วัดไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
วัดไพรพัฒนา อดีตเป็นที่พำนักหลวงปู่สรวง เจ้าอาวาสวัดพระนักปฏิบัติ ที่มีชื่อเสียงไปทั่วจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง ด้วยความมีเมตตาบารมีช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจนเป็นที่รักและศรัทธาของผู้คน หลวงปู่สรวงได้ละสังขาร เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๒ ซึ่งสังขารของท่านยังอยู่ในสภาพเดิม ลูกศิษย์และศาสนิกชนจึงให้บรรจุสังขารของท่านลงในโลงแก้วและตั้งไว้ ณ ศาลาออยเตียนสรูล เพื่อให้ผู้ศรัทธาได้กราบไหว้ต่อไป นอกจากนี้ลูกศิษย์และศาสนิกชนที่ศรัทธาและนับถือหลวงปู่สรวง ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างมณฑปปราสาทหลวงปู่สรวง มณฑปที่สร้างเป็นศิลปะขอมเพื่อให้เข้ากับสภาพท้องถิ่น โดยเป็นศูนย์รวมความหมายของพระรัตนตรัยทั้ง ๓ เช่น หน้าบันสี่ทิศประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่สรวง หมายถึงอริยสัจสี่ หน้ามุข ๓ ชั้น หมายถึง พระรัตนตรัย และยอดปรางค์ ๙…
สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ
วัดป่าเนรัญชราราม (เรือพิฆาตสังสารวัฎ) ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคูใหญ่ ตำบลเป๊าะ เป็นวัดที่สร้างเป็นรูปเรือมีลักษณะด้านยาว ๕๕ เมตร สูง ๒๔ เมตร เรือหมายถึงพาหนะนำผู้คนก้าวข้ามกิเลส สิ่งยั่วยุต่าง ๆ อันเป็นผลให้คนเราวนเวียนอยู่ในสังสารวัฎฎ์ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ แล้วเสร็จปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ตัวเรือแบ่งเป็น ๕ ชั้น จำแนกได้ดังนี้ ชั้น ๑ (ห้องใต้ท้องเรือ) จัดเป็นห้องกรรมฐาน ชั้น ๒…
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขาพระวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ ๑๓๐ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัดคือ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอน้ำขุ่น และอำาเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ ๘๓ ของประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ สภาพภูมิประเทศทั่วไปส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาตามแนวทิวเขาพนมดงรักกั้นชายแดนไทย – กัมพูชา พื้นที่ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมากที่อาศัยหาอาหารข้ามไปมาในผืนป่าระหว่างสองประเทศ ได้แก่ หมูป่า กวาง…
สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด) ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาล สิ่งปลูกสร้างภายในตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีหลายแบบนับล้านใบที่ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาค เป็นวัดที่มีลักษณะสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะศาลาใหญ่ที่เรียกว่า ศาลาฐานสโมสรมหาเจดีย์แก้ว และนอกจากนี้ยังมีสิม (โบสถ์) ที่ใช้ขวดเครื่องดื่มจำนวนมากเป็นส่วนประกอบในการสร้างตั้งอยู่กลางน้ำ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาวข้างหลังองค์ประธานตกแต่งลวดลายด้วยฝาจีบของเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่นำมาประกอบรวมกันซึ่งมีความสวยงามแปลกตา การเดินทาง จากวงเวียน อำเภอขุนหาญ วนออกทางขวาถนนหมายเลข ๒๑๒๘ ฝั่งโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ ตรงไป ๕๐ เมตร เลี้ยวขวาไปอีก ๑๐๐ เมตร วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ ปราสาทตำหนักไทร ตั้งอยู่ที่บ้านตำหนักไทร ตำบลบักดอง เป็นปราสาทอิฐหลังเดียวบนฐานศิลาทราย…
ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทตาเล็ง ตั้งอยู่ที่หมู่ ๖ บ้านปราสาท ตำบลกันทรารมย์ ปราสาทตาเล็งลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวตั้งอยู่บนฐาน องค์ปรางค์มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเหลือเพียงผนังด้านหน้าและผนังด้านข้างบางส่วน มีประตูเข้าได้เพียงประตูเดียวด้านหน้า อีกสามด้านเป็นประตูหลอก ที่สำคัญ คือ เสาติดผนังของประตูหน้าทั้งสองข้างยังคงมีลวดลายก้านขดสลักเต็มแผ่นอย่างสวยงาม สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗ นอกจากนี้บนพื้นรอบ ๆ ยังมีทับหลังวางอยู่หลายชิ้น ชิ้นหนึ่งวางอยู่หน้าประตูด้านทิศเหนือ สลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล ซึ่งคายท่อนพวงมาลัยออกมาจากปากและยึดท่อนพวงมาลัยนั้นไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ทับหลังชิ้นอื่น ๆ ลักษณะคล้ายกัน ทับหลังอีกชิ้นมีแนวภาพตอนบนสลักเป็นรูปฤาษีนั่งเรียงกันในท่าสมาธิ ๗ ตอน จากลักษณะทางสถาปัตยกรรม…
ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทบ้านสมอ อำเภอปรางค์กู่ ศรีสะเกษ
ปราสาทปรางค์กู่ ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ ปรางค์องค์นี้สร้างด้วยอิฐเรียงแผ่นโต ๆ เหมือนปราสาทศีขรภูมิที่จังหวัดสุรินทร์ซึ่งเป็นศาสนสถานสมัยขอมที่เก่าแก่มาก มีอายุกว่าพันปี ด้านหน้าปรางค์กู่มีสระน้ำขนาดใหญ่ เป็นทำเลพักหาอาหารของนกเป็ดน้ำ ซึ่งมีมากในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าถึงได้สองเส้นทางคือ เส้นทางศรีสะเกษ – สุรินทร์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวง ๒๒๓๔ หรือเส้นทางศรีสะเกษ – ขุขันธ์ แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๑๖๗ ปรางค์กู่อยู่ห่างจากตัวอำเภอ ๑๐ กิโลเมตร ปราสาทบ้านสมอ หรือ ปราสาททามจาน…
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดศรีสะเกษ
เส้นทางเที่ยวชมสวนชิมผลไม้ศรีสะเกษ สวนเงาะ – ทุเรียน บ้านซำตารมย์ ห่างจากตัวเมือง ๖๓ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๒๒๑ (ศรีสะเกษ – กันทรลักษ์) ผ่านห้วยตาเยาว์ ที่กิโลเมตร ๕๔ เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๔ (โชคชัย – เดชอุดม) ไปตามทางอีก ๕ กิโลเมตร ซ้ายมือมีเส้นทางที่ตัดเข้าหมู่บ้านซำตารมย์ ระยะทาง ๔ กิโลเมตร บ้านซำตารมย์นับเป็นแหล่งสวนเกษตร –…
เทศกาลงานประเพณีประจำปี จังหวัดศรีสะเกษ
งานเทศกาลดอกลำดวน จัดขึ้นสัปดาห์ที่ ๒ เดือนมีนาคมของทุกปี ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เป็นช่วงที่ดอกลำดวนในสวนกำลังบาน ภายในงานประกอบด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านสี่เผ่า คือ ลาว เขมร กวย และเยอ การออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม สินค้าพื้นเมือง การแสดงละครประกอบแสงเสียงตำนานการสร้างเมือง งานเทศกาลเงาะ ทุเรียนศรีสะเกษ จัดขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ หรืออำเภอขุนหาญ โดยจะจัดสลับกันแห่งละปี ภายในจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น การออกร้านจำหน่ายพืชผักผลไม้ศรีสะเกษนานาชนิด เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง…
เที่ยวปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ปราสาทบ้านปราสาท หรือ ปราสาทห้วยทับทัน หรือ ปราสาทบ้านโนนธาตุ ตั้งอยู่ที่วัดปราสาทพนาราม บ้านปราสาท เป็นโบราณสถานแบบขอมแห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงในสมัยหลังเช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยเฉพาะส่วนหลังคาซึ่งคล้ายคลึงกันมากแต่มีขนาดสูงกว่าประกอบด้วยปรางค์อิฐ ๓ องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวเหนือ – ใต้ มีกำแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตูก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าเดิมมี ๓ หรือ ๔ ทิศ ปัจจุบันคงเหลือเพียงด้านทิศใต้เท่านั้น ปรางค์องค์กลางขนาดใหญ่กว่าปรางค์อีก ๒ องค์ ที่ขนาบข้างเล็กน้อยแต่ส่วนหลังคาเตี้ยกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีประตูเดียวด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีกรอบประตูหินทราย และทับหลังติดอยู่เป็นภาพบุคคลยืนอยู่เหนือหน้ากาล…
ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษ
ปราสาทสระกำแพงน้อย ตั้งอยู่วัดสระกำแพงน้อย บ้านกลาง ตำบลขยุง โดยพื้นที่บริเวณปราสาทคาบเกี่ยวกับพื้นที่อำเภอเมืองด้วย ปราสาทสระกำแพงน้อยประกอบด้วยปรางค์และวิหารก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้าปรางค์มีสระน้ำใหญ่ ทั้งปรางค์ วิหารและสระน้ำ ล้วนล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง เคยมีทับหลังประตูสลักเป็นพระวรุณเทพเจ้าแห่งฝนประทับบนแท่นมีหงส์แบก ๓ ตัว อยู่เหนือเศียรเกียรติมุข เป็นศิลปะแบบบาปวนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สันนิษฐานว่าปราสาทหินแห่งนี้เดิมเป็นศาสนสถานมาก่อน แล้วต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อาจมีการบูรณะหรือสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ สังเกตได้จากมีสถาปัตยกรรมแบบบายนอยู่ด้วย สิ่งก่อสร้างดังกล่าวเรียกกันในสมัยนั้นว่า “อโรคยาศาล” หมายถึง สถานพยาบาล หรือสุขศาลาประจำชุมชนนั่นเอง การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัด…