ฟูลมูนปาร์ตี้ ที่คนทั้งโลกใฝ่ฝัน เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
ย้อนไปในอดีตราว พ.ศ. 2510 คือเมื่อราว 45 ปีที่แล้วเกาะสมุยเพิ่งเริ่มเป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวต่างประเทศ จากการที่มีนักท่องเที่ย วผจญภัยเดินท างม าพบธรรมชาติบริสุทธิ์ของเกาะแห่งนี้เข้าและนำเอาเรื่องราวต่างๆ ไปเล่าขาน แน่นอนว่าในครั้งนั้นยังไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติคนใดรู้จักเกาะพะงัน จนเมื่อ พ.ศ. 2515 หลังจากที่เกาะสมุยเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นนักท่องเที่ยวบางส่วนเริ่มสำารวจต่อไปถึงเกาะพะงัน ที่อยู่ใกล้กันทางด้านทิศเหนือว่ามีอะไรซุกซ่อนอยู่ให้ค้นหาบ้าง โดยนักท่องเที่ยวชาติแรกที่ไปถึง คือ นักท่องท่องเที่ยวชาวนิวซีแลนด์และชาวออสเตรเลีย ในยุคต่อๆ มา ซึ่งในครั้งนั้นถือเป็นครั้งแรกที่คนต่างชาติได้ซึมซับรับรู้ความงามของ หาดริ้นว่ามีความสวยงามวิเศษสุดเพียงใด ที่พักบังกะโลแห่งแรกที่เปิดให้บริการที่หาดริ้นมีขึ้นในราวปี พ.ศ.2523 ชื่อ บูรณ์บังกะโล ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นชื่อ ริ้นบีช…
หาดทรายนํ้าใสทะเลสวย หาดท้องนายปาน เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะพะงันนั้นยังมีอ่าวรูปโค้ง เป็นวงพระจันทร์อยู่แห่งหนึ่ง ซุกซ่อนตัวเองอยู่อย่างลี้ลับมาแต่ครั้ง สมัยโบราณที่มีประวัติว่ามีชาวสงขลาชื่อนายปาน อพยพหนีภัยจากโจรสลัดแขกที่ออกปล้นสะดมในน่านน้ำแถบนี้จนมาพบเวิ้งอ่าวอันห่างไกลสงบเงียบและลึกเร้นพอจะหลีกหนีภัยได้เพื่อเป็นที่ซุกซ่อนตัวเอง เหตุการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3อภายหลังโจรแขกถูกปราบลงได้ นายปานก็เลยอาศัยอยู่ที่นี่และมีชีวิตอยู่ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงถึงแก่กรรม ผู้คนได้เรียกขานอ่าวแห่งนี้รวมทั้งชายหาดว่า หาดท้องนายปาน เรื่อยมา ปัจจุบันจากสภาพทางภูมิศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 หาดคือ หาดท้องนายปานน้อย กับ หาดท้องนายปานใหญ่ หาดท้องนายปานน้อย ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของกลุ่มหาดท้องนายปานมีความยาวราว 700 เมตร เริ่มตั้งแต่ชายหาดบริเวณด้านทิศใต้ของแหลมปากช่อง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสันธิญารีสอร์ท แอนด์ สปา ลงมาทางด้านทิศใต้จนถึงเนินเขาบริเวณที่แบ่งหาดท้องนายปานน้อยออกจากหาดท้องนายปานใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของปานวิมาน รีสอร์ท…
ชุมชนเก่าบ้านใต้ บ้านค่าย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ชุมชนบ้านใต้ เป็น 1 ใน 3 ชุมชนเก่าแก่บนเกาะพะงันที่มีผู้คนมาตั้งรกรากอาศัยอยู่มาช้านาน สันนิษฐานว่าตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นชุมชนชาวจีนอพยพซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีนไห่หนาน หรือไหหลำ ที่มีอาชีพทำการประมง เข้ามาทำมาหากินตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยและผสมผสานกับคนพื้นบ้านมีลูกหลานสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนจนเป็นชุมชนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งบนเกาะพะงันมาจนถึงปัจจุบัน ร่องรอยของความเจริญรุ่งเรืองจากครั้งอดีตอาจพบเห็นได้จากวัดวาอารามต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นชุมชนคนพุทธที่ผสมผสานกับคนเชื้อสายจีน กล่าวคือมีทั้งวัดเก่าแก่หลายแห่งเช่น วัดใน วัดนอก วัดโพธิ์ วัดเขาถ้ำ และมีศาลเจ้าจีนตั้งอยู่ในเขตบ้านใต้ ซึ่งสันนิษฐานว่าวัดเหล่านี้หลายวัดสร้างขึ้นมาในสมัยเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน คือ สมัยอยุธยาตอนปลายหรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น วัดใน เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดซึ่งพบในเขตบ้านใต้ คาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่ในเขตธรณีสงฆ์ของวัดโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลบ้านใต้…
เที่ยวพิชิตยอดเขาหรา นํ้าตกแพง ที่เกาะพะงัน
บนความท้าทายของนักผจญภัยยอดเขาหรา ยอดเขาที่สูงที่สุดบนเกาะพะงันนั้นมักจะมีผู้คนเดินทางบุกบั่นดั้นด้นขึ้นไปสัมผัสความเป็นผู้พิชิตอยู่เนื่องๆ ยอดเขาหรา มีความสูง 627 เมตรจากระดับน้ำทะเลตั้งอยู่บริเวณใจกลางสุดของเกาะพะงันประดุจหัวใจสีเขียวของเกาะพะงัน การเดินทางพิชิตยอดเขาหรานั้น เริ่มต้นจากบ้านมะเดื่อหวานมีป้ายบอกทางชัดเจน สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ผ่านสวนผลไม้ของชาวบ้านไปจนจรดเชิงเขา จากนั้นเป็นเส้นทางเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาหรา ในช่วงแรกเป็นป่าโปร่งผ่านอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กแห่งหนึ่งขึ้นไป เข้าสู่เขตป่าดงดิบชื้นเป็นทางลาดชันมีต้นไม้ขนาดใหญ่อาทิยางนา ตะเคียน ตังหน ขึ้นอยู่ทั่วไปมีลำธารเล็กๆ พอให้หาน้ำดื่มน้ำใช้ได้ ป่าบริเวณนี้เป็นแหล่ง กล้วยไม้เพชรหึง ที่มักพบขึ้นอยู่ตามคาคบไม้ใหญ่และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสรรพชีวิตทั้งพืชพรรณไม้นานาชนิด เช่น เฟิร์นกระเช้าสีดา ช้องนางคลี่ กล้วยไม้สิงโตกลอกตา รวมทั้งนกและสัตว์ป่าอาทิ ลิง กวางป่าและหมูป่า เป็นต้น พ้นแนวป่าช่วงนี้ หนทางขึ้นเขาหราจะเริ่มชันยิ่งขึ้นและสภาพป่าเปลี่ยนไปเป็นป่าที่มีต้นไม้ขนาดเล็กลง มีแหล่งน้ำซับเล็กๆ…
ย้อนอดีตสู่เส้นทางวิถีชุมชน บ้านมะเดื่อหวาน บ้านในสวน เกาะพะงัน
จากอ่าวโฉลกหลำจะมีถนนเส้นหนึ่งซึ่งตัดผ่านบริเวณช่องเขาแคบๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ไม่สูงชันนัก ระหว่างแนวของเขาหราที่อยู่ตอนกลางสุดของเกาะและเขาตาหลวงซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางที่ลัดเลาะไปในช่องเขาลดหลั่นลงไปทางด้านทิศใต้สู่แนวที่ราบทางด้านท้องศาลาอีกครั้ง ตลอดเส้นทางสายนี้ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นพื้นที่สีเขียวของป่าไม้อุดมสมบูรณ์สลับกับสวนยางพาราและเรือกสวนไร่นานับเป็นเส้นทางที่สวยงามเส้นหนึ่ง มีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่หลายแห่งซึ่งใครเที่ยวเลาะชายหาดตะวันตกมาจนถึงโฉลกหลำก็สามารถเดินทางกลับเป็นเส้นทางวงรอบกลับไปยังท้องศาลาได้โดยไม่ต้องเสียเวลาย้อนกลับทางเดิมและยังได้ท่องเที่ยวไปในโลกสีเขียวของเกาะพะงันอีกด้วย จุดแรกที่ควรแวะเที่ยวคือ ศาลเจ้าแม่กวนอิมและวัดป่าแสงธรรม ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ศาลเจ้าแม่กวนอิม อยู่ห่างจากบ้านโฉลกหลำราว 6 กิโลเมตร รูปแบบเป็นศาลเจ้าจีนที่สวยงามตั้งอยู่บนไหล่เขาช่วงหนึ่งของเขาตาหลวงที่มียอดสูงสุด 478 เมตรจากระดับน้ำทะเลอยู่ด้านตรงข้ามกับเขาหรา บริเวณศาลเจ้าอยู่บนเนินสูงที่เป็นจุดชมวิวสามารถมองเห็นอ่าวโฉลกหลำาที่อยู่ทางด้านทิศเหนือได้เป็นอย่างดี ตามประวัติเล่าขานกันมาสั้นๆ ว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งที่มีศรัทธาแรงกล้าต่อองค์พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมชื่อคุณมลาวรรณ ได้เดินทางไปทอดผ้าป่าที่เกาะพะงันแล้วไปที่บ้านโฉลกหลำซึ่งเป็นชุมชนคนจีนไหหลำที่มีอาชีพทำาประมงมาแต่เก่าก่อนจึงเกิดศรัทธาขึ้นว่าจะต้องสร้างศาลเจ้าแม่กวนอิมนี้ขึ้นเพื่อบูชาและเป็นจุดหมายในการเดินเรือคล้ายกับเป็นประภาคารส่องแสงในยามค่ำคืนให้คนเรือได้มองเห็นเป็นจุดหมายในการเดินเรือได้ด้วย ซึ่งได้มาเจอสถานที่แห่งนี้เหมาะกับความฝันของเธอ จึงได้กลับไปกรุงเทพฯ แล้วรวบรวมเงินมาสร้างศาลเจ้าแม่กวนอิมนี้ขึ้น และสามารถสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2536ภายในบริเวณศาลเจ้า มีศาลาชมวิวอยู่แห่งหนึ่งสร้างเป็นเก๋งจีนสามหลังติดต่อกัน…
งามวิถีชีวิตชุมชน หาดโฉลกหลำ งามล้ำ หินสวย หาดหินงาม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
บริเวณด้านทิศเหนือสุดของเกาะพะงัน นั่นคือ หาดโฉลกหลำ ชายหาดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมราวกับวงพระจันทร์ความยาวของหาดราว 3.5 กิโลเมตร ที่นี่เป็นชุมชนชาวประมงซึ่งมีวิถีชีวิตความเป็นมาเก่าแก่คู่กับเกาะพะงันมาเนิ่นนาน กล่าวกันว่าชื่อ โฉลกหลำ นี้มาจากชาวมลายูคนแรกที่มาอาศัยอยู่ที่อ่าวนี้ชื่อว่า โดล่ะ ดะหลำ แล้วภายหลังเรียกเพี้ยนเป็น โฉลกหลำ นั่นเป็นนัยหนึ่ง ส่วนคำว่า โฉลก นั้นสันนิษฐานอีกนัยหนึ่งว่า น่าจะมีส่วนมาจากการที่เมืองไชยามีชื่อตำแหน่ง ขุนยกกระบัตร หัวเมืองโฉลกในสมัยนั้นซึ่งชื่อบ้านหลายแห่งในเกาะพะงันก็มีชื่อนำหน้าว่าโฉลก อาจจะมีส่วนมาจากชื่อตำแหน่งนี้ก็เป็นได้ เพราะเกาะพะงันเคยขึ้นอยู่กับเมืองไชยามาก่อน หรือประการสุดท้ายที่เป็นข้อสันนิษฐานของผู้เขียนเองว่า การที่ชุมชนชาวจีนมาอาศัยอยู่บนเกาะพะงันพยายามออกเสียงคำว่า ลูกบ้านว่า โละบั่น เช่นลูกบ้านเก่าเรียกว่า โละบั่นเก๋า คำว่าโละนี้ก็อาจพ้องกับคำว่า…
งามมหัศจรรย์ทะเลแหวกเกาะพะงัน ที่แม่หาด เกาะม้า จังหวัดสุราษฏร์ธานี
กระบี่นั้นมีทะเลแหวกที่ขึ้นชื่อติดอันดับว่าเป็น Unseen Thailand ซึ่งใครๆ ก็รู้จักกันดี แต่ใครบ้างจะรู้ว่าที่เกาะพะงันนั้นก็ยังมีทะเลแหวกซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบๆ อีกแห่งหนึ่ง แม้จะไม่โด่งดังเท่ากับของจังหวัดกระบี่ และการกำเนิดอาจจะแตกต่างกัน แต่ก็ยังพอเรียกได้ว่าเป็นทะเลแหวกอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งอยู่ที่บริเวณแม่หาดปรากฏเป็นสันทรายเชื่อมต่อไปยังเกาะม้าที่อยู่ห่างไปราว 350 เมตร ปกติทะเลแหวกแห่งนี้จะเป็นสันทรายที่ปรากฏตัวอยู่ตลอดเกือบทั้งปี ไม่เหมือนกับ ทะเลแหวกของกระบี่ที่ เกิดด้วยอิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลงโดยเฉพาะในช่วง 15 ค่ำวันน้ำใหญ่ที่น้ำขึ้นมากลงมาก ทะเลแหวกที่เกาะม้า นี้มีกำเนิดมาจากอิทธิพลของลมพัทธยาที่พัดเข้าสู่เกาะพะงันด้านตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี แล้วพัดเอาทรายมากองรวมกันเกิดเป็นสันทรายทอดยาวจากหาดแม่หาดสู่เกาะม้าได้อย่างน่าอัศจรรย์ สันทรายนี้อาจจะเกิดขึ้นสวยงามหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความแรงของคลื่นลมในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดอยู่ในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าลมว่าวนั่นเอง กล่าวคือ เมื่อมีลมว่าวเกิดขึ้นคลื่นลมจากลมว่าวจะพัดพาสันทรายที่ลมพัทธยาพัดพามาให้ต่ำลงและพากลับไปอีกด้านหนึ่งซึ่งถ้าคลื่นมรสุมไม่แรงมากสันทรายก็จะยังคงสวยงามอยู่ได้ อย่างไรก็ดี ช่วงฤดูลมว่าวนี้ช่วงน้ำใหญ่สันทรายก็อาจจะขาดไปบ้างจากน้ำทะเลที่หนุนสูงยามน้ำขึ้น ครั้นเมื่อน้ำลงก็จะกลับโผล่ขึ้นมาอีก จนเมื่อหมดลมว่าวสันทรายนี้ก็จะอยู่ถาวรตลอดทั้งปีจนกว่าจะเวียนมาบรรจบกับฤดูมรสุมช่วงลมว่าวอีกครั้ง…
ดูตะวันลับขอบฟ้า หาดศรีธนู หาดเจ้าเภา หาดสน เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
ในบรรดาชายหาดด้านตะวันตกทั้งหมดนั้น หาดศรีธนู หาดเจ้าเภา และหาดสน จัดได้ว่าเป็นชายหาดที่มีมุมมองพระอาทิตย์ตกได้สวยกว่าหาดใดๆ ทั้งนี้เนื่องจากมุมมองทางทิศตะวันตกแถบนี้สามารถแลเห็นหมู่เกาะอ่างทองเรียงรายอยู่ตรงหน้าอย่างสวยงามจะต่างกันก็ตรงที่มองจากมุมไหนเท่านั้น หาดศรีธนูจะเริ่มจากปลายแหลมศรีธนูขึ้นไปทางด้านทิศเหนือ บริเวณแหลมศรีธนู เป็นปลายแหลมยื่นลงไปในทะเล มีลักษณะเป็นเนินเตี้ยๆ เป็นที่ตั้งของรีสอร์ท สวยงามหลายแห่ง ซึ่งหากได้ยืนอยู่บนยอดเนินก็จะเห็นมุมมองพระอาทิตย์ตกได้ชัดเจน ถัดจากแหลมศรีธนูจะเป็นหาดศรีธนูที่ต่อไปถึงแหลมเหนียด ความยาวราว 800 เมตร เนื่องจากแถบนี้มีหาดทรายสวยงามมีต้นสนทะเลขึ้นอยู่เป็นทิวบางคนจึงเรียกว่าแหลมสน ชายหาดบริเวณนี้ถือเป็นหาดที่มีคุณภาพ มีรีสอร์ทและบังกะโลอยู่หลายแห่งสามารถลงเล่นน้ำทะเล นอนอาบแดดและชมพระอาทิตย์ตกได้เป็นอย่างดี ในครั้งอดีตเมื่อราว 40 ปีมาแล้วพื้นที่แถบนี้เคยเป็นเหมืองแร่ดีบุกมาก่อน ปัจจุบันเลิกกิจการไปประมาณ 20 ปีที่แล้ว จึงยังมีขุมเหมืองเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง เรียกว่า ทะเลสาบแหลมสน…
มะพร้าวเอนอ่าววกตุ่ม เกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
เส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายหาดตะวันตกนี้จะเริ่มจากท้องศาลามีถนนขนาดเล็กเลาะเลียบอ่าวในวก อ่าวปลายแหลม ไปเรื่อยๆจนถึงอ่าววกตุ่ม แถบนี้ท้องทะเลเป็นโคลนและค่อนข้างตื้นไม่เหมาะกับการเล่นน้ำทะเล ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีป่าโกงกางขึ้นอยู่ทั่วไป บางแห่งเป็นหาดขนาดเล็กและบังกะโลรวมทั้งรีสอร์ทขนาดใหญ่ตั้งอยู่บ้างแต่ไม่มากนักอย่างไรก็ดีบริเวณนี้กลับเป็นพื้นที่หมู่บ้านประมงชายฝั่งที่มีวิถีชีวิตของชาวประมงและอู่ต่อเรือขนาดเล็กของชาวบ้านให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาถึงวิถีชาวเกาะได้อย่างดี ทั้งยังเป็นแหล่งที่ชาวบ้านมักออกแทงกุ้งในเวลากลางคืน ต่อวาย(การจับปลาหมึกยักษ์) ในเวลาใกล้รุ่งยามน้ำลด และหาหอยกลมในเวลากลางวันกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ในช่วงเวลาน้ำลง การหาหอยกลมนี้เป็นวิถีชีวิตของผู้คนแถบนี้มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายายโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านออกไปหาหอยในทะเล ด้วยการเอาน้ำมันพืชใช้แล้วใส่ขวดแชมพูแล้วหยดลงไปบนผิวน้ำทะเล ทำาให้เห็นน้ำทะเลใสขึ้นสามารถมองทะลุลงไปถึงพื้น เบื้องล่างเห็นตัวหอยที่อยู่ตามหน้าดินจึงจับหอยขึ้นมาได้ หอยกลมนี้มีรสชาติ หวานอร่อยนำมาทำาอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดกะเพรา ผัดน้ำมันหอย ต้มกะทิและเอาเนื้อมาแกงกินได้ ในปีหนึ่งจะมีเทศกาลจับหอยกลมกัน 1 ครั้ง ประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมซึ่งเป็นช่วงลมพัทธยาจะมีหอยชนิดนี้เข้ามามาก โดย อบจ.และเทศบาลร่วมกันจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวออกไปหาหอยกลมแข่งขันกันตามกรรมวิธีท้องถิ่นแล้วเอามาทำอาหารรับประทานกันอย่างเอร็ดอร่อยเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของอ่าววกตุ่ม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติรักษาระบบนิเวศด้วยการทิ้งซากปะการังเพื่อให้เป็นที่อยู่ของหอยกลมในพื้นที่…
ท่องหาดตะวันตก เสน่ห์งามยามเย็นเกาะพะงัน สุราษฏร์ธานี
ชายหาดด้านทิศตะวันตกของเกาะพะงันนั้นถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของเกาะพะงัน มีเวิ้งอ่าวและชายหาดที่สวยงามบริสุทธิ์อยู่หลายแห่งและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกับชายหาดแถบอื่นบนเกาะพะงัน ชายหาดด้านนี้จะเริ่มจากอ่าวในวก อ่าวปลายแหลม อ่าววกตุ่ม อ่าวหินกอง อ่าวศรีธนู หาดเจ้าเภา หาดสน ไปจนจรดหาดยาว หาดเทียนตะวันตก หาดสลัดและแม่หาด ชายหาดแถบนี้จะมีจุดเด่น ตรงที่สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ตกจากเกาะพะงันได้ในทุกหาดมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่สามารถท่องเที่ยวทางชายหาดแถบนี้จะเป็นช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีท้องฟ้าแจ่มใสได้บรรยากาศพักผ่อนของฤดูร้อน ส่วนเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปถึงเดือนกันยายนอาจมีฝนบ้างเล็กน้อยและเป็นช่วงลมพัทธยาและลมตะวันตก น้ำทะเลจะลดในตอนกลางวันและขึ้นตอนเย็นหรือกลางคืนทำาให้อาจเล่นน้ำไม่สะดว แต่บรรยากาศโดยทั่วไปก็ยังสามารถท่องเที่ยวได้ดีและเป็นช่วงที่มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์กว่าฤดูอื่น