้มีโอกาสมาถึงเกาะพะงันใน วันพระจันทร์เต็มดวงและดื่มด่ำกับธรรมชาติ มีความรู้สึกประทับใจบนผืนทรายของหาดริ้น จึงนำไปเขียนเป็นบทความในหนังสือว่าเป็นที่สุดของชายหาดที่จะดูพระจันทร์เต็มดวงได้สวย งามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก จนมีคนอ่านแล้วเคลิบเคลี้มตามมาเที่ยวในวันพระจันทร์เต็มดวงตาม บทความนั้นมากขึ้น จากนั้นจึงเริ่มมีงานปาร์ตี้เกิดขึ้นบนชายหาดท่ามกลางบรรยากาศริมทะเลที่วิเศษสุด จนเกิดเป็นกระแสการท่องเที่ยวในหมู่ชาวต่างประเทศขึ้นว่าจะต้องมาปาร์ตี้บนหาดทรายของเกาะพะงันในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิตนี่เองจึงเป็นจุดกำเนิดของงานฟูลมูนปาร์ตี้ที่วันนี้มีผู้คนนับหมื่นคนมาร่วมงานสนุกสนานนี้ในทุกวันพระจันทร์เต็มดวงบนเกาะพะงัน หลายคนอาจจะมองภาพของเกาะพะงันในมุมนี้ว่าเป็นเกาะที่มีแต่คนมากินเหล้า เมายา ปาร์ตี้ จนกลายเป็นภาพลักษณ์ที่ออกไปในทางไม่สู้ดีนัก หากแต่ในความเป็นจริงงานฟูลมูนปาร์ตี้ก็เป็นงานหนึ่งซึ่งสนุกสนาน มีสีสัน มีเสน่ห์เป็นของตัวเองไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน มีหลายแห่งอาจจะเลียนแบบเอาอย่างแต่ก็ไม่อาจมีเสน่ห์ได้อย่างสถานที่แท้จริง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดคือเกาะพะงัน และในภาพรวมของงานฟูลมูนปาร์ตี้ก็เป็นงานที่สนุกสนานสำาหรับคนในวัยสนุกวัยหนุ่มสาวอยากปลดปล่อยความเป็นอิสระเสรีที่ไม่ได้เกินเลยขอบเขตของสังคม หากเราดูแลให้งานฟูลมูนปาร์ตี้ดำาเนินไปตามครรลองของระเบียบและกฎหมายไม่ให้เกิดเรื่องที่มีผลกระทบต่อเกาะพะงันในมุมลบเป็นได้ ฟูลมูนปาร์ตี้เกาะพะงันวันนี้น่าจะเป็นการผสมผสานของหาดทรายขาวของหาดริ้น เสน่ห์ของแสงจันทร์ แฟชั่น ศิลปะ และการดื่มด่ำในดนตรีเสียงเพลงในสไตล์ที่เข้าถึงอารมณ์ของวัยรุ่นจากทั่วโลก อย่างไรก็ดี เกาะพะงันนั้นก็ใช่ว่าจะมีเสน่ห์ที่โด่งดังไปทั่วโลกอยู่แค่งานฟูลมูนปาร์ตี้ดังกล่าว…
เกาะพะงันกับคุณค่า และความหมายของการเสด็จประพาส
ในห้วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของการเสด็จประพาสไปในสถานที่ต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ไทยนั้น พระพุทธเจ้าหลวงหรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 นับทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงโปรด การเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ไปและทรงเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์อยู่เสมอ ถึงขนาดบางครั้งพระองค์ก็เสด็จประพาสไปในที่ต่างๆโดยการเสด็จ ประพาสแต่ละครั้งทรงไม่เปิดเผยพระองค์เองว่า เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทำให้ ทรงได้รับรู้ถึงความทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์และเห็นความเป็นอยู่ ของบ้านเมืองตามชนบทตลอดจนได้สร้างความใกล้ชิดกับราษฎร นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง เกาะพะงัน นับเป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเป็นการส่วนพระองค์และได้เคยเสด็จประพาสมาถึงที่นี่บ่อยครั้งกว่าที่แห่งใดในประเทศไทยถึง 14 ครั้ง ระหว่าง พ.ศ.2431-2452 ซึ่งมีทั้งที่เป็นทางผ่านตามเส้นทางเสด็จสู่แหลมมลายูหรือการเสด็จมณฑล ฝ่ายใต้ เช่นเมืองนครศรีธรรมราช สงขลา เป็นต้น การเสด็จประพาสครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นใน…
พงันในอดีตกว่าจะมาเป็นเกาะพะงัน
เกาะพะงัน นับเป็นเกาะขนาดใหญ่เคียงคู่กับเกาะสมุย ตั้งอยู่ใน ทะเลอ่าวไทยบริเวณที่เรียกว่า ช่องอ่างทอง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้างและเกาะตะรุเตาโดยมีพื้นที่ 122 ตารางกิโลเมตร จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เชื่อว่าเกาะพะงันนี้ เคยมีผู้คนอาศัยอยู่มานานกว่า 1,300-2,000 ปี โดยคนกลุ่มแรกที่มาถึงเกาะพะงันน่าจะเป็นนักเดินเรือชาวโจฬะหรือชนเผ่าทมิฬ ซึ่งเป็นคนพื้น เมืองในแถบอินเดียตอนใต้ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14 ถึงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในรัชสมัยพระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 และพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ที่ได้ทรงแผ่ขยายพระราชอาณาจักรมา ถึงคาบสมุทรมลายู…