พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ตำาบลบ้านขาม ในวัดเจติยภูมิ สร้างขึ้น ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ตามประวัติโดยย่อกล่าวว่า โมริยกษัตริย์ เจ้าเมืองโมรีย์ซึ่งเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา มีความประสงค์ที่จะนำาพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ มาบรรจุที่พระธาตุพนม จึงโปรดให้พระอรหันต์และพระเถระเจ้าคณะรวม ๙ องค์ นำาขบวนอัญเชิญพระอังคารมาในครั้งนี้ เมื่อผ่านมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่ง ซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่น เนื่องจากเป็นเวลาพลบค่ำ และบริเวณนี้ภูมิประเทศราบเรียบดีจึงหยุดคณะพักชั่วคราว รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อไปถึงภูกำาพร้าปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับและตั้งใจว่าจะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ที่บ้านเมืองของตน แต่เมื่อเดินทางผ่านดอนมะขามอีกครั้งปรากฏว่า แก่นมะขามที่ตายแล้วนั้นกลับยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียวชอุ่ม เป็นที่น่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุจึงพร้อมใจกันสร้าง เจดีย์ครอบต้นมะขามนี้ พร้อมกับนำาพระอังคารธาตุและพระพุทธรูป บรรจุไว้ในองค์พระธาตุและให้นามว่าพระธาตุขามแก่นมาจนทุกวันนี้ องค์พระธาตุขามแก่น ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร ภายใต้การควบคุมของสำานักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๙ มีการปรับปรุงทาสีองค์พระธาตุ ขยายบริเวณกำาแพงแก้วทั้ง ๔ ด้าน และตกแต่งทัศนียภาพให้สวยงาม ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำา เดือน ๖ จะมีงานฉลองและนมัสการพระธาตุขามแก่นประจำาทุกปี
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๐๙ (ขอนแก่น-กาฬสินธุ์) ห่างจากตัวเมืองไป ๑๒ กิโลเมตร เมื่อข้ามลำาน้ำาพองแล้ว เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๑๘๓ ไปอีก ๑๔ กิโลเมตร
กู่ประภาชัย หรือ กู่บ้านนาคำน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านนาคำน้อย ตำบลบัวใหญ่ กู่ประภาชัย คือกลุ่มโบราณสถานที่มีลักษณะแผนผังอย่างเดียวกันกับโบราณสถานที่พบหลักฐานแสดงอโรคยาศาลหรือสถานพยาบาลที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรเขมรโบราณโปรดฯ ให้สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (พ.ศ. ๑๗๒๐-๑๗๘๐) คือประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีมุขยื่นทางด้านหน้า ด้านขวามือเยื้องไปข้างหน้าเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า บรรณาลัย อาคารทั้งสองล้อมรอบด้วยกำาแพงแก้วโดยมีโคปุระหรือซุ้มประตู ทางเข้าออกด้านหน้าหรือทางด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงที่มุมซ้ายมีสระน้ำ ๑ สระ ทั้งหมดสร้างด้วยศิลาแลง โดยมีเสาประดับประตู ทับหลังเป็นหินทราย กู่บ้านนาคำาน้อยได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
การเดินทาง ไปทางเดียวกับพระธาตุขามแก่น ตรงต่อไปถึงสะพานคลองส่งน้ำาจากลำาน้ำาพอง เลี้ยวซ้ายตามถนนเลียบคลองส่งน้ำแล้วเลี้ยวขวาข้ามสะพานเข้าหมู่บ้านนาคำาน้อย กู่จะอยู่ภายในวัดกู่บ้านนาคำน้อย หรือจะขับรถข้ามสะพานข้ามคลองส่งน้ำา ตรงไปตามถนนลาดยาง ๖ กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางให้เลี้ยวซ้ายผ่านหมู่บ้าน ไปอีก ๑ กิโลเมตร
หมู่บ้านงูจงอาง บ้านโคกสง่า ตำาบลทรายมูล ชาวบ้านโคกสง่าแต่เดิมมีอาชีพขายยาสมุนไพรควบคู่กับการทำนา การขายยาสมุนไพรในสมัยก่อนต้องเดินเท้าไปเร่ขายยาตามหมู่บ้านต่างๆ ด้วยความยากลำบาก แต่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ พ่อใหญ่เคน ยงลา หมอยาบ้านโคกสง่าได้คิดนำงูเห่ามาประกอบการแสดงเพื่อสร้างความสนใจให้คนมาชมแทนที่จะต้องเดินไปขายยาในทุกๆ หมู่บ้านเช่นเคย ปรากฏว่าการแสดง ประสบความสำาเร็จสามารถเรียกคนมาชมได้มาก แต่เนื่องจากงูเห่านั้นมีอันตรายมากสามารถพ่นพิษได้ไกลถึง ๒ เมตร พ่อใหญ่จึงเปลี่ยนมาใช้งูจงอางแทนและถ่ายทอดวิชาแสดงงูให้คนในหมู่บ้าน เมื่อว่างจากการเกษตรชาวบ้านจะรวมกลุ่มเดินทางออกเร่แสดงงูและขายยาสมุนไพร ส่วนการแสดงที่หมู่บ้านนั้นจะจัดขึ้นบริเวณลานวัดศรีธรรมา รอบๆ บริเวณก็จะมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงูจงอาง รวมทั้งมี โรงเรือนเพาะเลี้ยงงูจงอางอยู่ด้วยการแสดงงูจงอางบ้านโคกสง่าเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมาก ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนจะเลี้ยงงูจงอางไว้ใต้ถุนบ้าน มีการจัดแสดงหลายรูปแบบเพื่อให้คนสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแสดงละครงูตามจังหวะเพลง การชกมวยระหว่างคนกับงูจงอาง จนชาวบ้านที่มีชื่อเสียงทางการแสดงงูมีฉายาประจำา เช่น กระหร่องน้อย เมืองอีสา ทองคำ ลูกทองชัย เป็นต้น
การเดินทาง บ้านโคกสง่าอยู่ห่างจากตัวเมือง ๔๙ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๓๓ เลี้ยวขวา เข้าเส้นทางไปอำาเภอกระนวน ทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๙ ถึง หลักกิโลเมตรที่ ๑๔ ตรงไปทางเข้าวัดศรีธรรมา ๒ กิโลเมตร จะถึงประตูทางเข้าหมู่บ้าน